การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และสร้างทักษะเพื่อการดูแลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ด้วยตนเองโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ผ่านช่องทางออนไลน์

Main Article Content

หทัยชนก เกตุจุนา
ขวัญชนก ธีสระ
เบญจมาศ นาคราช
จิตรา บุญโพก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และสร้างทักษะในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ โดยใช้สื่อออนไลน์ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ผู้ดูแล บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนที่สนใจ เพื่อให้ผู้ป่วยมีสื่อความรู้ที่สามารถศึกษาด้วยตนเอง มีแหล่งความรู้ที่ถูกต้อง ให้สถานพยาบาลมีเครื่องมือการให้ความรู้ในรูปแบบออนไลน์สอดคล้องกับการจัดบริการยุคใหม่แบบ New normal ช่วยลดภาระของทีมแพทย์ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในคลินิกโรคเรื้อรัง ในการให้คำปรึกษา ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจและปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง สามารถจัดการตนเองได้ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย


             จากการทบทวนองค์ความรู้ทางวิชาการ สื่อเนื้อหาที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้สรุปและรวบรวมเนื้อหาที่มีความสำคัญและเป็นเนื้อหาที่ควรรู้ จำนวน 7 เรื่องในการจัดทำสื่อวีดิทัศน์การบริการในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงผ่านสื่อวีดิทัศน์ (VDO Clip) “การให้ความรู้และสร้างทักษะเพื่อการดูแลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง” ประกอบด้วย(1)เลือกทานกันสักนิด พิชิตเบาหวานและความดันโลหิตสูง,(2)ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง...ออกกำลังกายอย่างไรให้ปลอดภัย,(3)เคล็ดลับขจัดความเครียด เคลียร์ความกังวล,(4)รู้เรื่องยารักษาเบาหวาน,(5)เข้าใจยาความดันฯ พร้อมกันใน 5 นาที,(6)รู้ค่า...รู้ความเสี่ยง ประเมินตนเองได้ ห่างไกลโรคแทรกซ้อน และ(7)นาทีฉุกเฉิน...รู้ไว้แก้ได้ (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) เผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ Website ช่อง YouTube กองโรคไม่ติดต่อ เพจกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคและสรุปผลการนำไปใช้ ผลความพึงพอใจต่อการใช้สื่อ (VDO Clip) พบว่า ผู้ตอบแบบประเมิน ฯ จำนวน 953 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 89.51 ผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในคลินิกโรคเรื้อรัง ร้อยละ 82.06 และเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 11.86 มีความพึงพอใจต่อการใช้สื่อภาพรวมในระดับมาก ร้อยละ 92.24  โดยบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง มีความพึงพอใจในภาพรวมในระดับมาก ร้อยละ 91.57 และร้อยละ 95.32  ตามลำดับ เมื่อพิจารณาโดยรวม ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการนำเสนอและด้านการนำไปใช้ พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมาก มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้และสามารถใช้กับผู้ป่วยได้จริงมีประโยชน์ต่อประชาชน และการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์(VDO Clip) ช่วยในการให้ความรู้ผู้ป่วย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ดูแลผู้ป่วย และบุคลากรสาธารณสุขสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองทุกที่ทุกเวลา บุคลากรสาธารณสุขสามารถใช้เป็นสื่อเรียนรู้ให้กับผู้ป่วยได้ การพัฒนาดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์แต่ยังพบข้อจำกัดในการดำเนินงานและการพัฒนาควรมีการพัฒนาเพิ่มเติมในประเด็น ปรับคำค้น ในการค้นหาให้ชัดเจน  เพิ่มช่องทางการเข้าถึงสื่อวีดิทัศน์ เพิ่มการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและควรมีการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพิ่มเติมในกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ไม่ดีเพิ่มเติม

Article Details

How to Cite
1.
เกตุจุนา ห, ธีสระ ข, นาคราช เ, บุญโพก จ. การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และสร้างทักษะเพื่อการดูแลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ด้วยตนเองโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ผ่านช่องทางออนไลน์ . วารสาร สปคม. [อินเทอร์เน็ต]. 20 พฤศจิกายน 2024 [อ้างถึง 18 เมษายน 2025];9(2):293-310. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/272578
บท
บทความวิจัย

References

วิชัย เอกพลากร. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551 – 2552.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนต์ดีไซน์; 2564.

วิชัย เอกพลากร. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557-2558.

กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2557.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี; c2020.Health Data Center; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 16 กันยายน 2563]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=

b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=137a726340e4dfde7bbbc5d8aeee3ac3

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี; c2020.Health Data Center; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 16 กันยายน 2563]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php? cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=2e3813337b6b5377c2f68affe247d5f9

พลอยประกาย ฉลาดล้น, พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม, วิภา กลิ่นจำปา. การศึกษาผลของการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. ม.ค.-เม.ย.2566 [เข้าถึงเมื่อ 24 ก.ค.2567];33:90-101. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/issue/view/18117

ศตพร ศิลปะการสกุล, วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์. การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร. วารสารมหาจุฬาคชสาร [อินเทอร์เน็ต]. ม.ค.-มิ.ย.2567 [เข้าถึงเมื่อ 24 ก.ค.2567];15(1):166-183. เข้าถึงได้จาก: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/271296

โสภาพันธ์ สอาด. การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านสุขภาพโดยใช้สื่อเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง.

วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ [อินเทอร์เน็ต].พ.ค.-ส.ค.2558[เข้าถึงเมื่อ 24 ก.ค.2567];26(2):41-49. เข้าถึงได้จาก: https://journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article/view/774/806

วรรษา กุลตังวัฒนา. ผลของการใช้สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการส่งเสริมทัศนคติในการดูแลสุขภาพตนเองของ

ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุแห่งหนึ่ง [อินเตอร์เน็ต] [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2562. [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2566] เข้าถึงได้จาก: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/473/1/gs601110082.pdf

สุุวัจนา น้อยแนม, กมลรัตน์ กิตติพิมพานนท์, ผจงจิต ไกรถาวร, ธิดา ทองวิเชียร.ประสิทธิผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์เรื่องการตรวจประเมินสภาพเท้าผู้ที่เป็นโรคเบาหวานต่อความรู้ ความมั่นใจและความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. ก.ย.-ธ.ค.2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 ก.ค.2567];27(3):402-414. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramanursej/rnj-v27-no3-sep-dec-2021-09

เนตรนภา ปาวงค์, พรภิมล สุขเพีย. ผลของการให้ความรู้โดยใช้สื่อวีดิทัศน์และคู่มือการดูแลเท้าต่อพฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์[อินเทอร์เน็ต]. ม.ค.-มิ.ย.2567[เข้าถึงเมื่อ 24 ก.ค.2567]; 14(1):37-51. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/267094