ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

คำชี้แจงการส่งบทความ
https://drive.google.com/drive/folders/16k9oDDz1IRHtD9bFD2oRcRSiitqctb0s

TEMPLATE
การเขียนสำหรับบทความที่เผยแพร่เชียงรายเวชสาร 

https://docs.google.com/document/d/1X6RhjUx8hMnE8j_zs2ueUUXzlOyLX6ON/edit?usp=drive_link&ouid=108708228542821853616&rtpof=true&sd=true 

เกี่ยวกับคำชี้แจงการส่งบทความเชียงรายเวชสาร  

     เชียงรายเวชสาร (Chiangrai Medical Journal) จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และเป็นเวทีเสนอผลงานทางวิชาการและงานวิจัยแก่ผู้ที่อยู่ในวงการสาธารณสุข มีความยินดีรับลงพิมพ์บทความวิชาการด้านการวิจัยจากงานประจำ ตลอดจนบทความด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานด้านการให้บริการของโรงพยาบาล ดังนี้

  1. บทความเป็นภาษาไทย และมีบทคดย่อเป็นภาษาอังกฤษ
  2. เป็นบทความที่ไม่เคยพิมพ์เผยแพร่มาก่อน ยกเว้นกองบรรณาธิการเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางาน หรือต่อผู้อ่านส่วนใหญ่
  3. บทความวิชาการด้านการวิจัย ต้องผ่านการรับรองโครงการวิจัย ด้นจริยธรรมในการศึกษาวิจัยทางชีวเวชศาสตร์ (Certificate of Approval)
  4. บทความที่ส่งเข้ามายังวารสาร กองบรรณาธิการจะประเมินบทความเป็นการเบื้องต้นภายในเวลาไม่เกิน 4 สัปดาห์ 
  5. บทความที่ส่งผ่านเข้ามาจะผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน ในสาขานั้นก่อนตอบรับการเผยแพร่ และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทานแก้ไขต้นฉบับและพิจารณาตอบรับการเผยแพร่ในวารสาร
  6. ผู้ส่งบทความต้องปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และต้องปรับแก้ไขให้แล้วเสร็จ ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้แจ้งให้แก้ไข หากไม่ปรับแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดทางวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการตีพิมพ์โดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  7. วารสารไม่มีนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์จากผู้นิพนธ์ ในทุกขั้นตอน

ประเภทของบทความ

     * นิพนธ์ต้นฉบับ (Original articles)เป็นรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัยที่เกี่ยวกับระบบสุขภาพและ/หรือการพัฒนาระบบสาธารณสุข ควรประกอบด้วยลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา วิจารณ์ ข้อสรุป กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 12 หน้าพิมพ์
     * รายงานผู้ป่วย (Case report)เป็นรายงานของผู้ป่วยที่น่าสนใจ หรือภาวะที่ไม่ธรรมดา หรือที่เป็นโรค หรือกลุ่มอาการใหม่ที่ไม่เคยรายงานมาก่อน หรือพบไม่บ่อย ไม่ควรกล่าวถึงผู้ป่วยในภาวะนั้นๆ เกิน 3 ราย โดยแสดงถึงความสำคัญของภาวะที่ผิดปกติ การวินิจฉัยและการรักษา รายงานผู้ป่วยมีลำดับ ดังนี้ บทคัดย่อ บทนำ รายงานผู้ป่วย วิจารณ์อาการทางคลินิก ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เสนอความคิดเห็นอย่างมีขอบเขต สรุป กิตติกรรมประกาศและเอกสารอ้างอิง (ถ้าจะแสดงรูปภาพต้องแสดงเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ และได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือผู้รับผิดชอบ)
     * บทความฟื้นฟู วิชาการ (Review articles) เป็นบทความททบทวนหรือรวบรวมความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากวารสารหรือหนังสือตาง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วย บทนำ วิธการสืบค้นข้อมูลเนื้อหาที่ทบทวน บทวิจารณ์ และเอกสารอ้างอิง อาจมีความเห็นของผู้รวบรวมเพิ่มเติมด้วยก็ได้ ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 12 หน้าพิมพ์
     *บทความพิเศษ (Special article) เป็นบทความประเภท กึ่งปฎิทัศน์กับบทความฟื้นฟูวิชาการที่ไม่สมบูรณพอที่จะบรรจุเข้าเป็นบทความชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือเป็นบทความแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่อยู่ในความสนใจของมวลชนเป็นพิเศษ ประกอบด้วยบทนำเรื่อง บทสรุปและเอกสารอ้างอิง
     *บทปกิณกะ (Miscellany) เป็นบทความที่ไม่สามารถจัดเข้าในประเภทใด ๆ ข้างต้น
     *เวชศาสตร์ร่วมสมัย (Modern medicine) เป็นบทความภาษาไทยซึ่งอาจเป็นนิพนธ์ต้นฉบับสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนบทความหรือบทความอภิปรายวิชาการเกี่ยวกับโรคหรือปัญหาที่พบบ่อยและ/หรือ มีความสำคัญ น่าสนใจ และช่วยเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์และทักษะแก่ผู้อ่านในแง่ของการศึกษาต่อเนื่อง (Continuing medical education) เพื่อให้ผู้อ่านมีความรู้และรับถ่ายทอดประสบการณ์ให้ทันสมัยในการดำรงความเป็นแพทย์ที่มีมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
     *จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to Editor) หรือ จดหมายโต้ตอบ (Correspondence) เป็นเวทีใช้ติดต่อโต้ตอบระหว่างนักวิชาการผู้อ่านกับเจ้าของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารในกรณีผู้อ่านมีข้อคิดเห็นแตกต่าง ต้องการชี้ให้เห็นความไม่สมบูรณ์หรือข้อผิดพลาดของรายงาน และบางครั้งบรรณาธิการอาจวิพากษ์ สนับสนุนหรือโต้แย้ง

  

ส่วนประกอบของบทความ

ชื่อเรื่อง

สั้น แต่ได้ใจความ ครอบคลุมเกี่ยวข้องกับบทความทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ

ชื่อผู้เขียน

เขียนตัวเต็มทั้งชื่อตัวและนามสกุลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมทั้ง วุฒิการศึกษา และสถานที่ทำงาน รวมทั้งบอกถึงหน้าที่ของผู้ร่วมนิพนธ์ในบทความ

เนื้อหา

เขียนให้ตรงกับวัตถุประสงค์ เนื้อเรื่องสั้น กระทัดรัดแต่ชัดเจน ใช้ภาษาง่าย ถ้าเป็นภาษาไทยควรใช้ภาษาไทยมากที่สุด ยกเว้น ศัพท์ภาษาอังกฤษที่แปลไม่ได้ใจความหากจำเป็นต้องใช้คำย่อ ต้องเขียนคำเต็มเมื่อกล่าวถึงครั้งแรก บทความควรประกอบด้วยบทนำอย่างสมบูรณ์ ตามหัวข้อโดยละเอียดที่ปรากฏในคำแนะนำ และไม่ควรระบุชื่อของผู้ป่วยไว้ในบทความ

บทคัดย่อ

ย่อเฉพาะเนื้อหาสำคัญเท่านั้น ให้มีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อนุญาตให้ใช้คำย่อที่เป็นสากล สูตร สัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ สถิติ ใช้ภาษารัดกุม ความยาว ไม่ควรเกิน 350 คำ หรือ 25 บรรทัด ระบุส่วนประกอบสำคัญที่ปรากฏในบทความอย่างย่อตามคำแนะนำ

คำสำคัญ

ได้แก่ ศัพท์ หรือวลีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ประมาณ 3-5 คำ เพื่อนำไปใช้ในการบรรจุดัชนีเรื่องสำหรับการค้นคว้า

  

เอกสารอ้างอิง

การเขียนเอกสารอ้างอิง

     ให้ใช้แบบแวนคูเวอร์(Vancouver Style) ใส่หมายเลขเรียงลำดับที่อ้างถึงในบทความ โดยพิมพ์ระดับเหนือข้อความที่อ้างถึง ส่วนการเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ การย่อชื่อวาสารใช้ตาม Index Medicus

การเขียนเอกสารอ้างอิงภาษาไทย เขียนแปลเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง

  1. หนังสือที่มีผู้แต่งเป็นบุคคล (Personal Author)

ชื่อผู้แต่ง. ชื่อเรื่อง. ครั้งที่พิมพ์(ระบุในการพิมพ์ครั้งที่ 2). เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์; ปีพิมพ์.

1.1 หนังสือที่มีผู้แต่งคนเดียว
     - Dhammabovorn N. Family and education. Bangkok: office of the National Education Commission; 1998.
     - Murray PR. Medical Micrology. 4th ed. St.Louis: Mosby; 2002.
1.2 หนังสือที่มีผู้แต่ง 2 คน-6คน
     - Linn WD, Wofford MR, O’Keefe ME, Posey LM. Pharmacotherapy in primary care. New York: McGraw Hill; 2009 1.3 หนังสือที่มีผู้แต่งมากกว่า 6 คน
     - Fofmeryr GJ, Neilson JP, Alfirevic Z, Crowther CA, Gulmezglu AM, Hodnett ED et al. A Cochrane pocketbook: Pregnancy and childbirth. Chichester, West Sussex, England: John Wiley & Son Ltd; 2008.
1.4 หนังสือที่มีบรรณาธิการ (Editor as Author)
     - Gilstrap LC, Cunningham FG, VanDorsten JP, editors. Operative obstetrics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 2002.
1.5 หนังสือที่มีผู้แต่งเป็นองค์กร หน่วยงาน สถาบัน (Organization as Author)
     - Health Information Unit, Bureau of Health Policy and Strategy, Office of Permanent Secretary Statistics. Number and death rate per 100,000 population of first 10 leading cause groups of death 2007-2011. Nonthaburi: Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health; 2011.
     - American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorder. 5th ed. Virginia: American Psychiatric Publishing; 2013.

  1. บทหนึ่งในหนังสือ (Chapter in Book)

ผู้แต่งบทที่อ้าง. ชื่อบท. ใน: ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์(ระบุในการพิมพ์ครั้งที่2). เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์; ปีพิมพ์.น.เลขหน้าเริ่มต้นบท-เลขหน้าสุดท้ายบท

     - Meltzer Ps, Kallioniemi A, Trent JM. Chromosome alterations in human solid tumors. In: Vogekstein B, Kinzler KW, editors, The genetic basis of human cancer. New York: McGraw-hill; 2002.p.93-113.

  1. รายงานการประชุม (Conference proceedings)

ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ. ชื่อเรื่อง. ชื่อการประชุม; วัน เดือน(ย่อ)ปีที่ประชุม. สถานที่จัดประชุม. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์; ปีพิมพ์.

     - Kimura J, Shibasamki H, editors. Recent advances in clinical neurophysiology. Proceedings of the 10th InternationalCongress of EMG and Clinical Neurophysiology; 1995 Oct 15-19; Kyoto, Japan. Amsterdam: Elsevier; 1996.

  1. วิทยานิพนธ์ (Dissertation)

ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง[ประเภทปริญญา]. เมืองที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่: ชื่อมหาวิทยาลัย; ปีพิมพ์

     - Mooksombud N. The opinion of morals and factors correlated among hight school student at Nonthaburi province[dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2002.
     - Borkowski MM. Infant sleep and feeding: a telephone survey of Hispanic America [dissertation]. Mount Pleasant(MI): Central Michigan University; 2002.

  1. บทความวารสาร (Articles in Journals)

ชื่อผู้เขียน. ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีพิมพ์;ปีที่(ฉบับที่): เลขหน้าเริ่มต้นบทความ-เลขหน้าสุดท้าย

5.1 ผู้แต่ง1-6 คน ลงรายการทุกคน
     - Halpern SD, Ubel PA, Caplan AL. Solid-organ transplantation in HIV- infected patients. N Engl J Med. 2002;347(4):284-7.
5.2 ผู้แต่งมากกว่า 6 คน ลงรายการคนแรก ตามด้วย et al.
     - Ogawa H, Nakayama M, Morimoto T, Uemure S, Kanauchi M, Doi N, et al. Low-dose aspirin for primary prevention of atherosclerotic events in patients with type 2 diabetes: a randomized trial. JAMA. 2008;300(8):2134-41.
5.3 ผู้แต่งเป็นหน่วยงาน
     - American College of Dentists,Board of Regents. The ethics of quackery and fraud in dentistry: a position paper. J Am Coll. Dent.2003;70(3):6-8.
5.4 บทความที่ไม่มีชื่อผู้แต่ง
     - Control hypertension to protect your memory. Keeping your blood pressure low may guard adaints Alzheimer’s, new research suggests. Heart Advis 2003; 6 (1) : 4-5.
5.5 วารสารที่มีฉบับเพิ่มเติมของปีที่พิมพ์ (Volume with Supplement)
     - Geraud G, Spierings EL, Keywood C. Tolerability and safety of frovatriptan with short- and long-term use for treatment of migraine and in comparison with sumatriptan. Headache. 2002;42 Suppl2:S93-9.
5.6 วารสารที่มีฉบับเพิ่มเติมของฉบับที่พิมพ์ (Issue with Supplement)
     - Glauser TA. Integrating clinical trial data into clinical practice. Neurology.2002;58 (12 Suppl 7):S6-12.
5.7 วารสารที่แบ่งเป็นตอน (Part) และบทความที่อ้างถึงอยู่ตอนหนึ่งของปีที่พิมพ์ (Volume with Part)
     - Abend SM, Kulish N. The psychoanalytic method from an epistemological viewpoint. Int J Psychoanal. 2002;83(Pt2):491-5
5.8 วารสารที่แบ่งเป็นตอน (Part) และบทความที่อ้างถึงอยู่ตอนหนึ่งของฉบับที่พิมพ์ (Issue with Part)
     - Ahrar K, Madoff DC, Gupta S, Wallace MJ, Price RE, Wright KC. Development of a large animal model for lung tumors. J Vasc Interv Radiol.2002;13(9Pt1):923-8.
5.9 วารสารที่มีฉบับที่แต่ไม่มีปีที่ (Issue with No Volume)
     - Banit DM, Kaufer H, Hartford JM. Intraoperative frozen section analysis in revision total joint arthroplasty. Clin Orthop. 2002;(401):230-8.
5.10 วารสารที่ไม่มีทั้งปีที่และฉบับที่ (No Volume or Issue)
     - Outreach:bring HIV-positive individuals into care. HRSA Careaction. 2002: 1-6.
5.11 วารสารที่มีเลขหน้าเป็นเลขโรมัน ให้ใส่เลขโรมัน
     - Chadwick R, Schuklenk U. The politics of ethical consensus finding. Bioethics. 2002;16(2):iii-v.

  1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ต (Electronics materials and Internet)

6.1 บทความวารสารบนอินเทอร์เน็ต (Journal Article on the Internet)
ชื่อผู้เขียน. ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร[อินเทอร์เน็ต]. ปีพิมพ์[สืบค้นเมื่อวันที่ เดือน(ย่อ)ปี]; ปีที่(ฉบับที่): เลขหน้าหรือจำนวนหน้า. จาก: URL

     - Abood S. Quality improlity improvement initative in nursing homes: the ANA acts in an advisory role. Am J Nurs [Internet].2002 [cited 2002 Aug 12];102(6): [ about 1p.]. Available from: https://www.nursingworld.org/AJN/Wawatch.htmArticle.
     - Ogawa H, Nakayama M, Morimoto T, Uemure S, Kanauchi M, Doi N, et al. Low-dose aspirin for primary prevention of atherosclerotic events in patients with type 2 diabetes: a randomized trial. JAMA. 2008;300(18):2134-41.

6.2 บทความวารสารทางอินเทอร์เน็ตที่มีเลขประจำบทความแทนเลขหน้า ให้ใช้คำตามสำนักพิมพ์เช่น “e” หมายถึง electronic หรือเลข Digital object identifier (doi) หรือเลข Publisher ltem Identifier (pii) แทนเลขหน้า
Author. Title of the article. Title of the Journal. Year; Volume(Issue): Page;doi.

     - Willams JS, Brown SM, Conlin PR. Videos in clinical medicine. Blood pressure measurement. N Engl J Med. 2009;360(5).e6.
     - Tegnell A, Dill J, Andrae B. Introduction of human papillomavirus(HPV) vaccination in Sweden. Ero Suveill. 2009; 14(6). pii: 19119.
     - Zhan M, Holman CD, Price SD, Sanfilippo FM, Preen DB, Bulsara MK. Comorbidity and repeat Adminission to hospital for adverse drug reactions in older adults: retrospective cohort study. BMJ 2009;338:a2752. doi:10.1136/bmj.a2752.

6.3 เอกสารเฉพาะเรื่องบนอินเทอร์เน็ต (Monograph on the internet)
ชื่อผู้เขียน. ชื่อเรื่อง[อินเทอร์เน็ต]. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์; ปีพิมพ์ [สืบค้นเมื่อวันที่ เดือน(ย่อ)ปี]. จาก: URL

     - Foley KM, Gelband H, editors. Improving palliative care for cancer[Internet]. Washington: National Academy Press; 2001 [cited 2002 Jul 9]. Available from: https://www.nap.edu/books/0309074029/html/.

6.4 โฮมเพจ/เว็ปไซต์ ( Homepage หรือ Website)
     * ลักษณะเดียวกันกับการอ้างอิงบทความหรือข้อมูลที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต แต่ให้เปลี่ยนชื่อเรื่อง เป็นชื่อเว็บไซต์ และให้ระบุวันที่เว็บไซต์นั้นมีการปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติมด้วย (ถ้ามี)ชื่อเว็บไซต์[อินเทอร์เน็ต]. ชื่อเมืองหรือประเทศเจ้าของเว็บไซด์: ชื่อองค์กรหรือบริษัทเจ้าของเว็บไซต์; ปีที่จดทะเบียนหรือปีที่เริ่มเผยแพร่เว็บไซต์[ปรับปรุงเมื่อ วัน เดือน(ย่อ) ปี ; สืบค้นเมื่อวันที่ เดือน(ย่อ)ปี]. จาก: URL

     - Cancer-Pain.org[Internet]. New York: Association of Cancer Online Resources, Inc; 2000-01[updated 2002 May 16; cited 2002 Jul 9]. Available from: https://www.cancer-pain.org/.
     - Medscape Pharmacists[Internet]. New York: WebMD;1994-2009:[update 2009 Jun 9; cited 2009 Jun11]. Available from: https://www.medscape.com/pharmacists

6.5 ฐานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (Database online)
ชื่อฐานข้อมูล [อินเทอร์เน็ต]. ชื่อเมืองหรือประเทศเจ้าของฐานข้อมูล: ชื่อองค์กรหรือบริษัทเจ้าของฐานข้อมูล, ปีที่จดทะเบียนหรือปีที่เริ่มเผยแพร่ฐานข้อมูล[ปรับปรุงเมื่อวันที่ เดือน(ย่อ)ปี; สืบค้นเมื่อวันที่ เดือน(ย่อ)ปี]. จาก URL

     - WHOSIS: WHO Statistical Information System[Internet]. Geneva: World Health Organization.2007[cited 2007 Feb 1]. Available from: https://www.who.int/whosis/en/.
     - Jablonski S. Online Multiple Congenital Anomaly/Menta Retardation(MCA/MR0Syndromes[Internet]. Bethesda(MD): Nation Library of Medicine(US); 1999[updated 2001 Nov 20;cited 2002 Aug 12]. Available from: https://www.nlm.nih.gov/archive//20061212/mesh/jablonski/syndrome_title.html.

7.คำแนะนำในการทำ รูปแบบบรรณานุกรม ให้เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด (วารสาร/วิทยานิพนธ์ภาษาไทย ให้เขียนในบรรณานุกรรมเป็นภาษาอังกฤษ)
เพื่อรองรับการนำวารสารสู่ระบบฐานข้อมูลสากล

คำชี้แจงการส่งบทความ
เชียงรายเวชสาร (Chiangrai Medical Journal) จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและเป็นเวทีเสนอผลงานทางวิชาการและงานวิจัยแก่ผู้ที่อยู่ในวงการสาธารณสุข มีความยินดีรับลงพิมพ์บทความวิชาการด้านการวิจัยจากงานประจำ ตลอดจนบทความด้านอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานด้านการให้บริการของโรงพยาบาล ดังนี้
1. บทความเป็นภาษาไทย และมีบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ
2. เป็นบทความที่ไม่เคยพิมพ์เผยแพร่มาก่อน ยกเว้นกองบรรณาธิการเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางาน หรือต่อผู้อ่านส่วนใหญ่
3. บทความวิชาการด้านการวิจัย ต้องผ่านการรับรองโครงการวิจัย ด้านจริยธรรมในการศึกษาวิจัยทางชีวเวชศาสตร์ (Certificate of Approval)