ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการเรียนรู้ แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึÉง

ผู้แต่ง

  • ชญาณิศา ปินะถา
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ

คำสำคัญ:

ทักษะชีวิต, กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, พฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างรวม 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ กิจกรรมประกอบด้วย การบรรยาย ระดมสมอง การอภิปรายกลุ่ม การแสดงบทบาทสมมติ เกมและการฝึกปฏิบัติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานวิเคราะห์ด้วยสถิติ Paired Sample t-test และ Independent Samplet-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนน และค่าเฉลี่ยความแตกต่างของ ทักษะด้านความคิดวิจารณญาณและความคิดสร้างสรรค์ ทักษะความตระหนักในตนเองและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ทักษะความภาคภูมิใจในตนเองและความรับผิดชอบต่อสังคม ทักษะการตัดสินใจและการแก้ไขปัญหา ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และความตั้งใจปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ สูงกว่าก่อนทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบในทุกๆด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.001) และคะแนนด้านความรู้เกี่ยวกับบุหรี่และพฤติกรรมการป้ องกันการสูบบุหรี่และทักษะการจัดการอารมณ์และความเครียดสูงกว่าก่อนทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบในทุกๆ ด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.01)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ