ภาวะสุขภาพจิต ความหวังและพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ภาวะสุขภาพจิต, ความหวัง, พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิต ความหวัง และพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม จํานวน 432 คน โดยใช้เครื่องมือคือ แบบสอบถามประกอบด้วย 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล 2) แบบวัดภาวะสุขภาพจิต (ThaiGHQ-12) และพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต 3) แบบวัดความหวัง (The Herth HopeIndex: HHI) ตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ในส่วนที่ 2 และ 3 โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่ าของครอนบาร์ค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 และ 0.77 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและวัดความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์คราเมอร์ และสถิติไคสแควร์ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุ 283 คน (ร้อยละ 65.5) ไม่มีปัญหาภาวะสุขภาพจิตและผู้สูงอายุ 149 คน (ร้อยละ 34.5) มีปัญหาภาวะสุขภาพจิต ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความหวังในระดับปานกลาง 310 คน (ร้อยละ 71.8) และมีความหวังในระดับสูง 118 คน (ร้อยละ 27.3) เมื่อทําการวัดความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสุขภาพจิตและความหวัง ด้วยค่าสัมประสิทธิÍคราเมอร์วีและสถิติไคสแควร์พบว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับน้อยอย่างไม่ มีนัยสําคัญ ( -2 =4.196,p-value=0.123, Cramer’s coefficient V=0.099) นอกจากนีhพบว่าผู้สูงอายุ มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพและการเจ็บป่วยจํานวนมากที่สุด 169 คน (ร้ อยละ 53.6) เรื่องครอบครัวลูกหลาน 89 คน (ร้อยละ 28.0) และเรื่องการเงิน 57 คน (ร้อยละ 18.4) ตามลําดับ พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุคือ ไปปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาจํานวนมากที่สุด 125 คน (ร้อยละ 39.7) ออกกําลังกาย 81 คน (ร้อยละ 25.7) และมีสัมพันธภาพร่วมกิจกรรมสังคมและกิจกรรมนันทนาการ 63 คน (ร้อยละ 20.0) ตามลําดับ ข้อเสนอแนะ ควรให้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีความสามารถในการทําพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของตนเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป