บทความฟื้นฟูวิชาการ เรื่อง การบริบาลทางเภสัชกรรมในโรคผิวหนังอักเสบ

Main Article Content

นทพร ชัยพิชิต

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ                

โรคผิวหนังอักเสบเป็นภาวะความผิดปกติของระบบผิวหนังที่พบได้บ่อยในทางเวชปฏิบัติ พยาธิกำเนิดของโรคเกี่ยวข้องกับการสูญเสียการทำงานด้านการปกป้องของผิวหนังชั้นนอกร่วมกับกระบวนการอักเสบที่เกิดบริเวณผิวหนังชั้นนอกและผิวหนังชั้นใน โดยพบว่าโรคผิวหนังบางโรคมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางด้านพันธุกรรม และอาจมีปัจจัยภายนอกส่งเสริมให้เกิดโรค เช่น การสัมผัสสารที่ทำให้เกิดการแพ้หรือระคายเคือง การติดเชื้อรา ประสิทธิภาพในรักษาโรคผิวหนังอักเสบขึ้นอยู่กับการประเมินระยะการดำเนินโรคของผื่นซึ่งมีความสำคัญต่อการเลือกวิธีการดูแลรักษาโรคอย่างเหมาะสม โดยผื่นระยะเฉียบพลันมีรอยโรคเบื้องต้นเป็นผื่นแดง ร่วมกับตุ่มน้ำอาจมีน้ำเหลืองเยิ้ม และมีอาการคันมาก ตามแนวทางการรักษาแนะนำให้ใช้ยารับประทานกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ร่วมกับการทำแผลแบบเปียกเพื่อลดการอักเสบและบรรเทาอาการคัน ผื่นระยะกึ่งเฉียบพลันที่เริ่มแห้ง มักมีขุยละเอียดและอาจพบลักษณะผื่นระยะเฉียบพลันร่วมด้วยนั้น อาจพิจารณาให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกที่มีความแรงและรูปแบบผลิตภัณฑ์เหมาะสมกับผิวหนังบริเวณรอยโรคเพื่อควบคุมอาการของโรค ส่วนการรักษาผื่นระยะเรื้อรังที่มักพบผิวหนังเป็นปื้นหนา แห้ง มีรอยริ้วผิวหนังที่ชัดเจน และมีอาการคันระดับปานกลางถึงมากควรให้การรักษาด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกร่วมกับการทำแผลชนิดปกปิดเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณรอยโรคและทำให้การดูดซึมยาดีขึ้น ยาอื่นที่ใช้ในการรักษาโรคผิวหนังอักเสบ ได้แก่ ยากลุ่มยับยั้งแคลซินูรินที่ลดการอักเสบโดยลดการเหนี่ยวนำทีลิมโฟไซต์ ยายับยั้งตัวรับฮีสตามีนชนิดที่ 1 และยาปฏิชีวนะสำหรับรักษาการติดเชื้อสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส นอกจากนี้ควรแนะนำให้ผู้ป่วยอาบน้ำอุ่นในระยะเวลาไม่เกิน 10 นาที และใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณผิวหนังเพื่อป้องกันอาการผิวแห้งซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการกำเริบของโรคได้

Article Details

บท
บทความฟื้นฟูวิชาการ