ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดเรื้อรังในทารกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 34 สัปดาห์ที่มีภาวะหายใจลำบาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันช่วยให้ทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะหายใจลำบากรอดชีวิตมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังพบว่าทารกเหล่านี้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเกิดโรคปอดเรื้อรังที่มีผลต่อทารกในระยะยาว การทราบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคปอดเรื้อรังจะช่วยป้องกัน และลดความรุนแรงได้
วัตถุประสงค์: เพื่อหาความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดเรื้อรังในทารกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 34 สัปดาห์ที่มีภาวะหายใจลำบาก
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน และภาพถ่ายรังสีแรกรับของทารก เกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 34 สัปดาห์ที่มีภาวะหายใจลำบากทุกรายในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และรักษาในโรงพยาบาลนานกว่า 28 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2556 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2561 จำนวน 361 ราย
ผลการศึกษา: ความชุกของการเกิดโรคปอดเรื้อรังร้อยละ 40.44 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคปอดเรื้อรังได้แก่ การช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกที่อายุ 7 วันมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดเรื้อรังมากที่สุดมี Odds ratio (OR) 17.19 เท่า (95%CI=8.53, 34.65) รองลงมาได้แก่อายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 28 สัปดาห์เป็น 5.46 เท่า (95%CI=2.09, 14.28) APGAR score ที่ 5 นาทีน้อยกว่า 7 คะแนนเป็น 3.06 เท่า (95%CI=1.44, 6.54) และน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1,500 กรัมเป็น 2.05 เท่า (95%CI=1.01, 4.17)
สรุปและข้อเสนอแนะ: ทารกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 34 สัปดาห์ที่มีภาวะหายใจลำบากที่ต้องการช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกที่อายุ 7 วัน อายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 28 สัปดาห์ APGAR score ที่ 5 นาทีน้อยกว่า 7 คะแนน และน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1,500 กรัม จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดเรื้อรังมากขึ้น การป้องกันการเกิดปัจจัยเสี่ยงจะช่วยป้องกันไม่ให้ปอดเสียหายได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Kung HC, Hoyert DL, Xu J, Murphy SL. Deaths: final data for 2005. Natl Vital Stat Rep. 2008;56(10):1.
Fraser J, Walls M, McGuire W. Respiratory complications of preterm birth. BMJ.
;329(7472):962-5.
Rodriguez RJ. Management of respiratory distress syndrome: an update. Respir Care.
;48(3):279-86.
Rutkowska M, Hożejowski R, Helwich E, Borszewska-Kornacka MK, Gadzinowski J. Severe bronchopulmonary dysplasia - incidence and predictive factors in a prospective, multicenter study in very preterm infants with respiratory distress syndrome. J Matern Fetal Neonatal Med. 2019;32(12):1958-64.
Chiang Rai Prachanukroh Hospital Information Center. Annual statistics 2017. Chiang Rai;2017.
Davidson LM, Berkelhamer SK. Bronchopulmonary dysplasia: chronic lung disease of infancy and long-term pulmonary outcomes. J Clin Med. 2017;6(1):4
Bancalari E, Jain D. Bronchopulmonary dysplasia: 50 years after the original description. Neonatology. 2019;115(4):384-91.
Younge N, Goldstein RF, Bann CM, Hintz SR, Patel RM, Smith PB, et al. Survival and neurodevelopmental outcomes among periviable Infants. N Engl J Med. 2017;376(7):617-28
Coalson JJ. Pathology of new bronchopulmonary dysplasia. Semin Neonatol. 2003;8(1):73-81.
Kalikkot Thekkeveedu R, Guaman MC, Shivanna B. Bronchopulmonary dysplasia: a review of pathogenesis and pathophysiology. Respir Med. 2017;132:170-7.
Gulczyńska E, Szczapa T, Hożejowski R, Borszewska-Kornacka MK, Rutkowska M. Fraction of inspired oxygen as a predictor of CPAP failure in preterm infants with respiratory distress syndrome: a prospective multicenter study. Neonatology. 2019;116(2):171-8.
Tracy MC, Cornfield DN. Bronchopulmonary dysplasia: then, now, and next. Pediatr Allergy Immunol Pulmonol. 2020;33(3):99-109.
Lima MR, Andrade MA, Araújo AP, Figueroa JN, Andrade LB. [Influence of maternal and neonatal factors on bronchopulmonary dysplasia development]. Rev Assoc Med Bras. 2011;57(4):391-6. Portuguese.
Bhering CA, Mochdece CC, Moreira ME, Rocco JR, Sant'Anna GM. Bronchopulmonary dysplasia prediction model for 7-day-old infants. J Pediatr (Rio J). 2007;83(2):163-70.
Yang T, Shen Q, Wang S, Dong T, Liang L, Xu F, et al. Risk factors that affect the degree of bronchopulmonary dysplasia in very preterm infants: a 5-year retrospective study. BMC Pediatr. 2022;22(1):200.
Ali Z, Schmidt P, Dodd J, Jeppesen DL. Predictors of bronchopulmonary dysplasia and pulmonary hypertension in newborn children. Dan Med J. 2013;60(8):A4688.
Cokyaman T, Kavuncuoglu S. Bronchopulmonary dysplasia frequency and risk factors in very low birth weight infants: a 3-year retrospective study. North Clin Istanb. 2019;7(2):124-30.
Cunha GS, Mezzacappa Filho F, Ribeiro JD. [Maternal and neonatal factors affecting the incidence of bronchopulmonary dysplasia in very low birth weight newborns]. J Pediatr (Rio J). 2003;79(6):550-6.
McEvoy CT, Schilling D, Go MD, Mehess S, Durand M. Pulmonary function in extremely low birth weight infants with bronchopulmonary dysplasia before hospital discharge. J Perinatol. 2021;41(1):77-83.