การดำเนินงานสุขภาพชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โซนตะวันตก อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พัทธนันท์ คงทอง
  • สุพล เซี่ยงใช่
  • สุทธิรักษ์ พลบำรุง
  • ขวัญตา ดวงกุณา
  • ฐิติมา ช่วยพระอินทร์
  • วิลาสินี วงษ์กลาง

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การดำเนินงานสุขภาพชุมชนขอนแก่น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็ นการศึกษาการดำเนินงานสุขภาพชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโซนตะวันตกอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินงานสุขภาพชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยการประมาณค่าสัดส่วน ได้ขนาดตัวอย่าง 112 คน สุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม วิเคราะห์ด้ วยสถิติเชิงพรรณนาแสดงจำนวนและร้ อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด สถิติไคสแควร์แสดงค่า OR และ 95%CIผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 87.5 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 48.4 ปี (SD=8.74)มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 92.1 มากกว่าครึ่งมีระดับการศึกษาสูงสุดประถมศึกษา รายได้ต่อเดือนค่ามัธยฐาน 6,300 บาท (Max=16,000 : Min=2,000) ระยะเวลาการปฏิบัติงานมัธยฐาน9 ปี (Max=32 : Min=1) จำนวนครัวเรือนที่รับผิดชอบเฉลี่ย 10.1 ครัวเรือน (SD=1.35)มีคะแนนการปฏิบัติงานสาธารณสุขชุมชนตั้งแต่ 60 ถึง 125 คะแนน มีคะแนนเฉลี่ย 99.3คะแนน (SD=13.93) มีระดับการปฏิบัติงานสาธารณสุขชุมชนในระดับสูง ร้อยละ 73.2 เมื่อจำแนกรายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการปฏิบัติงานสาธารณสุขชุมชน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะด้านงานอนามัยแม่และเด็ก/วางแผนครอบครัว ด้านโภชนาการ และด้านสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูงมากกว่าร้อยละ 96 อายุและระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานสุขภาพชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR=4.29,95%CI=1.58-12.42, p-value=0.001) และ (OR=0.37, 95%CI=0.13–4.43,p-value=0.046) ส่วนปัจจัยรายได้ ระดับการศึกษาและจำนวนครัวเรือนที่รับผิดชอบ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานสุขภาพชุมชนอย่างไม่มีนัยสำคัญ ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านส่วนใหญ่ยังมีระดับการศึกษาสูงสุดในระดับประถมศึกษากระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้เรียนหนังสือต่อเนื่องเพื่อให้มีระดับการศึกษาที่สูงขึ้น เพื่อในอนาคตอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจะได้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการดำเนินงานสุขภาพชุมชนให้มีประสิทธิภาพต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ