รูปแบบการบริโภคอาหารของนักศึกษาชั้นปี ที่ 3 ก่อนและหลังเรียนวิชา โภชนสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คำสำคัญ:
แบบแผนการบริโภคอาหาร, นักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริโภคอาหารของนักศึกษาชั้นปี ที่ 3 ก่อนและหลังเรียนวิชาโภชนสาธารณสุข ในภาคการศึกษาต้น ปี การศึกษา 2553 ที่สมัครใจตอบแบบสอบถามครบถ้วน จำนวน 86 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็ นหญิงร้อยละ 82.6 และมีอายุเฉลี่ย 20.4 ปี(ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55) มีการบริโภคอาหาร 3 มื้อ ก่อนเรียนมี ร้อยละ 66.3 และหลังเรียนเพิ่มเป็นร้อยละ 74.4 ทั้งนี้ผู้ที่ไม่บริโภคอาหารเช้า ก่อนเรียนมี ร้อยละ 29.1 หลังเรียนมีร้อยละ19.8 ลักษณะการบริโภคอาหารทั้งก่อนและหลังเรียนในมื้อเช้าบริโภคอาหารจานเดียวและเครื่องดื่มประเภทนม มื้อกลางวันและเย็นเป็นอาหารจานเดียว แต่มื้อเย็นบริโภคข้าวและกับข้าวต่างหาก 2-3 อย่างด้วย โดยนักศึกษาบริโภคอาหารในวันปกติมากกว่าวันหยุด ในด้านความถี่การบริโภคอาหารพบว่า นักศึกษามีการบริโภคอาหารครบ 5 หมู่เพิ่มขึ้น จาก 2-3 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 44.2 เป็น 4-6 วันต่อสัปดาห์เป็นร้อยละ 44.2 บริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ติดมัน ติดหนังลดลง แต่บริโภคอาหารประเภทอาหารทะเล ปลาทะเล ปลานํ้าจืด ไข่ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น ส่วนข้าวกล้อง มีการบริโภคเพิ่มขึ้นบ้าง สำหรับการบริโภคอาหาร ผัด ทอดอาหารหวาน การเติมน้ำตาลที่หวาน/น้ำอัดลมและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในด้านเครื่องดื่มชูกำลัง ชา กาแฟลดลง ในด้านอาหารสำเร็จรูป อาหารเค็ม บริโภคเพิ่มขึ้น อาหารดิบประเภทแหนม ก้อย ลาบดิบ บริโภคลดลง ส่วนเครื่องปรุงที่มีส่วนผสมของผงชูรสนั้น มีการบริโภคเพิ่มขึ้น การประเมินรูปร่างตนเองของนักศึกษาจะประเมินว่ามีรูปร่างสมส่วน และมีการบริโภคอาหารที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 17.2 เป็นร้อยละ 29.1 เมื่อประเมินภาวะโภชนาการแล้วพบว่า มีดัชนีมวลกายในระดับปกติร้อยละ 53.5 เท่ากันทั้งก่อนและหลังเรียน และผู้ที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในช่วงก่อนเรียน มีถึงร้อยละ 33.7 และเพิ่มเป็นร้อยละ 34.9 ในช่วงหลังเรียน สำหรับเส้นรอบเอวนั้นพบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 98.8 ทั้งก่อนและหลังเรียน ในด้านปัญหาสุขภาพพบว่ามีโรคประจำตัวเช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบฯก่อนเรียน ร้อยละ 22.0ภายหลังเรียนลดลงเหลือ 14.0 ส่วนในด้านออกกำลังกาย นักศึกษาจะออกกำลังกายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 52.3 เป็นร้อยละ 73.3 และจำนวนวันที่ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมคือ 3-5 วัน จากร้อยละ 16.3 เป็ นร้อยละ 36.1 และใช้เวลาในการออกกำลังกาย 30 นาทีขึ้นไปจากร้อยละ47.6 เป็นร้อยละ 52.3 ดังนั้น จึงควรเน้นการให้ความรู้และปรับทัศนคติในการบริโภคอาหารอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่ดี อันจะนำไปสู่การมีภาวะโภชนาการปกติรวมทั้งกระตุ้นการออกกำลังกายให้มากขึ้น