อาการและอาการแสดงทางคลินิกของวัณโรคปอดในเรือนจำจังหวัดแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ทุวัน สิมมะลิ
  • จิราพร เขียวอยู่

คำสำคัญ:

วัณโรคในเรือนจำ, อาการและอาการแสดงทางคลินิกของวัณโรค, ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพรรณาอาการและอาการแสดงทาง
คลินิก และหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล อาการและอาการแสดงทางคลินิกกับการ
เป็ นวัณโรคปอดของผู้ต้องขังในเรือนจำแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่
28-30 มกราคม 2552 จำนวน 1,440 ราย ทุกรายได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยการตรวจเสมหะ
หาเชื้อวัณโรคด้วยกล้องจุลทรรศน์ (AFB), 1,420 รายถูกเก็บข้อมูลตามแบบคัดกรองวัณโรค
ของ WHO-2009 วิเคราะห์เพื่อบรรยายอาการ และอาการแสดงทางคลินิกด้วยสถิติพรรณนา
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ กับการเป็นวัณโรคซึ่งใช้ผลจากการตรวจ AFB ด้วย
สถิติถดถอยพหุโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่าอาการและอาการแสดงทางคลินิกที่พบมาก ได้แก่
มีอาการมีเสมหะ ร้อยละ 23.3, มีอาการนํ้าหนักลด ร้อยละ 15.7, มีอาการเจ็บหน้าอก ร้อยละ
12.3 และมีอาการไอเรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์ ร้อยละ 12.3 ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก
พบว่า ผู้ต้องขังจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็ นวัณโรค ถ้าผู้ต้องขังมีอาการเจ็บหน้าอก
(ORadj=14.82, 95%CI=4.40-49.97), และมีค่า BMIv≤ 20 (ORadj=3.26, 95%CI=
1.01-10.48) จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าอาการ และอาการแสดงทางคลินิกที่มีผลต่อการเป็น
วัณโรคอย่างมีนัยสำคัญ คือ การมีอาการเจ็บหน้าอก และมีค่าดัชนีมวลกายน้อย ดังนั้นการคัด
กรองผู้ป่ วยอย่างทันท่วงทีเป็นสิ่งจำเป็นในเรือนจำ ผู้ต้องขังที่มีอาการเจ็บหน้าอก และมีค่าดัชนี
มวลกายน้อย ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อผู้ป่ วยจะได้เข้าถึงกระบวนการรักษาโดยเร็ว
และตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03