ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริจากโลหิตด้วยความสมัครในไม่หวังสิ่งตอบแทนของประชาชน ชุมชนเมืองจันทะบูลี นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • Thongphanh Chanthalak
  • Pornnapa Suggaravetsiri

คำสำคัญ:

ผู้บริจาคโลหิต, ลักษณะของผู้บริจาคโลหิต, การจัดหาผู้บริจาคโลหิต

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริจาคโลหิต ด้วยความสมัครใจไม่หวังสิ่งตอบแทนของประชาช ชุมชนเมืองจันทะบูลี นครหลวงเวียงจันทน์ โดยประยุกต์แนวคิดของ PRECEDE framework มาเป็นหลักการในการศึกษา มีรูปแบบในการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (Case-control study) กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้เคยบริจาคโลหิต (Cases) จำนวน 449 คน และกลุ่มไม่เคยบริจาคโลหิต (Controls) จ านวน 449 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป STATA V.10.1 วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด และสูงสุด วิเคราะห์สถิติเชิงอานุมาน โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรเดียว (Univariate analysis) ด้วยสถิติ Chi-square test และวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรพหุ (Multivariate analysis) ด้วยสถิติ Multiple logistic regression แบบ Unconditional แสดงค่า OR Adjusted (ORadj) 95%CI และ p-value ที่ระดับนัยส าคัญ 0.05
        ผลการศึกษา พบว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลของกลุ่มเคยบริจาคโลหิต (Cases) ส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ร้อยละ 57.2 มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 61.0 อาชีพ พบว่า นักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 56.1 สถานภาพสมรส ร้อยละ 72.2 รายได้ ระหว่าง 200,000–600,000 กีบ/เดือน ร้อยละ 57.2 ศาสนาพุทธ ร้อยละ 96.9 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการการบริจาคโลหิตอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ p-value<
0.05 คือ กลุ่มเคยบริจาคโลหิต (Cases) เพศ ชาย ร้อยละ 57.2 และกลุ่มไม่เคยบริจาคโลหิต (controls) ร้อยละ 43.9 (OR=1.71; 95%CI=1.31-1.23) ตามล าดับ อายุ ร้อยละ 37.0 และ 39.4 ซึ่งมีอายุ 20-29 ปี
(OR=1.48; 95%CI=1.08-2.02) ระดับการศึกษาจบปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 35.2 และ 24.5 (OR=4.31; 95%CI=1.14-16.28) สถานภาพสมรส สถานภาพสมรส โสด ร้อยละ 72.2 และ 56.3 (OR=2.01; 95%CI=
1.52-2.65) รายได้ ร้อยละ 57.2 และ 44.1 (OR=1.01; 95%CI=0.63-1.36)อาชีพ นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 56.1 และ 32.7 (OR=2.65; 95%CI=1.21-5.81) ผลของการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรพหุ
(Multivariate analysis) แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริจาคโลหิตอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ คือ เพศชาย (ORadj=2.08; 95%CI=1.54-2.80) อายุ (น้อยกว่า 30 ปี) (ORadj=1.71; 95%CI=1.21-
2.42) ความรู้สูงเกี่ยวกับการบริจาคโลหิต (ORadj=2.15; 95%CI=1.55-2.98) เจตคติเชิงลบต่อการบริจาคโลหิต (ORadj=2.04; 95%CI=1.49-2.81) ความสะดวกในการเดินทางมาบริจาคโลหิต (ORadj =2.19;
95%CI=1.56-3.10) ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (>10,000 กีบ) (ORadj=1.67; 95%CI=1.22-2.29) ข้อมูลข่าวสารจากการดูโทรทัศน์ฟังวิทยุ (ORadj=1.65; 95%CI=1.17-2.33)
       จากผลการศึกษาครั้งนี้ การบริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจไม่หวังสิ่งตอบแทน จึงควรมีการทบทวนในการส่งข้อมูลข่าวสาร ให้ความรู้แก่กลุ่มนักศึกษาให้มากขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาระบบการให้ข้อมูลแก่ผู้บริจาคโลหิตเพื่อไปวางแผนในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้เพศหญิงมีความเข้าใจและและมีส่วนร่วมต่อมากขึ้น ให้ความสำคัญและใช้สื่อทางโทรทัศน์และวิทยุในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริจาคโลหิตสำคัญมากขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03