ผลสำเร็จของการผ่าตัดแก้ไขภาวะท่อน้ำตาอุดตันโดยวิธีส่องกล้องผ่านทางจมูก ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์โดยจักษุแพทย์ทั่วไป

Main Article Content

นเรศ พินิจราชกิจ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การผ่าตัดแก้ไขภาวะท่อน้ำตาอุดตันโดยวิธีส่องกล้องผ่านทางจมูก เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการผ่าตัดแก้ไขภาวะท่อน้ำตาอุดตัน แต่ส่วนใหญ่ทำโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง ซึ่งโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ไม่มีจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขานี้ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแก่จักษุแพทย์ทั่วไปให้สามารถทำการผ่าตัดแก้ไขภาวะท่อน้ำตาอุดตันด้วยวิธีส่องกล้องผ่านทางจมูกขึ้น


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลสำเร็จของการผ่าตัดแก้ไขภาวะท่อน้ำตาอุดตันโดยวิธีส่องกล้องผ่านทางจมูกโดยจักษุแพทย์ทั่วไป  ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์


วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลัง จากการทบทวนบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยท่อน้ำตาอุดตันที่ได้รับการผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้องผ่านทางจมูก ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2563 โดยจักษุแพทย์ทั่วไปท่านเดียว ผู้ป่วยได้รับการติดตามผลหลังการผ่าตัดเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน โดยประเมินผลสำเร็จของการผ่าตัดจากอาการของผู้ป่วยที่ดีขึ้น คือไม่มีอาการน้ำตาเอ่อ และจากการล้างท่อน้ำตาจะพบว่าน้ำลงคอได้ดี


ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษา จำนวน 32 ราย เป็นผู้ป่วยที่ผ่าตัดสำเร็จ 28 ราย  (ร้อยละ 87.50) ไม่สำเร็จ 4 ราย (ร้อยละ 12.50) อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มที่ผ่าตัดสำเร็จ มีอายุเฉลี่ยน้อยกว่ากลุ่มที่ผ่าตัดไม่สำเร็จ (54.46±13.62 ปี vs 67.25±4.92 ปี, p=0.076) สัดส่วนของผู้ป่วยเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (5 : 1) ผู้ป่วยเพศชายทั้ง 5 รายผ่าตัดสำเร็จทุกราย ส่วนเพศหญิงผ่าตัดสำเร็จ 23 ราย ในกลุ่มผู้ป่วยที่ผ่าตัดไม่สำเร็จ 4 รายเป็นเพศหญิงทุกราย (ร้อยละ 100.00) พบภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดในผู้ป่วย 1 ราย แต่เป็นชนิดที่ไม่รุนแรง (postoperative bleeding) และไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูล เพศ อายุของผู้ป่วย สาเหตุของการเกิดท่อน้ำตาอุดตัน การเกิดถุงน้ำตาอักเสบร่วมด้วย ระยะเวลาในการใส่สายsilicone ค้างไว้พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับอัตราความสำเร็จของการผ่าตัด (p-value>0.05)


สรุปและข้อเสนอแนะ: การผ่าตัดแก้ไขภาวะท่อน้ำตาอุดตันโดยวิธีส่องกล้องผ่านทางจมูกโดยจักษุแพทย์ทั่วไปให้ผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ การขยายการดำเนินงานไปยังโรงพยาบาลอื่นๆ ที่มีจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้างไม่เพียงพอ จะช่วยลดการส่งต่อ ลดระยะเวลารอคอยผ่าตัด และเป็นประโยชน์ต่อระบบสาธารณสุขต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Ben Simon GJ, Joseph J, Lee S, Schwarcz RM, McCann JD, Goldberg RA. External versus endoscopic dacryocystorhinostomy for acquired nasolacrimal duct obstruction in a tertiary referral center. External versus endoscopic dacryocystorhinostomy for acquired nasolacrimal duct obstruction in a tertiary referral center. Ophthalmology. 2005;112(8):1463-8.

Dailey RA, Marx DP. Primary endoscopic dacryocystorhinostomy. In: Black EH, Nesi FA, Gladstone GJ, Levine MR, editors. Smith and nesi’s ophthalmic plastic and reconstructive surgery.3rd ed. New York: Springer; 2012. p.676-78.

Flach A. The fluorescein appearance test for lacrimal obstruction. Ann Ophthalmol. 1979; 11(2):237-42.

Saratziotis A, Emanuelli E, Gouveris H, Babighian G. Endoscopic dacryocystorhinostomy for acquired nasolacrimal duct obstruction: creating a window with a drill without use of mucosal flaps. Acta Otolaryngol. 2009;129(9):992-5.

Leong SC, Macewen CJ, White PS. A systematic review of outcomes after dacryocystorhinostomy in adults. Am J Rhinol Allergy. 2010;24(1):81-90

Keren S, Abergel A, Manor A, Rosenblatt A, Koenigstein D, Leibovitch I, et al. Endoscopic dacryocystorhinostomy: reasons for failure. Eye (Lond). 2020 ;34(5):948-53.

Hodgson N, Bratton E, Whipple K, Priel A, Oh SR, Fante RG, et al. Outcomes of endonasal dacryocystorhinostomy without mucosal flap preservation. Ophthalmic Plast Reconstr Surg. 2014;30(1):24-7.

Kingdom TT, Barham HP, Durairaj VD. Long-term outcomes after endoscopic dacryocystorhinostomy without mucosal flap preservation. Laryngoscope. 2020;130(1):12-7.

Kansu L, Aydin E, Avci S, Kal A, Gedik S. Comparison of surgical outcomes of endonasal dacryocystorhinostomy with or without mucosal flaps. Auris Nasus Larynx. 2009;36(5):555-9.

Unlu HH, Toprak B, Aslan A, Guler C. Comparison of surgical outcomes in primary endoscopic dacryocystorhinostomy with and without silicone intubation. Ann Otol Rhinol Laryngol. 2002;111(8):704-9.

Allen K, Berlin AJ. Dacryocystorhinostomy failure: association with nasolacrimal silicone intubation. Ophthalmic Surg. 1989;20(7):486-9.

Smirnov G, Tuomilehto H, Teräsvirta M, Nuutinen J, Seppä J. Silicone tubing is not necessary after primary endoscopic dacryocystorhinostomy: a prospective randomized study. Am J Rhinol. 2008;22(2):214-7.

Al-Qahtani AS. Primary endoscopic dacryocystorhinostomy with or without silicone tubing: a prospective randomized study. Am J Rhinol Allergy. 2012;26(4):332-4.

Kang MG, Shim WS, Shin DK, Kim JY, Lee JE, Jung HJ. A Systematic review of benefit of silicone intubation in endoscopic dacryocystorhinostomy. Clin Exp Otorhinolaryngol. 2018;11(2):81-8.

Mak ST, Io IY, Wong AC. Prognostic factors for outcome of endoscopic dacryocystorhinostomy in patients with primary acquired nasolacrimal duct obstruction. Graefes Arch Clin Exp Ophthalmol. 2013;251(5):1361-7.

Wanumkarng N, Nimitwongsakul A, Nimkan A, Pongpirul K. Endoscopic dacryocystorhinostomy modification techniques: a 12-year experience. J Med Assoc Thai 2019;102(7):783-8.

Cheng SM, Feng YF, Xu L, Li Y, Huang JH. Efficacy of mitomycin C in endoscopic dacryocystorhinostomy: a systematic review and meta-analysis. PLoS One. 2013;8(5):e62737.