การฟื้นฟูแผลกดทับของการทำแผลสมัยใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หรืออุบัติเหตุจนการเป็นผู้ป่วยติดเตียง ทำให้เกิดผลเสียกับคุณภาพชีวิตของอาสาสมัคร และผู้ดูแลเอง โดยหากมีแผลกดทับแล้ว การทำแผลคือหนึ่งในการดูแลที่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวด และใช้เวลานานในการฟื้นฟู ในปัจจุบันได้มีวัสดุในการทำแผลแบบใหม่นำเข้าใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น แต่เนื่องด้วยทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดทั้งด้ายสาธารณสุข และเศรษฐกิจ ทำให้การทำแผลแบบใหม่ในเขตชนบทยังมีข้อสงสัยมากมายถึงประสิทธิภาพ และความเป็นไปได้ของมัน
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพและการดูแลแผลกดทับด้วยการทำแผล Modern dressing และแสดงระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยติดเตียงและครอบครัวในการทำแผล Modern dressing
วิธีการศึกษา
เป็นงานวิจัยพรรณนาเชิงสังเกตุการณ์ ในกลุ่มอาสาสมัครติดเตียงที่มีแผลกดทับระดับ 3-4 ในเขตโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเชียงราย โดยมีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมทั้งหมด 5 แห่ง และอาสาสมัครเข้าร่วมทำแผลทั้งหมด 8 ราย โดยจะได้รับการทำแผล Modern dressing จากพยาบาลที่ได้รับการอบรมการทำแผล และประเมินร่างกายทั้งก่อน ระหว่าง และหลังเข้าวิจัยแล้ว ระยะเวลา 90 วัน ซึ่งจะสรุปการติดตามการทำแผลเป็นช่วง 60 วัน และทั้งหมด 90 วัน
ผลการศึกษา
อาสาสมัครทั้ง 8 ราย มี 6 รายที่ยังสามารถทำแผลอย่างต่อเนื่องจนครบ 60 วันแรก และยังสามารถทำแผลต่อไปได้ 5 รายมีความก้าวหน้าในการฟื้นฟูแผลกดทับไปในทางที่ดีขึ้น และไม่พบภาวะติดเชื้อ หรืออักเสบในแผลดังกล่าว แต่มี 3 รายที่ต้องยุติการเก็บข้อมูล เนื่องจากระยะเวลาระหว่างการทำแผลนานเกินเกณฑ์ เสียชีวิตจากโรคหลักของอาสาสมัคร และผู้ดูแลขอปฏิเสธการทำแผลต่อไปเนื่องจากความกังวลในการทำแผล
สรุปและข้อเสนอแนะ
การทำแผล Modern dressing ก่อให้เกิดประโยชน์แก่อาสาสมัครทั้งด้านการฟื้นฟูแผลที่ดีขึ้น แม้สภาวะร่างกายไม่เอื้อต่อการฟื้นฟูแผล ลดความถี่ของการทำแผล และเพิ่มความพึงพอใจในการทำแผลแบบใหม่ ซึ่งทำให้อาสาสมัครและผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นแนวทางในการจัดตั้งระบบการดูแลแผลผู้ป่วยในเขตจังหวัดเชียงราย ในเชิงข้อมูลเชิงประจักษ์ได้
Article Details
References
2. Hassan Ravari, Mohammad Hadi Saeed Modaghegh, Gholam Hosein Kazemzadeh, Hamed Ghoddusi Johari, Attieh Mohammadzadeh Vatanchi, Abolghasem Sangaki, et al. Comparison of Vacuum-assisted closure and moist wound dressing in the treatment of Diabetic foot ulcers. Journal of cutaneous and aesthetic surgery 2013[Internet];3:17-20. Available from: https://www.jcasonline.com/article.asp?issn=0974-2077;year=2013;volume=6;issue=1;spage=17;epage=20;aulast=Ravari
3. Dr.Anuwat Supachutikul, The Healthcare Accreditation Insititute at The Healthcare Accreditation Institute. Value Based Healthcare. Disease Specific Certification Workshop; 27 Nov 2019, HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center, Nakornnayok: University; 2562.
4. Matthew Pompeo. Implementing the PUSH Tool in Clinical Practice: Revisions and Result. Ostomy Wound Manage. 2003;49(8):32-46. Available from : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14631662
5. Daradkeh G , Essa MM , Al-Mashaani A, Al-Adawi S , Arabawi S, Amiri R and Al-Barashdi J, (2018) Malnutrition Indicators Which is More Predictive? Nutrition Risk Index (NRI) or Malnutrition Universal Screening Tool (MUST). J Clin Nutr Metab 2:2[internet]. 2018[cited 2020 Feb 20];.available from: https://www.scitechnol.com/peer-review/malnutrition-indicators-which-is-more-predictive-nutrition-risk-index-nri-or-malnutrition-universal-screening-tool-must-qOzi.php?article_id=7853
6. Rath Punyowat, Value-based Health Care, the future of health care service[Internet].2017 [cited 2020 Feb 13]. Available from: https://rath.asia/2017/07/value-based-health-care/
7. Julian F Guest, Graham W Fuller, Peter Vowden and Kathryn Ruth Vowden.Cohort study evaluating pressure ulcer management in clinical practice in the UK following initial presentation in the community: costs and outcomes.BMJ Open 2018[Internet];2. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6067374/