ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการขาดการขึ้นทะเบียนรักษาของผู้ป่ วยวัณโรค ปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ จังหวัดยโสธร ปี พ.ศ.2553

ผู้แต่ง

  • แมน แสงภักด์ิ
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ

คำสำคัญ:

ความชุก, วัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ, การขาดการขึ้นทะเบียน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กับการขาดการขึ้นทะเบียนรักษาผู้ป่ วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ในจังหวัด
ยโสธร เก็บข้อมูลจากการคัดลอกทะเบียนผู้ป่ วยวัณโรคและทะเบียนชันสูตรผู้ป่ วยวัณโรคจาก
โรงพยาบาลภาครัฐ 9 แห่ง และใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลที่บ้านผู้ป่ วยที่ตรวจเสมหะพบเชื้อ
ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม
STATA version 10.0 วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์แบบตัวแปรพหุถดถอยลอ
จีสติก โดยแสดงค่า ORadj และ 95%CI ของ ORadj ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา
พบว่า ผู้ป่ วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ จำนวนทั้งหมด 348 ราย และความชุกวัณโรค
เสมหะบวกรายใหม่ 66.4 ต่อประชากรแสนคน แยกเป็นผู้ป่ วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 250
ราย และผู้ป่ วยวัณโรคที่ขาดการขึ้นทะเบียน อัตราร้อยละ 28.2 (98 ราย) โดยมีผู้เสียชีวิต อัตรา
ร้อยละ 9.2 และติดตามเก็บข้อมูลได้ อัตราร้อยละ 80.6 (79 ราย) อัตราการขาดการขึ้นทะเบียน
วัณโรค เพศชาย อัตราร้อยละ 26.5 เพศหญิง อัตราร้อยละ 18.8 อายุ 30-34 ปี ร้อยละ 37.5 อายุ
เฉลี่ย 52.3 ± 15.6 ปี ไม่ได้ทำงาน ร้อยละ 68.8 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรพหุ
พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการขาดการขึ้นทะเบียนของผู้ป่ วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อราย
ใหม่ คือ ไม่ได้ติดตามเยี่ยมผู้ป่ วยที่บ้าน (ORadj=77.68; 95%CI=24.37-247.56) โรคความดัน
โลหิตสูง (ORadj=48.24; 95%CI=4.11-565.35) ไม่ได้ทำงาน (ORadj=11.92; 95%CI=1.51-
94.05) การไม่ได้ส่งต่อผู้ป่ วย (ORadj=10.74; 95%CI=3.92-29.42) พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่ม
ที่มีแอลกอฮอล์ (ORadj=3.68; 95%CI=1.13-11.93) จากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่ วยวัณ
โรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ที่ขาดการขึ้นทะเบียนวัณโรค ส่วนใหญ่ผู้ป่ วยไม่ได้รับการเยี่ยมบ้าน
จากเจ้าหน้าที่ ถือว่าเป็นปัญหาที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงมากต่อการรักษาผู้ป่ วยวัณโรคปอดเสมหะ
พบเชื้อรายใหม่ จึงควรพัฒนากระบวนการและแนวทางในการติดตามผู้ป่ วยมารับการรักษาให้เร็ว
ขึ้น รวมทั้งพัฒนาระบบการส่งต่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03