พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะสุขภาพของเกษตรกรทำนา
คำสำคัญ:
พฤติกรรมเสี่ยง, สภาวะสุขภาพ, การทำนาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสารวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อหาระดับความรู้ พฤติกรรมเสี่ยงของเกษตรกรทำนา
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพ และสภาวะสุขภาพของเกษตรกรท านาปลูกข้าว ศึกษาในกลุ่มชาวนา
233 คน จาก 6 หมู่บ้าน ในอ าเภอค าชะอี จังหวัดมุกดาหาร โดยใช้แบบสอบถามถามข้อมูลในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
ผลการศึกษาพบว่า ชาวนามีความรู้ถูกต้องระดับสูง ร้อยละ 84.1 พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพในการ
ท านา ได้แก่ ขาดการป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในทุกขั้นตอนของการท านา ใช้มือเปล่าก าข้าวเปลือกหว่านใน
แปลงนา ร้อยละ74.6 ใส่รองเท้าบู๊ทขณะด านา ปฏิบัติบางครั้ง ร้อยละ 54.5 ก้มเงยขณะปักด ากล้า และเกี่ยว
ข้าวปฏิบัติบ่อยๆ ร้อยละ 46.4 และปฏิบัติทุกครั้ง ร้อยละ 44.6 ใช้ข้อมือ หรือมือ นานๆ ขณะเกี่ยวข้าว ปฏิบัติ
บางครั้ง ร้อยละ 45.5 ปฏิบัติทุกครั้ง ร้อยละ 43.8 ดื่มสุราในเวลาท านา ปฏิบัติทุกครั้ง บ่อยๆ และบางครั้ง
รวมกัน ร้อยละ 32.6 เป็นต้น ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพของเกษตรกรท านา คือ การปักด านา
มีความสัมพันธ์กับการปวดกล้ามเนื้อเอวของชาวนา 6.35 เท่า ของชาวนาที่ไม่ท ากิจกรรมปักด านา
(95%CI=2.09-19.29, p-value=0.001) และการก าจัดวัชพืช ท าให้ปวดกล้ามเนื้อเอว 5.56 เท่า มากกว่า
ชาวนาที่ไม่ท ากิจกรรมนี้ (95%CI=1.75-17.62, p-value=0.003) ชาวนาได้รับผลกระทบจากรถไถนา คือ
กลิ่นควันจากน้ ามันดีเซล ร้อยละ 89.7 ได้รับแรงสั่นสะเทือน ร้อยละ 87.9 ได้รับเสียงดัง ร้อยละ 87.5 แพ้ฝุ่น
ข้าวเปลือก ร้อยละ 48.5 การปวดกล้ามเนื้อเกิดจาก แบกภาชนะใส่เมล็ดข้าวเปลือก ร้อยละ 90.1 เคลื่อนไหว
ร่างกายไม่ถูกต้อง ร้อยละ 95.7 การบาดเจ็บจาก หญ้าบาดมือ ร้อยละ 45.9 ปวดมือจากการเกี่ยวข้าว ร้อยละ
91.8 เคียวบาดมือ ร้อยละ 51.3 กิจกรรมในกระบวนการท านาที่ท าให้ปวดกล้ามเนื้อ ได้แก่ เกี่ยวข้าว ร้อยละ
87.1 ปักด ากล้า ร้อยละ 79.8 ก าจัดวัชพืช ร้อยละ 74.3 เตรียมพื้นที่ ร้อยละ 59.5 หว่านเมล็ดข้าวเปลือก
ร้อยละ 55.8 เก็บเมล็ดพันธุ์ ร้อยละ 43.4
ปัญหาการปวดกล้ามเนื้อและการบาดเจ็บในกลุ่มคนท านา พบว่ามีสาเหตุจากพฤติกรรมเสี่ยงและ
ปัจจัย ดังนั้น การศึกษาต่อไปควรออกแบบกิจกรรมแทรกแซงเพื่อแก้ไขปัญหา