การพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ: บ้านโคกสะอาด หมู่ที่ 4 ตำบลหอคำ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
คำสำคัญ:
การพัฒนาศักยภาพ, ความรู้และการปฏิบัติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม
(เทคนิค A-I-C) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ บ้านโคก
สะอาด หมู่ที่ 4 ตำบลหอคำ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ มีผู้เข้าร่วมศึกษาคือ ผู้สูงอายุ 40 คน
ตัวแทนชุมชนจำนวน 13 คน และตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง 7 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน ดำเนินการ
วิจัย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ 2556 ถึง เดือน มีนาคม 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์
การสังเกตการมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3
ท่าน ความเที่ยงแบบสัมภาษณ์ ได้ค่าสัมประสิทธิ์มากว่า 0.70 นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test ที่ช่วงเชื่อมั่น 95 % CI
ผลการวิจัยพบว่า หลังจากการใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพใน
การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้ระดับสูงและการปฏิบัติในระดับดีเพิ่มขึ้นอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001, 95%CI=5.74-7.81, p-value<0.001, 95% CI=10.31-13.79) ตามลำดับ
นอกจานั้นยังได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ 6 โครงการ โดยได้รับ
การสนับสนุนงบประมาณและความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี และผลการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว
ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความรู้และมีการปฏิบัติกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง
จากการศึกษาความรู้และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ พบว่าด้านที่มีความรู้
ระดับสูง และการปฏิบัติในระดับดีน้อยที่สุด คือการมีสุขภาพจิตที่ดีอยู่เสมอ ดังนั้นผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี เช่น การจัดกิจกรรมวัน
ผู้สูงอายุ การรดน้ำดำหัวเนื่องในวันสงกรานต์ การปฏิบัติธรรมในวันพระ หรือกิจกรรมรื่นเริงอื่นๆ และการ
วางแผนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เทคนิค A-I-C ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนในการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมใน
การพัฒนาการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถนำเทคนิค A-I-C ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการมีส่วน
ร่วมในเรื่องอื่นๆ ได้