ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องท้องของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางช่องท้องในโรงพยาบาลพาน

Main Article Content

สุขชัย เธียรเศวตตระกุล

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : การล้างไตทางช่องท้องเป็นการบำบัดทดแทนไตวิธีหนึ่งของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การติดเชื้อในช่องท้องเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียสายล้างหน้าท้อง และการเสียชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้อง มีการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า   ระดับอัลบูมิน ในเลือดที่ต่ำ ค่าดัชนีมวลกายที่สูง และโรคไตจากเบาหวาน (diabetic kidney disease)
มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของอัตราการติดเชื้อในช่องท้อง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย   ในโรงพยาบาลพาน มีข้อมูลพื้นฐานได้แก่ เพศ อายุ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยอื่น ๆ             ที่แตกต่างจากผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในการศึกษาก่อนหน้านี้


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องท้อง และเชื้อที่เป็นสาเหตุของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางช่องท้องในโรงพยาบาลพาน


วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต     ด้วยการล้างไตทางช่องท้อง ที่มารับบริการคลินิกล้างไตทางช่องท้อง (CAPD clinic) โรงพยาบาลพาน       ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ถึง 31 ธันวาคม 2564 และผู้ป่วยต้องมารับการรักษาต่อเนื่องอย่างน้อย 1ปี   โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มที่พบมีการติดเชื้อในช่องท้อง 2) กลุ่มที่ไม่พบการติดเชื้อในช่องท้อง       มีการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนของโรงพยาบาลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ exact probability test, t-test, Chi-square test ตามความเหมาะสม


ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 97 ราย พบมีการติดเชื้อ       ในช่องท้อง 38 ราย (ร้อยละ 39.18) และไม่พบการติดเชื้อในช่องท้อง 59 ราย (ร้อยละ 60.82)  โดยมีปัจจัย  ที่เพิ่มอัตราการติดเชื้อในช่องท้อง (risk factors) ได้แก่ ระดับอัลบูมินในเลือดที่ต่ำ (95%CI 0.05 – 0.50,      p = 0.002) ระดับโซเดียมในเลือดที่ต่ำ (95%CI 0.75 – 0.98, p = 0.028) และปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 500 มิลลิลิตรต่อวัน (95%CI 0.08 – 0.76, p = 0.014)  โดยมีเชื้อที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียแกรมลบ


สรุปและข้อเสนอแนะ : ระดับอัลบูมินในเลือดที่ต่ำ ระดับโซเดียมในเลือดที่ต่ำ และปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 500 มิลลิลิตรต่อวันเป็นปัจจัยที่เพิ่มอัตราการติดเชื้อ ในช่องท้อง (risk factors)  ดังนั้นการที่มีภาวะโภชนาการที่ดี และการรักษาให้ผู้ป่วยมีปัสสาวะออกดีจะช่วยลดอัตราการติดเชื้อในช่องท้องของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้องได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Annual Report Thailand Renal Replacement Therapy 2020 [Internet]. Bangkok: The Nephrology Society of Thailand; 2020 [cited 2022 June 19]. Available from: https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2022/06/Final-TRT-report-2020.pdf.

Nodaira Y, keda N, Kobayashi K, Watanaba Y, Inove T, Gen S, et al. Risk factors and cause of removal of peritoneal dialysis catheter in patients on continuous ambulatory peritoneal dialysis. Adv Perit Dial 2008; 24: 65-8.

Sirivongs D, Pongskul C, Keobounma T, Chunlertrith D, Sritaso K, Johns J. Risk factors of peritonitis episode in Thai CAPD patients. J Med Assoc Thai 2006; 89 suppl 2: S138-45.

Pérez Fontan M, Rodríguez-Carmona A, García-Naveiro R, Rosales M, Villaverde P, Valdés F. Peritonitis-related mortality in patients undergoing chronic peritoneal dialysis. Perit Dial Int. 2005;25(3):274-84.

Chow KM, Szeto CC, Leung CB, Kwan BC, Law MC, Li PK. A risk analysis of continuous ambulatory peritoneal dialysis-related peritonitis. Perit Dial Int. 2005;25(4):374-9.

Chantharamethikun S. Risk factors of peritonitis in CAPD patients in Mukdahan hospital. Mahasarakham Hospital Journal 2011; 7(3): 76-80.

Mustafa K, Ramazan C, Abdullah U, Hamit A, Fatma EM, Haidullah U. Peritoneal dialysis-related peritonitis of risk factors in Northest Anatolia. Turk J Med Sci 2010; 40 (4): 643-50.

McDonald SP, Collins JF, Rumpsfeld M, Johnson DW. Obesity is a risk factor for peritonitis in the Australian and New Zealand peritoneal dialysis patient populations. Perit Dial Int. 2004;24(4):340-6.

Cueto-Manzano AM, Quintana-Piña E, Correa-Rotter R. Long-term CAPD survival and analysis of mortality risk factors: 12-year experience of a single Mexican center. Perit Dial Int. 2001;21(2):148-53.

Bunnag S, Thanakitcharu P, Krairittichai U, Jirajan B, Meenune W, Kanjanapanth C. Risk factors of infectious peritonitis of CAPD patients in Rajavithi Hospital. J Med Assoc Thai. 2011;94 Suppl 4:S37-43.

Li PK, Chow KM, Cho Y, Fan S, Figueiredo AE, Harris T, et al. ISPD peritonitis guideline recommendations: 2022 update on prevention and treatment. Perit Dial Int 2022;42(2):110-53.

Nessim SJ, Bargman JM, Austin PC, Story K, Jassal SV. Impact of age on peritonitis risk in peritoneal dialysis patients: an era effect. Clin J Am Soc Nephrol. 2009;4(1):135-41

Kotsanas D, Polkinghorne KR, Korman TM, Atkins RC, Brown F. Risk factors for peritoneal dialysis-related peritonitis: can we reduce the incidence and improve patient selection? Nephrology (Carlton). 200712(3):239-45.

Tseng MH, Cheng CJ, Sung CC, Chou YC, Chu P, Chen GS, et al. Hyponatremia is a surrogate marker of poor outcome in peritoneal dialysis-related peritonitis. BMC Nephrol. 2014;15:113.

Han SH, Lee SC, Ahn SV, Lee JE, Kim DK, Lee TH, et al. Reduced residual renal function is a risk of peritonitis in continuous ambulatory peritoneal dialysis patients. Nephrol Dial Transplant.

;2(9):2653-8.