เครื่องมือคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุชาวไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • ณัฐินี ณ เชียงใหม่, M.Sc. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พีร วงศ์อุปราช, Ph.D. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ, การวัดทางจิตวิทยา, แบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อม, ผู้สูงอายุชาวไทย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ประเทศไทยมีการใช้แบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อมที่หลากหลาย แต่ยังขาดการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบถึงคุณสมบัติของแบบคัดกรองที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุชาวไทย การศึกษานี้จึงมุ่งทบทวนและวิเคราะห์คุณสมบัติของแบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุชาวไทย

วิธีการ: สืบค้นงานวิจัยที่รายงานค่าดัชนีการวัดทางจิตวิทยาแบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุชาวไทย ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2542 ถึง 2562 แล้วพิจารณาข้อมูลคุณสมบัติแบบคัดกรอง ลักษณะแบบคัดกรองและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการคัดกรอง

ผล: งานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกมีจำนวน 33 เรื่อง จาก 194 เรื่อง ครอบคลุมแบบคัดกรองจำนวน 21 แบบ แบบคัดกรองกว่าร้อยละ 90.0 ใช้วิธีการสัมภาษณ์เพื่อประเมินความสามารถการรู้คิดหรือการรู้คิดถดถอย (cognitive decline) มีเพียง 6 แบบคัดกรองที่พัฒนาขึ้นโดยคณะนักวิจัยชาวไทย (ร้อยละ 28.6) ทั้งนี้ พบว่าระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับผลการประเมินใน 11 แบบคัดกรอง (ร้อยละ 52.4) และยังพบการศึกษาเพื่อหาจุดตัดคะแนนสำหรับคัดกรองภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (mild cognitive impairment) ใน 8 แบบคัดกรอง (ร้อยละ 38.1)

สรุป: แบบคัดกรองที่พบในการศึกษาครั้งนี้กว่าร้อยละ 70.0 เป็นแบบคัดกรองที่พัฒนาในต่างประเทศ หากเป็นแบบคัดกรองที่รวมกิจกรรมทดสอบหลายกิจกรรมจะศึกษาคุณสมบัติของแบบคัดกรองทั้งชุด การพัฒนาแบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุชาวไทยจึงควรแยกศึกษาคุณสมบัติของกิจกรรมทดสอบก่อนนำมารวมเป็นชุดแบบคัดกรอง และควรพัฒนาเกณฑ์ปกติที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุชาวไทย

Downloads

Download data is not yet available.

References

Muangpaisan W, Petcharat C, Srinonprasert V. Prevalence of potentially reversible conditions in dementia and mild cognitive impairment in a geriatric clinic. Geriatr Gerontol Int. 2012;12:59-64. doi:10.1111/j.1447-0594.2011.00728.x.

Larner AJ. Cognitive screening instruments: A practical approach. 2nd ed. New York: Springer International Publishing; 2017.

Cohen RJ, Swerdlik ME, Sturman ED. Psychological testing and assessment: An introduction to tests and measurement. 8th ed. Boston: McGraw-Hill Education; 2013.

Silpakit O, Silpakit C, Pukdeenaul P. A comparison study of cognitive impairment screening tools: CDT, IQCODE VS MMSE. Siriraj Med J. 2007;59:361-3. Available from: https://www.academia.edu/28571211/A_Comparison_Study_of_Cognitive_Impairment_Screening_Tools_CDT_IQCODE_VS_MMSE

อรวรรณ์ คูหา, จิตนภา วาชวโรตม์, บูริณี บุญมีพิพิธ, นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์. โครงการการประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์: การเปรียบเทียบความสัมพันธ์แบบทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai) 2002 และแบบทดสอบสมรรถภาพสมองไทย (Thai mini-mental state examination; TMSE) ในการคัดกรองผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม. นนทบุรี: สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ; 2551.

Limpawattana P, Tiamkao S, Sawanyawisuth K, Thinkhamrop B. Can Rowland Universal dementia assessment scale (RUDAS) replace Mini-Mental State Examination (MMSE) for dementia screening in a Thai geriatric outpatient setting?. Am J Alzheimers Dis Other Demen. 2012;27:254-9. doi:10.1177/1533317512447886.

Julayanont P, Tangwongchai S, Hemrungrojn S, Tunvirachaisakul C, Phanthumchinda K, Hongsawat J, et al. The Montreal cognitive assessment-basic: a screening tool for mild cognitive impairment in illiterate and low-educated elderly adults. J Am Geriatr Soc. 2015;63:2550-4. doi:10.1111/jgs.13820.

สมศรี กิตติพงศ์พิศาล. การพัฒนาแบบทดสอบการเรียนรู้รายการคำศัพท์ฉบับภาษาไทย [The accuracy study of the Thai word list learning test]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2558;23:91-101. จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/40649

Senanarong V, Sivasiriyanonds N, Jamjumrus P, Poungvarin N, Assavisaraporn S, Printarakul T, et al. The IQCODE: An alternative screening test for dementia for low educated Thai elderly. J Med Assoc Thai. 2001;84:648-55. Available from: http://www.jmatonline.com/index.php/jmat/article/view/4465

ศรนรินทร์ กาญจนะโนพินิจ, สุวิทย์ เจริญศักดิ์, ฐิตวี แก้วพรสวรรค์. การศึกษาคุณสมบัติการวัดของแบบคัดกรอง Cognistat ฉบับภาษาไทย [The study of psychometric properties of Cognistat Thai version]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2557;59:409-18. จาก: http://psychiatry.or.th/JOURNAL/59-4/07-Sornnarin.pdf

อรวรรณ ศิลปกิจ, ปริทรรศ ศิลปกิจ, สมศรี กิตติพงศ์พิศาล, รสสุคนธ์ ชมชื่น. ความตรงของ Brief Community Screening Instrument for Dementia (CSI-D) ฉบับภาษาไทย [The diagnostic accuracy of the Thai version of brief community screening instrument for dementia (CSI-D)]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2560;25:32-46. จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/129516/97333

Siri S, Okanurak K, Chansirikanjana S, Kitiyaporn D, Jorm AF. Modified Informant Questionnaire on Cognitive Decline in the Elderly (IQCODE) as a screening test for dementia for Thai elderly. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2006;37:587-94. PubMed PMID:17120985.

สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย, โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์, ยุทธชัย ลิขิตเจริญ, พวงสร้อย วรกุล, สุภัทรพร เทพมงคล, ชาวิท ตันวีระสกุลชัย. โครงการวิจัยพัฒนาแบบประเมิน CERAD เพื่อการวินิจฉัยและลงทะเบียนผู้ป่วยอัลไซเมอร์ไทย [Development of the CERAD for assessment and registry of Thai elderly with Alzheimer’s disease]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

Tunvirachaisakul C, Supasitthunnrong T, Tangwongchai S, Hemrunroj S, Chuchuen P, Tawankanjanachot I, et al. Characteristics of mild cognitive impairment using the Thai version of the consortium to establish a registry for Alzheimer's disease tests: A multivariate and machine learning study. Dement Geriatr Cogn Disord. 2018;45:38-48. doi:10.1159/000487232.

Tangwongchai S, Charernboon T, Phannasathit M, Akkayagorn L, Hemrungrojn S, Phanthumchinda K, et al. The validity of Thai version of the Montreal Cognitive Assessment (MoCA-T). Poster session presented at: 14th international psychogeriatric association international congress; 2009 Sep 1-5; Montreal.

Hemrungrojn S, Charernboon T, Phannasathit M, Akkayagorn L, Tangwongchai S, Phanthumchinda K, et al. Cognitive domains from Thai-Montreal Cognitive Assessment Test to discriminate between amnestic MCI and mild AD from normal aging poster session presented at: 14th international psychogeriatric association international congress; 2009 Sep 1-5; Montreal.

Limpawattana P, Tiamkao S, Sawanyawisuth K. The performance of the Rowland Universal Dementia Assessment Scale (RUDAS) for cognitive screening in a geriatric outpatient setting. Aging Clin Exp Res. 2012;24:495-500. doi:10.3275/8296.

อรวรรณ ศิลปกิจ, สมศรี กิตติพงศ์พิศาล, รสสุคนธ์ ชมชื่น, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, จุฬาลักษณ์ โกมลตรี. ความตรงทางคลินิกของแบบประเมินสมองเสื่อมสำหรับคนไทยในระดับปฐมภูมิ [The diagnostic accuracy of the Thai dementia assessment tools for primary care]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2560;25:137-47. จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/142747

Silpakit O, Chomchuen S, Kittipongpisal S. The diagnostic accuracy of the Thai dementia screening scale for primary care in the community. Neurology Asia. 2018;23:333-41. Available from: http://neurology-asia.org/articles/neuroasia-2018-23(4)-333.pdf

Charernboon T, Jaisin K, Lerthattasilp T. The Thai version of the Addenbrooke’s cognitive examination III. Psychiatry Investig. 2016;13:571-3. doi:10.4306/pi.2016.13.5.571.

Charernboon T. Diagnostic accuracy of the Thai version of the Mini-Addenbrooke's cognitive examination as a mild cognitive impairment and dementia screening test. Psychogeriatrics. 2019;19:340-4. doi:10.1111/psyg.12417.

Sungkarat S, Methapatara P, Taneyhill K, Apiwong R. Sensitivity and specificity of seven-minute screen (7MS) Thai version in screening Alzheimer's disease. J Med Assoc Thai. 2011;94:842-8. Available from: http://www.jmatonline.com/index.php/jmat/article/view/95

พิชญา กุศลารักษ์, ดาวชมพู นาคะวิโร. การศึกษาความเที่ยงตรงของแบบทดสอบ Mini-Cog ในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมชาวไทย [A validity study of the Mini-Cog test in Thai dementia patients]. รามาธิบดีเวชสาร. 2555;35:264-71. จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/135415

Trongsakul S, Lambert R, Clark A, Wongpakaran N, Cross J. Development of the Thai version of Mini-Cog, a brief cognitive screening test. Geriatr Gerontol Int. 2015;15:594-600.

นันทิกา ทวิชาชาติ, พวงสร้อย วรกุล, พชรวุฒิ กาญจนนาคินทร์. แบบประเมินโรคสมองเสื่อมอัลไซม์เมอร์: ฉบับภาษาไทย [Alzheimer's disease assessment scale: Thai version]. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 2545;3:21-32.

Jitapunkul S, Worakul P, Kiatprakoth J. Validity of clinical use of the Clock-Drawing Test in Thai elderly patients with memory problems. J Med Assoc Thai. Available from: http://www.jmatonline.com/index.php/jmat/article/view/4122

Jitapunkul S, Chansirikanjana S, Thamarpirat J. Undiagnosed dementia and value of serial cognitive impairment screening in developing countries: A population-based study. Geriatr Gerontol Int. 2009;9:47-53. doi:10.1111/j.1447-0594.2008.00501.x.

ธิติพันธ์ ธานีรัตน์, อุบุญรัตน์ ธุรีราช, บุญลือ เพร็ชรักษ์, ปิยนุช กิมเสาว์, ขวัญชนก หงษ์ชูเกียรติ, บุญธรรม ดีดวง. การพัฒนาเครื่องมือแบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุไทย [Development of dementia screening test for Thai elderly]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2560;62:177-86. จาก: http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/62-2/09_Thitiphan.pdf

อรวรรณ ศิลปกิจ, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, รสสุคนธ์ ชมชื่น, สมศรี กิตติพงศ์พิศาล. แบบประเมินสมองเสื่อมสำหรับคนไทยในระดับปฐมภูมิขึ้นไป [The assessment tools for Thai dementia in and above primary care]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2560;25:69-83. จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/142640

Silpakit O, Kittipongpisal S, Chomchuen S. The diagnostic accuracy of the Thai dementia assessment tools for secondary care. Neurology Asia. 2018;23:343-52. Available from: http://neurology-asia.org/articles/neuroasia-2018-23(4)-343.pdf

Muangpaisan W, Intalapaporn S, Assantachai P. Digit span and verbal fluency tests in patients with mild cognitive impairment and normal subjects in Thai-community. J Med Assoc Thai. 2010;93:224-30. Available from: http://www.jmatonline.com/index.php/jmat/article/view/389

ธรรมนาถ เจริญบุญ. Verbal fluency ในผู้สูงอายุไทย ผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องเล็กน้อยของความสามารถสมอง และผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม [Verbal fluency in the Thai elderly, elderly with mild cognitive impairment and elderly with dementia]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2561;26: 91-102. จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/146728

Seeboonruang A. The comparative study about anomia between demented elderly and normal aging by Boston Naming test [dissertation]. Nakhon Pathom: Mahidol University; 2003.

Aniwattanapong D, Tangwongchai S, Supasitthumrong T, Hemrunroj S, Tunvirachaisakul C, Tawankanjanachot I, et al. Validation of the Thai version of the short Boston Naming test (T-BNT) in patients with Alzheimer’s dementia and mild cognitive impairment: Clinical and biomarker correlates. Aging Ment Health. 2019;23:840-50. doi:10.1080/13607863.2018.1501668

Satukijchai C, Senanarong V. Clock Drawing Test (CDT) and Activities of Daily Living (ADL) Questionnaire as a short screening test for dementia in Thai population. J Med Assoc Thai. 2013;96(2 Suppl 2):S39-46. Available from: http://www.jmatonline.com/index.php/jmat/article/view/2446

Kanchanatawan B, Jitapunkul S, Supapitiporn S, Chansirikarnjana S. Validity of Clock Drawing Test (CDT), scoring by Chula Clock-drawing Scoring System (CCSS) in screening dementia among Thai elderly in community. J Med Assoc Thai. 2006;89:1150-6.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2562]. จาก:http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20

ฉบับ

บท

บทความปริทัศน์