การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง : การสอนแบบใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยประสบการณ์ เพื่อพัฒนานักศึกษาพยาบาลด้านทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา

ผู้แต่ง

  • จันทร์จีรา ยานะชัย Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Lampang
  • ประจวบ แหลมหลัก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ผู้เชี่ยวชาญโดยประสบการณ์, การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง, การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา

บทคัดย่อ

     

                  การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาล เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะด้านทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการเป็นพยาบาลเพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ ระบุปัญหาทางการพยาบาล วางแผนการพยาบาล และตัดสินใจปฏิบัติการพยาบาลเพื่อผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จึงมีการนำแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงของ Jack Merzirow (1997) ใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยประสบการณ์  เป็นการนำผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางร่ายกายและจิตใจมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในฐานะผู้เชี่ยวชาญโดยประสบการณ์ ส่งผลทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการเปลี่ยนแปลงความคิด ความเชื่อ วิธีปฏิบัติและค้นพบวิธีการเรียนรู้แบบใหม่ พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง  จนกระทั่งเกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนสามารถบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้และเชื่อมโยงความรู้สู่การเป็นพยาบาลวิชาชีพในอนาคต  โดยมีอาจารย์เป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้

                 บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีการใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยประสบการณ์ การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ในการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตด้านทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา และผลของการนำแนวคิดไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในคลินิก ข้อเสนอแนะ ควรจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติด้วยวิธีการใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยประสบการณ์ในขั้นตอนต่างๆอย่างสมบูรณ์ ได้แก่ ขั้นตอนเตรียมการสอนและการปฐมนิเทศ ขั้นตอนดำเนินการสอนและวิธีการสอน และขั้นตอนการสรุปการเรียนรู้ ควรสนับสนุนการมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการอย่างแท้จริงและจัดการเรียนการสอนในทุกรายวิชาเพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะที่จำเป็นเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและอย่างต่อเนื่อง 

 

References

Alfaro-LeFevre, R. (2013). Critical thinking and clinical judgment: A practical

approach to outcome-focused thinking (5th ed). Philadelphia, PA: W. B. Saunders Elsevier.

Brock,S.E.(2010)Measuring the importance of precursor steps to transformative learning. Adult

Education Quarterly, 60(2), 122-142.

Chutchavarn Wongsaree.( 2019). Teaching to Critical thinking in Generation Z Nursing

Student: A Review of Literature. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 20(1),21-30

(in Thai)

Green, L., & Mälkki, K. (2017). Relationship Conflict as Disorienting Dilemma: An

Experiential Prototype for Transformation. Journal of Transformative Learning, (4)2, 69-83.

Happell, B., Platania-Phung, C., Scholz, B., Bocking, J., Horgan, A., Manning, F., Doody, R.,

Hals, E., Granerud, A., Lahti, M., Pullo, J., Vatula, A., Koski, J., van der Vaart, K. J., Allon, J., Griffin, M., Russell, S., MacGabhann, L., Bjornsson, E., & Biering, P. (2019). Changing attitudes: The impact of Expert by Experience involvement in Mental Health Nursing Education: An international survey study. International journal of mental health nursing, 28(2), 480–491. https://doi.org/10.1111/inm.12551

Horgan, A., et.al.(2020). Expert by experience involvement in mental health nursing

education: The co-production of standards between Experts by Experience and academics in mental health nursing. Journal of psychiatric and mental health nursing, 27(5), 553–562.

Imel, S. (1998). Transformative learning in adulthood (Vol. 200). ERIC Clearinghouse on

Adult, Career, and Vocational Education, Center on Education and Training for Employment, College of Education, the Ohio State University.

Miceli, M., & Castelfranchi, C. (2018). Reconsidering the Differences Between Shame and

Guilt. Europe's journal of psychology, 14(3), 710–733.

Mezirow, J. (1997). Transformative learning: Theory to practice. New directions for adult

and continuing education, 1997(74), 5-12.

Mezirow,J.(2000).L Learning to think like an adult. Learning as transformation: Critical

perspectives on a theory in progress, 3-33.

Potgieter,E.(2000).Clinical teaching: Developing critical thinking in student nurses:

Education. Professional Nursing Today, 16(2), 4-8

Timo Toikko (2016) Becoming an expert by experience: An analysis of service users’

learning process, Social Work in Mental Health, 14:3, 292-312, DOI: 10.1080/15332985.2015.1038411

Kusoom, W.& Tongvichean,S.( 2017) Developing Critical Thinking Skill for Nursing

Students.The Journal of Faculty of Nursing Burapha University. 25(3), 1-7. in Thai)

Saowanee Choojan, Ronnachai Khonboon.(2019). Transformative Learning: Education

Perspective for Nursing Students in Coronavirus Disease 2019. (in Thai)

Soakeaw,S. (2019). Factors Affecting to Analytical thinking of nursing students Faculty

Of Nursing, Ubon Ratchathani Rajabhat University. Journal of SrivanalaiI VijaiI.

(2),39-50. (in Thai).

Suandra M. Tomlinson-Clarke, Darren L Clarke. (2016) Social Justice and Transformative

Learning: Culture and Identity in the United States and South Africa

Routledge Research in Educational Equality and Diversity. Routledge. ISBN 1317577914, 9781317577911

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-08

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ