ความรู้และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อในสถานพยาบาลภาครัฐ
คำสำคัญ:
ขยะมูลฝอยติดเชื้อ, การจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อ, สถานพยาบาลภาครัฐบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความรู้และการปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อ
และรวบรวมแนวทางแก้ไขปัญหาในสถานพยาบาลภาครัฐของนิสิตสาธารณสุขต่อเนื่องชั้นปี ที่ 4
กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 47 คน โดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยติด
เชื้อในประเทศไทย ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อในหน่วยงาน และ
แนวทางแก้ไขปัญหา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาและไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุการทำงาน 1–3 ปี และมีความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยติดเชื้อมาก่อน
ร้อยละ 89.4 ขยะมูลฝอยติดเชื้อที่พบมากที่สุดคือ วัสดุสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งจากร่างกาย
โดยปัญหาสองอันดับแรกที่พบเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อในหน่วยงานได้แก่ การขาด
งบประมาณ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อในสถานพยาบาลภาครัฐยัง
ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง สำหรับด้านการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานในการจัดการขยะมูล
ฝอยติดเชื้อในสถานพยาบาลภาครัฐที่นิสิตปฏิบัติงานพบว่า ขั้นตอนการคัดแยก การรวบรวม
จัดเก็บ การเก็บขน และการบำบัดกำจัดมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องร้อยละ 68.9, 73.3, 64.4 และ
66.7 ตามลำดับ การปฏิบัติที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขซึ่งอยู่ในระดับที่ไม่ผ่านเกณฑ์ได้แก่ การ
ควบคุมอุณหภูมิเมื่อขยะคงค้างเกิน 7 วัน การใช้สารฆ่าเชื้อโรค การประสานงานกับหน่วยงาน
ท้องถิ่น การกำจัดโดยการใช้เตาเผา และการปรับปรุงเตาเผาให้มีสภาพพร้อมใช้งาน การปฏิบัติที่
อยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ได้แก่ สถานที่พักรวมขยะกรณีคงค้างเกิน 7 วัน การใช้อุปกรณ์ในการ
ป้ องกันตัวอื่นๆ ยกเว้นผ้าปิ ดปากและถุงมือ และระดับพอใช้ได้แก่ การคัดแยกขยะมูลฝอยติด
เชื้อ ภาชนะรองรับถูกสุขลักษณะ การเก็บขน สำหรับการปฏิบัติของหน่วยงานที่อยู่ในระดับดีมาก
ได้แก่ การแยกเก็บขยะมูลฝอยติดเชื้อออกจากขยะมูลฝอยทั่วไป การบรรจุขยะมูลฝอยติดเชื้อ
ถูกต้อง การมีสถานที่ถ่ายทิ้ง การใช้ถุงมือและผ้าปิ ดปาก แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม
นอกเหนือจากการของบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติม ควรสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในทุก
ขั้นตอนของการจัดการขยะติดเชื้อ