ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเอดส์ในนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนแห่งหนึ่งในนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
คำสำคัญ:
พัฒนาพฤติกรรม, ทักษะชีวิต, แรงสนับสนุนทางสังคมบทคัดย่อ
โรคเอดส์เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์เกือบ 30 ล้านคนทั่วโลกติดเชื้อเอดส์ประมาณ 34 ล้านคน และติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ 2.7 ล้านคน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ จำนวนผู้ติดเชื้อ HIV ในปี 2011 มีประมาณ 9,600 คน จำนวนการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่จะเพิ่มขึ้นทุกปี และคาดการณ์ว่าในปี 2015 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะมีผู้ติดเชื้อเอดส์ถึง 14,000 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเอดส์ในนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 68 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 34 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเอดส์โดยการประยุกต์ใช้การเสริมสร้างทักษะชีวิต และแรงสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วยกิจกรรม การบรรยาย เล่นเกม การแสดงบทบาทสมมติ การสาธิตและฝึกปฏิบัติ และอภิปรายกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนภายในกลุ่มด้วยสถิติ Paired sample t-test ระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Independent Sample t-test ก าหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และค่าความเชื่อมั่น 95%CI ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ การตระหนักรู้ในตนเองและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความคิดสร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การตัดสินใจและการแก้ไขปัญหา สูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) การจัดการกับอารมณ์และความเครียด ความตั้งใจที่จะกระท าในการป้องกันโรคเอดส์สูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01) การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย 1) ควรมีการสร้างกลุ่มอาสาสมัครเพื่อป้องกันโรคเอดส์ในโรงเรียน เพื่อให้เพื่อนช่วยเพื่อน เพราะเวลาที่นักเรียนมีปัญหาสุขภาพบุคคลที่นักเรียนจะปรึกษาเพื่อนมากที่สุด 2) ควรน าโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเอดส์โดยประยุกต์ช์การเสริมสร้างทักษะชีวิต และแรงสนับสนุนทางสังคม ในกลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้เข้าโรงเรียน