พฤติกรรมการจำหน่ายบุหรี่ของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย แห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ
  • ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์

คำสำคัญ:

บุหรี่, ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก, พฤติกรรมการจำหน่ายบุหร

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการจำหน่ายบุหรี่ของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกที่จำหน่ายบุหรี่ จำนวน 62 ร้าน ที่ได้จากการเก็บตัวอย่างอย่างสะดวก (Convenient Sampling) ด าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้ช่วยนักวิจัยที่มีอายุระหว่าง 20-24 ปี ที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือการวิจัยที่ประกอบด้วย (1) แบบแนวทางการขอซื้อบุหรี่ และ (2) แบบโครงสร้างการสังเกตพฤติกรรมแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า ร้านค้าปลีกจำหน่ายบุหรี่ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตการค้าและเขตหอพักนักศึกษา ประเภทของร้านค้าปลีกส่วนใหญ่เป็นร้ายขายของชำ ร้อยละ 45.2 มินิมาร์ทหรือร้านค้าสะดวกซื้อ ร้อยละ 40.3 และผับ/บาร์ ร้อยละ 14.5 ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกร้อยละ 95.2 ไม่มีการสอบถามอายุหรือไม่มีการตรวจสอบอายุจากบัตรประจ าตัวประชาชนของลูกค้าก่อนจำหน่ายบุหรี่ ร้อยละ 82.3 มีการแบ่งจำหน่ายบุหรี่เป็นมวนหรือเป็นซองขนาดเล็กโดยไม่ติดค าเตือนสุขภาพลงบนซองบุหรี่ และร้อยละ 38.7 มีการวางบุหรี่ ณ จุดขาย หรือโชว์บุหรี่ให้สามารถสังเกตเห็นจากหน้าร้านหรือภายนอกร้านค้าสรุปได้ว่า พฤติกรรมการจำหน่ายบุหรี่ของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกที่จำหน่ายบุหรี่ในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนล่าง ยังคงเป็นปัญหาท้าทายและจ าเป็นต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งผลการวิจัยที่ได้เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้เป็นฐานข้อมูล เพื่อพัฒนาและปรับปรุงกลวิธีในการบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งในการจ ากัดการเข้าถึงบุหรี่ของเยาวชนนักสูบต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03