ผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคต้อหิน โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ โชติวุฒิมนตรี
  • รุจิรา ดวงสงค์

คำสำคัญ:

โรคต้อหิน, ความเชื่อด้านสุขภาพ, การสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคต้อหินโรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 31 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรม โดยประยุกต์ใช้แนวคิดรูป แบบความเชื่อด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มเปรียบเทียบได้รับสุขศึกษาจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลอุดรธานี การดำเนินกิจกรรมใช้เวลา 10 สัปดาห์ กิจกรรมประกอบด้วย การให้ความรู้ การประชุมกลุ่ม การสาธิตและการฝึกปฏิบัติ การเยี่ยมบ้านของผู้วิจัย การช่วยเหลือจากญาติ การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนน วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมานได้แก่สถิติ Paired Sample t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ ค่าช่วงความเชื่อมั่น 95%CI ผลการวิเคราะห์พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การปฏิบัติตัวเพื่อป้ องกันภาวะแทรกซ้อนโรคต้อหิน มากกว่าก่อนทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคต้อหินมากกว่าก่อนทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และการรับรู้ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนโรคต้อหินมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value< 0.01) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดอบรมให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้สามารถดูแลเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยโรคต้อหินได้ก่อนที่ผู้ป่วยไปพบจักษุแพทย์ตามนัด เนื่องจากผู้ป่วยที่อยู่ในชนบทส่วนใหญ่ไม่มีค่าเดินทางมารับการรักษาในจังหวัดได้ เพราะค่าเดินทางสูงต้องกู้ยืมคนอื่นมาใช้ นอกจากนี่ รถเข้ามาในเมืองไม่ค่อยมี ผู้สูงอายุเดินทางลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็น นอกจากนี้ ควรนำปแบบความเชื่อด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคม ไปใช้ส่งเสริมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ ต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ