Verbal fluency ในผู้สูงอายุไทย ผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องเล็กน้อยของความสามารถสมอง และผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม
คำสำคัญ:
การรู้คิด, ความคล่องทางภาษา, ความบกพร่องเล็กน้อยของความสามารถของสมอง, ผู้สูงอายุ, ภาวะสมองเสื่อมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคะแนน letter fluency และ category fluency ในผู้สูงอายุปกติ ผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องเล็กน้อยของความสามารถสมอง (mild cognitive impairment: MCI) และผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม
วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่างอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 150 คน แบ่งเป็นผู้สูงอายุปกติ 61 คน ผู้สูงอายุภาวะ MCI 40 คน และผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม 49 คน กลุ่มตัวอย่างทุกคนได้รับการประเมิน letter fluency (ตัวอักษร “ก”) และ category fluency (ชื่อสัตว์)
ผล กลุ่ม MCI และกลุ่มสมองเสื่อมมีคะแนนน้อยกว่ากลุ่มผู้สูงอายุปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง letter fluency และ category fluency โดยค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) จำนวนคำที่ทำได้ของ letter fluency ในกลุ่มผู้สูงอายุปกติเท่ากับ 10.1 (4.1) คำ กลุ่ม MCI 7.2 (4.3) คำ และกลุ่มสมองเสื่อม 3.8 (3.4) คำ ส่วน category fluency ในกลุ่มผู้สูงอายุปกติเท่ากับ 19.4 (5.0) คำ กลุ่ม MCI 13.2 (5) คำ และกลุ่มสมองเสื่อม 9.1 (4.3) คำ โดยพบว่าระดับการศึกษามีผลต่อคะแนนทั้งสองการทดสอบอย่างมีนัยสำคัญ จุดตัดที่แนะนำในการแยกภาวะสมองเสื่อมสำหรับ letter fluency คือน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คำ โดยมี sensitivity และ specificity เท่ากับร้อยละ 83.7 และร้อยละ 82 ตามลำดับ ส่วน category fluency มีจุดตัดในการแยกภาวะสมองเสื่อมที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 คำ โดยมี sensitivity และ specificity เท่ากับร้อยละ 83.7 และร้อยละ 93.4 ตามลำดับ
สรุป letter fluency และ category fluency เป็นการทดสอบที่มีความไวและสามารถตรวจพบ cognitive impairment ในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม โดยการศึกษานี้ได้วิเคราะห์และนำเสนอถึงจุดตัดที่เหมาะสมที่จะใช้ในคนไทย
Downloads
References
2. Machado TH, Fichman HC, Santos EL, Carvalho VA, Fialho PP, Koenig AM, et al. Normative data for healthy elderly on the phonemic verbal fluency task - FAS. Dement Neuropsychol 2009;3:55-60.
3. Nasreddine ZS, Patel BB. Validation of Montreal Cognitive Assessment, MoCA, alternate French versions. Can J Neurol Sci 2016;43:665-71.
4. Hsieh S, Schubert S, Hoon C, Mioshi E, Hodges JR. Validation of the Addenbrooke’s Cognitive Examination III in frontotemporal dementia and Alzheimer’s disease. Dement Geriatr Cogn Disord 2013;36:242-50.
5. Tangwongchai S, Phanasathit M, Charernboon T, Akkayagorn I, Hemrungrojn S, Phanthumchinda K. The validity of Thai version of the Montreal Cognitive Assessment (MoCA-T). Dement Neuropsychol 2009;3:172.
6. Charernboon T, Jaisin K, Lerthattasilp T. The Thai version of the Addenbrooke’s Cognitive Examination III. Psychiat Invest 2016;13:571-3.
7. Tombaugh TN, Kozak J, Rees L. Normative data stratified by age and education for two measures of verbal fluency: FAS and animal naming. Arch Clin Neuropsychol 1999;14:167-77.
8. Gladsjo JA, Schuman CC, Evans JD, Peavy GM, Miller SW, Heaton RK. Norms for letter and category fluency: demographic corrections for age, education, and ethnicity. Assessment 1999;6:147-78.
9. American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders. 5thedition. Washington DC: American Psychiatric Publishing; 2013.
10. Muangpaisan W, Intalapaporn S, Assantachai P. Digit span and verbal fluency tests in patients with mild cognitive impairment and normal subjects in Thai community. Journal of the Medical Association of Thailand 2010;93:224-30.
11. Petersen RC. Clinical practice. Mild cognitive impairment. N Engl J Med 20119;364:2227-34.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย