การสร้างเสริมสุขภาพจิตโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองเทา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
การสร้างเสริมสุขภาพจิต, การมีส่วนร่วมของชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน และดำเนินงาน
สร้างเสริมสุขภาพจิตโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือระยะระบุปัญหา ระยะ
ดำเนินการ และระยะประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจปัญหาสุขภาพจิตเป็นแบบประเมิน
สุขภาพจิตสำหรับงานสุขภาพจิตชุมชน กรมสุขภาพจิต คือดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย แบบวัด
ความเครียดสวนปรุงและแบบประเมินโรคซึมเศร้า เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล คือแนว
คำถามการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสาระของข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า การสำรวจปัญหา
สุขภาพจิต กลุ่มตัวอย่างมีความสุขเท่ากับคนทั่วไป ร้อยละ 48.0 มีความสุขน้อยกว่าคนทั่วไป ร้อย
ละ 22.0 มีความเครียดระดับสูง ร้อยละ 41.2 มีความเครียดระดับรุนแรง ร้อยละ 15.3 มีภาวะ
ซึมเศร้า ร้อยละ 7.3 ผลการสร้างเสริมสุขภาพจิตตามแผนการดำเนินงานของชุมชน พบว่า
โครงการที่มีการดำเนินงานคือ โครงการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและประเพณีวัฒนธรรมของชุมชน
เช่นโครงการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี โครงการงานบุญประจำปี และโครงการอาสาพัฒนา
ชุมชน การสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชน จะสำเร็จได้ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งภาค
ประชาชนและภาครัฐในชุมชน และเป็นแผนงานที่สอดคล้องกับความต้องการ และวิถีชีวิตของคน
ในชุมชน