การพัฒนาระบบบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ สถาบันราชประชาสมาสัย

Main Article Content

Ramida Chitmanee

บทคัดย่อ

การบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสำคัญต่อการสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในกระบวนการเบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ต่อรอบการเบิก ก่อนและหลังพัฒนา โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบการบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้ขาย (VMI ; Vendor management inventory) มาประยุกต์ใช้ ทำการศึกษาแบบวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ในระยะเวลา 14 เดือน ระหว่างเดือนมกราคม 2564  ถึง เดือนมีนาคม 2565 ใช้สถิติ Paired sample t-Test โดยดำเนินการวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลระยะเวลาที่ใช้ในการเบิกจ่ายก่อนการปรับปรุงกระบวนงาน  ต่อจากนั้นทำการปรับปรุงกระบวนการทำงานดังนี้ 1) วิเคราะห์กระบวนการทำงานเพื่อค้นหาความสูญเปล่าในกระบวนการเบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ โดยใช้แผนที่สายธารคุณค่า (VSM; Value Stream Mapping) 2) วางแผนพัฒนาระบบการเบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์เพื่อลดขั้นตอนการทำงานที่สูญเปล่า โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบการบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้ขาย (VMI; Vendor Management Inventory) มาประยุกต์ใช้ โดยให้คลังยาเติมยาและเวชภัณฑ์มายังห้องจ่ายยา เมื่อจำนวนลดลงต่ำกว่าระดับที่กำหนด 3) เริ่มใช้กระบวนการเบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ระบบ VMI และเก็บข้อมูลระยะเวลาที่ใช้ในการเบิกจ่ายหลังการปรับปรุงกระบวนการทำงาน เมื่อทำการพัฒนากระบวนการทำงานใหม่โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบ VMI มีการเชื่อมต่อข้อมูลยอดคงคลัง อัตราการใช้ระหว่างคลังยาและห้องจ่ายยา ทำให้สามารถลดขั้นตอนการทำงานจากกระบวนงานเดิม 10 ขั้นตอน เหลือ 6 ขั้นตอน เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการเบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ต่อรอบการเบิก จำนวน 20 ครั้ง พบว่า ค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่ใช้ในกระบวนการทำงานก่อนพัฒนาเท่ากับ 3,105.50 ± 15.63 นาที  ค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่ใช้ในกระบวนการทำงานหลังการพัฒนาระบบ มีค่าเท่ากับ 605.50 ± 23.42 นาที เมื่อทำการเปรียบเทียบด้วยสถิติแบบ paired sample t-Test พบว่าค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่ใช้ในกระบวนการทำงานหลังการพัฒนาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ( p-value = 0.00)  การพัฒนากระบวนการเบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบ VMI มาประยุกต์ใช้ เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนางานบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บรรณสรณ์ เตชะจำเริญสุข, ชัชนินทร์ อัจลานนท์. การบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์เพื่อคุณภาพระบบยาและความปลอดภัยโรงพยาบาล [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 4 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.researchgate.net/publication/343808847_Review_article_karbriharkhlangyalaeawechphanthpheuxkhunphaphrabbyalaeakhwamplxdphayrongphyabal_bthkhwamkarsuksatxneuxngthangphesachsastr/link/5f408f0ca6fdcccc43e48dc5/download

Womack JP, Jones DT. Lean Thinking-Banish Waste and Create Wealth in your Corporation. Journal of the Operational Research Society.1997;48(11):1148.

โกศล ดีศีลธรรม. เพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้วยแนวคิดลีน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ด; 2547.

Martin K, Osterling M. VALUE STREAM MAPPING: How to Visualize Work and Align Leadership for Organizational Transformation. New York. Mc Graw Hill; 2014

Sari K. Exploring the Benefits of Vendor Managed Inventory. International Journal of Physical Distribution & Logistics Management. 2007;37(7):529-545.

ดวงพรรณ กริชชาญชัย. ทำความรู้จักกับ VMI (Vendor Managed Inventory) [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 3 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.loghealth.mahidol.ac.th/file/file-7-10-2015-10-51-53-AM.pdf

ชะอรสิน สุขศรีวงศ์, นิติ โอศิริสกุล, อารยา ศรีไพโรจน์, กุสาวดี เมลืองนนท์. ผลประโยชน์ด้านการเงินที่เกิดกับโรงพยาบาลจากการใช้ Vendor Managed Inventory ของฝ่ายเภสัชกรรมโรงพยาบาล. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 4 เมษายน 2564 ];11(1): 160-170. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/171360/123105

นฤมิตร อินทุยศ, นุศราพร เกษสมบูรณ์. การพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารคลังเวชภัณฑ์ด้วยวิธีการจัดการคลังสินค้าโดยคู่ค้าแบประยุกต์ กรณีศึบกษาสถานีอนามัยลูกข่ายโรงพยาบาลคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 4 เมษายน 2564 ];7(2):241-51. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/3902/hsri_journal_v7n2_p241.pdf?sequence=1&isAllowed=y

เสฎฐวุฒิ ธรรมถาวรวณิช, ธนัญญา วสุศรี, บรรณาธิการ. การจำลองสถานการณ์เพื่อการบริหารคงคลังสินค้าโดยผู้ส่ง

มอบสำหรับโรงพยาบาลกรณีศึกษา. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2563; วันที่ 6-8 พฤษภาคม 2563; ณ โรงแรมพูลแมน จี พัทยา ชลบุรี: 2563.