สถานการณ์การปนเปื้ อนจุลินทรีย์ในน้ำดื่ม เครื่องดื่ม และภาชนะที่ให้บริการใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม
  • เนตรนภา เจียระแม

คำสำคัญ:

นํ้าดื่ม, เครื่องดื่ม, ภาชนะ, จุลินทรีย์, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross –sectional descriptive study) เพื่อหาข้อมูล
การให้บริการน้ำดื่มและเครื่องดื่ม การปนเปื้ อนของโคลิฟอร์มแบคทีเรีย Escherichia coli และ
Staphylococcus aureus ในน้ำดื่มและเครื่องดื่ม การปนเปื้ อนของราและยีสต์ในเครื่องดื่มและ
การปนเปื้ อนของโคลิฟอร์มแบคทีเรียในภาชนะบรรจุและถ้วยใส่น้ำดื่ม เก็บข้อมูลจากโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 55 แห่ง เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ที่ให้บริการน้ำดื่มและผลิตเครื่องดื่ม เพื่อให้บริการประชาชนที่มาใช้บริการของโรงพยาบาล
เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจ และการสังเกตรูปแบบและวิธีการให้บริการน้ำดื่มและเครื่องดื่ม
เก็บตัวอย่างน้ำดื่ม เครื่องดื่ม ภาชนะบรรจุ และถ้วยใส่น้ำดื่ม รวม 179 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์
จุลินทรีย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า น้ำดื่มที่ให้บริการใน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 55 แห่ง เป็นนํ้าในภาชนะปิดสนิท ร้อยละ 65.5 ไม่เคยปรับปรุง
คุณภาพน้ำดื่ม ร้อยละ 73.6 ไม่เคยทำความสะอาดถังใส่น้ำฝน ร้อยละ 68.4 ทั้งหมด ร้อยละ
100.0 ไม่เคยตรวจคุณภาพน้ำดื่ม เครื่องบรรจุน้ำดื่มเป็นเครื่องทำน้ำเย็นร้อยละ 67.3 ภาชนะ
บรรจุน้ำดื่มไม่เคยทำความสะอาดร้อยละ 36.3 ใช้แก้วพลาสติกตักน้ำดื่มร้อยละ 54.6 โดยใช้แก้ว
ตักน้ำในภาชนะบรรจุโดยตรงร้อยละ 11.0 ถ้วยใส่น้ำดื่มไม่สะอาดร้อยละ 36.4 ไม่แยกถ้วยใส่
น้ำดื่มที่ใช้แล้วกับยังไม่ใช้ร้อยละ 56.4 เครื่องดื่ม ผลิตในรพ.สต. 14 แห่ง เป็นน้ำใบเตย ร้อยละ
35.7 เครื่องดื่มใส่กระติกน้ำร้อยละ 50.0 ทุกแห่งล้างภาชนะใส่เครื่องดื่มทุกวัน ใช้แก้วใส่
เครื่องดื่มร้อยละ 71.4 ถ้วยใส่เครื่องดื่มสะอาดร้อยละ 64.3 ใช้แก้วตักน้ำในภาชนะบรรจุโดยตรง
ร้อยละ 57.1 ไม่มีการแยกภาชนะที่ใช้แล้วและยังไม่ใช้ร้อยละ 35.7 น้ำดื่ม พบ โคลิฟอร์ม
แบคทีเรีย E.coli และ S.aureus เกินมาตรฐานร้อยละ 98.2, 92.7 และ 74.5 เครื่องดื่ม พบ
โคลิฟอร์มแบคทีเรีย E.coli ,S.aureus และยีสต์และรา เกินมาตรฐานร้อยละ 85.7, 85.7, 71.4 และ
42.9 ภาชนะบรรจุน้ำดื่ม และภาชนะใส่น้ำดื่ม พบโคลิฟอร์มเกินมาตรฐานร้อยละ 65.5 และ 70.9
จุลินทรีย์ที่ตรวจพบในน้ำดื่ม เครื่องดื่ม ภาชนะบรรจุ และแก้ว อาจบ่งชี้ถึงแหล่งที่มาของ
การปนเปื้ อน ได้แก่ มือ (S.aureus และ E.coli) และสิ่งแวดล้อม หมายถึงความสะอาดของภาชนะ
บริเวณที่ตั้ง และพฤติกรรมของผู้จัดบริการ การปนเปื้ อนจุลินทรีย์ดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุของโรค
ทางเดินอาหารจากน้ำเป็นสื่อที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้ โรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตำบลและผู้เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องมีการดำเนินการแก้ไข เพื่อให้ได้
น้ำดื่มและเครื่องดื่มที่สะอาดปลอดภัยต่อการบริโภค มีการตรวจเฝ้ าระวังคุณภาพน้ำดื่มและ
เครื่องดื่มอย่างสม่ำเสมอ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03