ผลของการให้ความรู้โดยใช้สื่อวีดิทัศน์และคู่มือการดูแลเท้าต่อพฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

ผู้แต่ง

  • เนตรนภา ปาวงค์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรภิมล สุขเพีย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การให้ความรู้, สื่อวีดิทัศน์ , คู่มือการดูแลเท้า, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การศึกษากึ่งทดลองรูปแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมป้องกันการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ก่อนและหลังการได้รับความรู้จากสื่อวีดิทัศน์และคู่มือการดูแลเท้า 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพในการใช้งานสื่อวีดิทัศน์และคู่มือการดูแลเท้า กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ระหว่างเดือนกรกฎาคมกันยายน 2566 จำนวน 30 คน และ 2) พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยเบาหวานและใช้งานสื่อวีดิทัศน์และคู่มือการดูแลเท้า จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) วีดิทัศน์ให้ความรู้การดูแลเท้า 2) คู่มือการดูแลเท้า 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพในการใช้งานสื่อวีดิทัศน์และคู่มือการดูแลเท้า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และเปรียบเทียบผลคะแนนโดยใช้สถิติการทดสอบหาค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าสูงขึ้นภายหลังการได้รับความรู้จากสื่อวีดิทัศน์และคู่มือการดูแลเท้า (M = 2.30, SD = 0.13) สูงกว่าก่อนได้รับการให้ความรู้ (M = 1.47 (SD = 0.2) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) ความพึงพอใจของผู้ป่วย (M = 4.79, SD = 0.28) และพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้งานสื่อวีดิทัศน์และคู่มือการดูแลเท้าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.93, SD = 0.16)

References

กมลวรรณ วงวาส, ศากุล ช่างไม้, และวีนัส ลีฬหกุล. (2562). ผลของโปรแกรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 15(2), 34-45.

กรมควบคุมโรค, กองโรคไม่ติดต่อ. (2563). รายงานสถานการณ์โรคไม่ติดต่อ NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge/รายงานสถานการณ์โรคNCDs63update.pdf

กรมควบคุมโรค, กองโรคไม่ติดต่อ. (2564). รายงานการพัฒนาคุณภาพการบริการในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (VDO Clip) “การให้ความรู้และสร้างทักษะเพื่อการดูแลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง” http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=14114&tid=&gid=1-015-005

กระทรวงสาธารณสุข, กรมการแพทย์, สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. (2556). แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท้า. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชมพูนุท ชีวะกุล. (2563). ความรู้และการปฏิบัติตัวเพื่อการป้องกันแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลบุรีรัมย์. Mahidol R2R e-Journal, 7(1), 26-35.

ณัฐภัสสร เดิมขุนทด, สว่างจิต สุรอมรกูล, รัชนีวรรณ ขวัญเจริญ, และชาญวัฒน์ ชวนตันติกมล. (2566). ผลของการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้เป็นเบาหวาน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดี. วชิรสารการพยาบาล, 24(1), 1-24.

ไทยพีบีเอส. (2565, 17 กันยายน). ดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน : ปรับก่อนป่วย [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=e-2-8Tqr0tw

นาเดีย รอนิง, ขนิษฐา นาคะ, และทิพมาส ชิณวงศ์. (2564). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการดูแล ตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลเท้า สุขภาพเท้า และระดับน้ำตาลในเลือดในผู้สูงอายุมุสลิมโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 41(1), 74-87.

นีรนาท สีมะสิงห์, พิชญ์ พหลภาคย์, และสว่างจิต สุรอมรกูล. (2564). ความชุกตามระดับความเสี่ยงของการเกิดแผลเท้าเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 65(ฉบับเพิ่มเติม), S63-S74.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). สุวีริยาสาส์น.

พัชรินทร์ เชื่อมทอง, นิภา กิมสูงเนิน, และรัชนี นามจันทรา. (2563). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 43(1), 78-86.

โรงพยาบาลศรีนครินทร์, งานการพยาบาลอายุรกรรม 1. (2566). รายงานการปฏิบัติงานของพยาบาลหอผู้ป่วยที่ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน. โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน. (2562). คู่มือดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สมพร กิจสุวรรณรัตน์, ถาวร ล่อกา, และณัฏฐ์ฐภรณ์ ปัญจขันธ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดลำปาง ปี 2561. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 7(1), 199-214.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. ร่มเย็น มีเดีย.

สุทธานันท์ กัลกะ, รุ่งนภา จันทรา, อติญาณ์ ศรเกษตริน, ศุภลักษณ์ ธนาโรจน์, และวิลาวัณย์ เศาจวุฒิพงษ์. (2560). ผลของการใช้สื่อวีดีทัศน์หนังตะลุงและคู่มือการดูแลตนเองต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(1), 146-156.

สุุวััจนา น้อยแนม, กมลรัตน์ กิตติพิิมพานนท์์, ผจงจิต ไกรถาวร, และธิดา ทองวิเชียร. (2564). ประสิทธิผลของ การใช้สื่อวีดิทัศน์เรื่องการตรวจประเมินสภาพเท้าผู้ที่เป็นเบาหวานต่อความรู้ ความมั่นใจ และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 27(3), 402-414.

Cohen J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.) Academic Press.

Stanley, S., & Turner, L. (2004). A collaborative care approach to complex diabetic foot ulceration. British Journal of Nursing (Mark Allen Publishing), 13(13), 788–793. https://doi.org/10.12968/bjon.2004.13.13.13497

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01