ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการต่ำของเด็กวัยก่อนเรียนใน อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิ์ เขจรจิตร
  • นิภาพร ชุติมันต์
  • บังอร กุมพล

คำสำคัญ:

เด็กวัยก่อนเรียน, ภาวะโภชนาการต่ำ, กาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

เด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่รวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกายและสมอง
ภาวะโภชนาการมีความสำคัญต่อเด็กวัยนี้ ถึงแม้แนวโน้มในปัจจุบันจะพบเด็กมีภาวะอ้วนเพิ่มมากขึ้น แต่
สถานการณ์เด็กไทยยังเผชิญกับปัญหาภาวะโภชนาการทั้งต่ำและเกิน เด็กในเมืองมีแนวโน้มมีภาวะ
โภชนาการเกิน ขณะเดียวกันเด็กในชนบทยังมีภาวะโภชนาการต่ำ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา
แบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะโภชนาการต่ำ ของเด็กวัยก่อนเรียน (อายุ 1-
5 ปี) ในอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จากโปรแกรมบันทึกข้อมูลสถานีอนามัย
จาก 12 ตำบล ระว่างเดือน ตุลาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2554 จำนวน 364 คน ตัวแปรต้นจำนวน 7 ตัวแปร
ประกอบด้วย น้ำหนักแรกคลอด, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, อายุเด็กที่เริ่มให้อาหารเสริม, อายุแม่ตอนตั้งครรภ์,
ระดับการศึกษาของแม่, สถานภาพสมรสปัจจุบันของแม่ และรายได้ของครอบครัว ประเมินการเจริญเติบโต
ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย ได้แก่ ส่วนสูงเทียบเกณฑ์อายุ ใช้ประเมินภาวะเตี้ย และน้ำหนักเทียบ
เกณฑ์ส่วนสูง ใช้ประเมินภาวะผอม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิ เพื่อหาปัจจัยที่
มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการต่ำของเด็กวัยก่อนเรียน
ผลการศึกษา พบว่า เด็กมีภาวะเตี้ยร้อยละ 17.0 (95%CI=84.2–88.1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
ต่อภาวะเตี้ยได้แก่ อายุแม่ตอนตั้งครรภ์ (ORadj=0.67, 95%CI=0.55-1.81) ระดับการศึกษาของแม่ (ORadj=
0.56, 95%CI=0.43-1.70) และรายได้ของครอบครัว (ORadj=3.18, 95%CI=1.34-7.55) และเด็กมีภาวะผอม
ร้อยละ 11.0 (95%CI=9.9-10.9) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะผอมได้แก่ อายุแม่ตอนตั้งครรภ์ (ORadj=
0.59, 95%CI=0.46-1.76) ระดับการศึกษาของแม่ (ORadj=0.62, 95%CI=0.46-1.83) และรายได้ของ
ครอบครัว (ORadj=9.71, 95%CI=2.08-43.33)
การศึกษาแสดงว่าภาวะโภชนาการต่ำมาจากหลายปัจจัยซึ่งเกี่ยวข้องกับแม่และครอบครัวโดยตรง
ดังนั้นควรสื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและตระหนักกับปัญหา
ดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายและแนวทางในการแก้ปัญหา เช่น การป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น
และวัยเรียน การส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา การสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน ตลอดจนส่งเสริมความรู้และ
ทักษะด้านอาหารและโภชนาการที่ถูกต้องให้กับครอบครัวและผู้เลี้ยงดูเด็ก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-03