การประยุกต์ทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบผสมผสานในการลดภาวะไขมันในเลือดของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีเมืองชุม อำเภอแม่สาย

Main Article Content

ปราณี จันธิมา
สมเกียรติ ศรีธาราธิคุณ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา


ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีเมืองชุม มีระดับไขมันความหนาแน่นต่ำในเลือดมากกว่า 160 mg/dl มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาการศึกษา ร้อยละ 88.4 มีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้องโดยเฉพาะการบริโภคอาหารและขาดการออกกำลังกาย  ผู้วิจัยซึ่งทำหน้าที่ดูแลกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวจึงสนใจที่จะหาวิธีการป้องกันและลดปัญหาไขมันในเลือดสูงในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว


วัตถุประสงค์


                ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมลดไขมันที่ประยุกต์จากทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบผสมผสานในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ


วิธีการศึกษา


เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีเมืองชุม   โดยกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ทดสอบ ก่อน-หลัง ใช้โปรแกรมลดไขมันที่ประยุกต์จากทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบผสมผสาน ในการลดระดับไขมัน 6 เดือน เปรียบเทียบก่อนและหลังการรักษาโดยใช้สถิติ Paired t-test กำหนดค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ p<= 0.05


ผลการศึกษา


กลุ่มทดลองมีการปฏิบัติเพื่อลดไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P value <.001 มีระดับไขมันในเลือดชนิดคลอเลสเตอรอล แอลดีแอลลดลง และเอชดีแอลเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value <.001


สรุปและข้อเสนอแนะ


โปรแกรมลดไขมันในเลือดที่ประยุกต์จากทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบผสมผสานสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่าง และส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Prasith-thimet T. Development promotion model of eating behavior modification in reducing too sweet, fatty and salty food. Saraburi: Saraburi Primary Health Center 2; 2008.

Fukui M, Tanaka M, Toda H, Senmaru T, Sakabe K, Ushigome E, et al. Risk factors for development of diabetes mellitus, hypertension and dyslipidemia. Diabetes Res Clin Pract. 2011;94(1):e15-8

Grundy SM, Pasternak R, Greenland P, Smith S Jr, Fuster V. Assessment of cardiovascular risk by use of multiple-risk-factor assessment equations: a statement for healthcare professionals from the American Heart Association and the American College of Cardiology. Circulation. 1999 ;100(13):1481-92.

Department of Mental Health MoPH. Chronic illness patients are more at risk of getting major depressive disorder [Internet]. Bangkok: ThaiHealth Promotion Foundation; 2014 [updated November 14; cited 2021 July 29]. Available from: https://www.thaihealth.or.th/health content/26480.

Hanujarearnkul S. Chronic illnesses: challenging in nurse's professional. In: Jitjarern A, editor. Under his graciousness: Ramathibodi for health of the people. Bangkok: Beyond Enterprise; 2007. p. 106-9

Grundy SM, Cleeman JI, Merz CN, Brewer HB Jr, Clark LT, Hunninghake DB, et al. Implications of recent clinical trials for the National Cholesterol Education Program Adult Treatment Panel III guidelines. Circulation. 2004;110(2):227-39.

Ngamumoso P, Koanantakul B, Srithara P, Hengrussamee K, Phanthumchinda K, Nitinant S, et al. Guidelines for management of dyslipidemia. Royal College Bulletin. 2015;19(6)15-33.

Gau GT, Wright RS. Pathophysiology, diagnosis, and management of dyslipidemia. Curr Probl Cardiol. 2006;31(7):445-86.

Pensirinapa N. Empowerment for Changing Cardiovascular Risk Behavior, Concepts and Practice. 3rd ed. Bangkok: Charansanitwong Printing; 2011.

Summary of Elderly Health Information in 2019 [Internet]. Srimuangchum Sub-District Health Promoting Hospital; 2019 [Cited 2019 September 30]. Available from: https://cri.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=6966b0664b8980.

Resnicow K, McMaster F, Bocian A, Harris D, Zhou Y, Snetselaar L, et al. Motivational interviewing and dietary counseling for obesity in primary care: an RCT. Pediatrics. 2015;135(4):649-57.

Srisa-ard B. Thesis control scheme, project of research institute and development in teaching and learning. Mahasarakham: Srinakharinwirot; 2008.

Chantavanich S. Qualitative Data Analysis. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2013

Bandura A. Self-efficacy: toward a unifying theory of behavioral change. Psychol Rev. 1977 ;84(2):191-215.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in nursing practice. 5th ed. Jurong: Pearson; 2006.

Manual for UCS Fund Management for Fiscal Year 2002 Vol. 4. Bangkok: National Health Security Office; 2002.