ปัจจัยทางคลินิกที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : การรักษาพยาบาลแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำ เป็นวาระสำคัญของยุทธศาสตร์และการดำเนินนโยบายสาธารณสุขระดับประเทศ ประเด็นด้านการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของผู้ต้องขังจึงเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก ที่ต้องมีการบริหารจัดการและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการคุ้มครองด้านสาธารณสุข ที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ต้องขังได้กลับคืนสู่สังคมภายหลังได้อย่างมีคุณภาพ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษา 1) สาเหตุการเสียชีวิตด้วยโรคธรรมชาติของผู้ต้องขังเรือนจำกลางจังหวัดเชียงราย 2) ปัจจัยทางคลินิกที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ต้องขัง และ 3) แนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ต้องขัง
วิธีการศึกษา : ศึกษาย้อนหลังแบบมีกลุ่มควบคุม เก็บข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2559-2563 รวบรวมข้อมูลจากรายงานชันสูตรพลิกศพ และบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มศึกษา (Case) คือ ผู้ต้องขังเสียชีวิตด้วยโรคธรรมชาติ จำนวน 110 ราย และกลุ่มควบคุม (Control) คือ ผู้ต้องขังป่วยด้วยโรคประจำตัว จำนวน 440 ราย
ผลการศึกษา : สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ต้องขังด้วยโรคธรรมชาติ ได้แก่ โรคปอดอักเสบ ร้อยละ 20.00 โรคมะเร็ง ร้อยละ 12.73 โรควัณโรคและโรคเอชไอวี ร้อยละ 11.82 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อโอกาสเสียชีวิตของผู้ต้องขังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ผู้ต้องขังที่เป็นโรคมะเร็งมีโอกาสที่จะเสียชีวิตเป็น 173.55 เท่า (95%CI: 18.17-1656.90; p=0.001) วัณโรคมีโอกาสที่จะเสียชีวิตเป็น 7.85 เท่า (95%CI: 3.56-17.27; p=0.001) ตับแข็งมีโอกาสที่จะเสียชีวิต 19.21 เท่า (95%CI: 3.24 -113.62; p=0.001) ไตวายเรื้อรังมีโอกาสที่จะเสียชีวิตเป็น 6.66 เท่า (95%CI: 2.21 -20.04; p=0.001) เอชไอวีมีโอกาสที่จะเสียชีวิตเป็น 5.47 เท่า (95%CI: 2.18 -13.68; p=0.001) เบาหวานมีโอกาสที่จะเสียชีวิตเป็น 3.74 เท่า (95%CI: 1.54 - 9.03; p=0.003) และมีโรคประจำตัว รักษาไม่ต่อเนื่องมีโอกาสที่จะเสียชีวิตเป็น 3.26 เท่า (95%CI: 1.23-8.69; p=0.017) แนวทางการดำเนินงานด้านบริการสุขภาพผู้ต้องขังที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ Healthcare, Unity, Management, Assessment และ Necessitate หรือเรียกปัจจัยดังกล่าวว่า “HUMAN”
สรุปและข้อเสนอแนะ : การเสียชีวิตด้วยโรคธรรมชาติของผู้ต้องขังเกิดจากปัจจัยด้านสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ต้องขังที่มีโรคร่วมและไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่อง ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการคัดกรองโรคและรักษาโรคติดเชื้อในผู้ต้องขังอย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางป้องกันการการเสียชีวิตตามธรรมชาติ ด้วยการดูแลรักษาที่เหมาะสม ส่งเสริมการดูแลสุขภาพเรือนจำ และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ต้องขัง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Make the SDGs a reality [Internet]. Division for Sustainable Development, Department of Economic and Social Affairs, United Nations [update 2021 Mar 29; cited 2022 May 24] Available from: https://sdgs.un.org.
Inmates Statistics report [Internet]. Nonthaburi: Department of Corrections [cited 2022 May 24] Available from: http://www.correct.go.th/stathomepage.
Watchanasara K, Praphawadee O, Ratchareonkhachon S, Krabuansaeng J, Rodphai B, Karnthai D. Getting sick behind bars: health issues and prison health care. Nakhon Pathom: Insitute for Population and Social Research, Mahidol University; 2018.
Medical Informetic Division Of Chiangrai Prachanukroh Hospital. Patient statistic report 2016 - 2020. Chiangrai Prachanukroh Hospital;2022.
Forensic Medicine Department of Chiangrai Prachanukroh Hospital. Dead cases statistic report 2016 - 2020. Chiangrai: Chiangrai Prachanukroh Hospital;2022.
Ünal V, Özgün Ünal E, Çetinkaya Z, İmalı M, Gürler S, Koç S. Custody and prison deaths autopsied in Istanbul between 2010 and 2012. J Forensic Leg Med. 2016;39:16-21.
Heide S, Chan T. Deaths in police custody. J Forensic Leg Med. 2018;57:109-14.
Bardale R. Dixit P. Natural deaths in custody: a 10- year mortality study. Journal of Indian Academy of. Forensic Medicine 2011; 33 (4):328-31.
Fraser A. 20. Primary health care in prisons. In: Enggist S, Møller L, Galea G, Udesen C, editors. Prisons and Health. Copenhagen: WHO Regional Office for Europe; 2014. p. 173-9.
Fazel S, Benning R. Natural deaths in male prisoners: a 20-year mortality study. Eur J Public Health. 2006;16(4):441-4.
Nwafor CC, Nwafor NN, Eziagu UB, Owobu CI. Retrospective Post Mortem Study of Custodial Deaths in Uyo, South-South, Nigeria. West Afr J Med. 2021;38(7):689-94.
Multifactorial diseases [Internet]. Encyclopedia.com; 2019 [cited 2022 Dec 4]. Available from: https://www.encyclopedia.com/education/encyclopedias-almanacs-transcripts-and-maps/multifactorial-diseases
Rothman KJ, Greenland S. Causation and causal inference in epidemiology. Am J Public Health. 2005;95 Suppl 1:S144-50.
Kuchewar SV, Bhosle SH, Shrigiriwar MB, Padole TO. Custody-related deaths in Maharashtra state of India - Analysis of autopsies performed at a medical teaching institute during the period 2000-2018. J Forensic Leg Med. 2020;70:101915.
Shaw J, Talbot J, Norman A, Lyon J, Heathcote L, Bernard A, et al. Avoidable natural deaths in prison custody: Putting things right [Internet]. London: The Royal College of Nursing; 2020 [updated September; cited 2022 November 30]. Available from: https://www.researchgate.net/publication/344786958_Avoidable_natural_deaths_in_prison_custody_putting_things_right_Independent_Advisory_Panel_on_Deaths_in_Custody_and_The_Royal_College_of_Nursing.
Visser RC. Dying in the margins: A literature review on end of life in English prisons. Religions. 2021;12(6):413.
Penal Reform International. Global prison trends 2021 [Internet]. London: penalreform.org; 2021 [cited 2022 May 26]. Available from: https://www.penalreform.org/global-prison-trends-2021.
Development of public health service system for inmates in prisons (edited edition) 2021 [Internet]. Nonthaburi: Health Administration Division, Office of Permanent Secretary, Ministry of Public Health; 2021 [cited 2022 June 26]. Available from: https://www.moj.go.th/attachments/20220426133648_17921.pdf.1
Prison Public Health Volunteer Training Course, 2020 [Internet]. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2019 [cited 2022 Aug 13]. Available from: https://hss.moph.go.th/fileupload_doc/2019-12-13-1-19-50331521.pdf.