ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะจอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวาน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, ภาวะจอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวานบทคัดย่อ
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการดูแลไม่เหมาะสมและมีการควบคุมโรคไม่ดีจะมีโอกาสเกิด
ภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ โดยภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดเล็กที่สำคัญ คือ ภาวะจอประสาทตาผิดปกติ
จากเบาหวาน (Diabetic Retinopathy) ซึ่งอาจเป็นภาวะที่นำไปสู่ความพิการทางตาได้ การศึกษาครั้งนี้เป็น
การศึกษาวิทยาการระบาดเชิงวิเคราะห์ ศึกษาย้อนหลังแบบ Unmatched case-control โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยที่มีความสัมพันธ์กับ
การเกิดภาวะจอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวาน ประชากรศึกษา คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้น
ทะเบียนรักษา ณ คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลปักธงชัย และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 20 แห่ง ใน
อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ปี 2555 จำนวน 2,473 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 382 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
คือ กลุ่มศึกษาได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะจอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวาน จำนวน 191 คน
และกลุ่มควบคุม ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่มีภาวะจอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวาน จำนวน
191 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลที่ประกอบด้วยลักษณะส่วนบุคคลและสุขภาพการ
เจ็บป่วยของกลุ่มตัวอย่างจากเวชระเบียน แฟ้มข้อมูลครอบครัว และโปรแกรม Hosxp วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน
ค่าสูงสุด ต่ำสุด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติถดถอยแบบลอจิสติก ค่า Odds Ratio 95%CI และวิเคราะห์
หาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะจอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวาน ด้วยสถิติพหุ
ถดถอยแบบลอจิสติก (Multiple logistic regression)
ผลการศึกษาพบว่า มี 3 ปัจจัยด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะจอ
ประสาทตาผิดปกติจากเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ได้แก่ ระยะเวลาที่ป่วยเป็นเบาหวาน
นาน 10 ปี ขึ้นไป (ORadj=3.05, 95%CI 1.31 -7.08) การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ (ORadj=7.37,
95%CI 3.78-14.37) และการทำงานของไตผิดปกติ (ORadj=2.23, 95% CI 1.26-3.94)
ผลจากการศึกษานี้นำไปสู่ข้อเสนอแนะสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการเฝ้า
ระวังและการดูแลส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว เพื่อให้ผู้ป่วย
เบาหวานชนิดที่ 2 มีการป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะจอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวานได้
อย่างมีประสิทธิภาพ