ผลการเรียนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้ ความมั่นใจ และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่สองในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อวางแผนจำหน่ายก่อนกลับบ้านของผู้ป่วย ที่ใส่ท่อหลอดลมคอและผู้ดูแล

ผู้แต่ง

  • ศรีสุนทรา เจิมวรพิพัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ลฎาภา ดีไมล์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ศิริพร ชุนฉาย โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพ

คำสำคัญ:

สื่อวีดิทัศน์ , ความรู้, ความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาล , นักศึกษาพยาบาล , การดูแลผู้ป่วยเจาะคอ

บทคัดย่อ

บทนำ: การใช้สื่อวีดิทัศน์ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยส่งเสริมความรู้ ความมั่นใจและทักษะทางคลินิกของผู้เรียน

วัตถุประสงค์การวิจัย:เพื่อเปรียบเทียบ 1.คะแนนความรู้ ความมั่นใจหลังเรียนระหว่างนักศึกษาพยาบาลกลุ่มควบคุมที่เรียนตามปกติและกลุ่มทดลองที่เรียนตามปกติควบคู่กับการใช้สื่อวีดิทัศน์ 2. คะแนนความรู้ ความมั่นใจ ก่อนและหลังเรียนในกลุ่มทดลอง และ 3. ความพึงพอใจของกลุ่มทดลองต่อสื่อวีดิทัศน์

ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) ประเภทสองกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง (two group controlled pre-posttest design) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปี 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและทดลองกลุ่มละ 40 คนที่มีความเท่าเทียมกันในเรื่อง เกรดเฉลี่ย เพศ อายุ เครื่องมือ คือ 1) สื่อวีดิทัศน์เรื่องการดูแลท่อหลอดลมคอสำหรับผู้ป่วยหรือผู้ดูแลก่อนจำหน่ายกลับบ้าน 2) แบบสอบถามจำนวน 4 ชุด คือ 2.1 )แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2.2) แบบทดสอบความรู้ 2.3) แบบประเมินความมั่นใจ และ 2.3) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วย Paired t-test และ Independent t-test

ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมี 1. คะแนนเฉลี่ยความรู้และความมั่นใจหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 5.00, P<.001) 2. ความรู้และความมั่นใจของกลุ่มทดลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-14.60, P<.001 และ t=-10.07, P <.01 ตามลำดับ) 3. ความพึงพอใจของกลุ่มทดลองต่อสื่อวีดิทัศน์ อยู่ในระดับสูง ( gif.latex?\bar{x}= 54.23, SD= 4.55) ด้านที่มากสุด คือ การนำไปใช้ ( gif.latex?\bar{x}= 4.73, SD=0.45) รูปแบบ (gif.latex?\bar{x} = 4.59, SD=0.55) เนื้อหา ( gif.latex?\bar{x}= 4.53, SD=0.49) และส่วนประกอบ (gif.latex?\bar{x} = 4.35, SD=0.66) ตามลำดับ

สรุปผล: การใช้สื่อวีดิทัศน์ประกอบการเรียนนี้ช่วยให้นักศึกษาเพิ่มความรู้ ความมั่นใจและนำไปใช้เพื่อทบทวนด้วยตนเอง เป็นการเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาล

ข้อเสนอแนะ: ควรนำสื่อวีดิทัศน์นี้ให้นักศึกษาใช้เตรียมความพร้อมผู้ป่วย/ผู้ดูแลที่เจาะคอ และทำวิจัยทดสอบประสิทธิผลของสื่อต่อทักษะการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่เจาะคอ/ผู้ดูแล

Downloads

Download data is not yet available.

References

Mohammadi N, Farahani M, Vatandost S. Effect of videotape for home instruction on the quality of life of tracheostomy patients: A randomized clinical trial. Journal of Medicine and Life 2015;8(4):287–94.

Wattanachai P, Yingrengreung S. The development of video lesson on nasopharyngeal and oral suction in children for nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. Journal of Health and Nursing Research 2019;35(2):210-23.

Pinar G, Akalin A, Abay H. The effect of video based simulation training on neonatal examination competency among Turkish Nursing Students. Emerging Science Journal 2016;12(15):394-405.

Bandura A. Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. New Jersey: Prentice Hall; 1986. [cited 2023 April 4]. Available from: https://psycnet.apa.org/record/1985-98423-000

Chumjamras K, Singchungchai P. The effects of discharge planning program with a family participation on caregiver's capacity of knowledge in caring for patients with tracheostomy and caregiver's satisfaction at the eye, ear, nose, throat ward of Songkhla Hospital. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2018;5(1):124-34.

Kaewthamrong S, Hakom N. Nurse’s roles in caring for patients with tracheostomy in intensive care. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University 2020;28(4):114-23.

Jungpanich A, Srisailaun O. Effects of using daily care plan video teaching on clinical self-confidence and satisfaction of nursing students, Kuakarun Faculty of Nursing, Navamindradhiraj University. Kuakarun Journal of Nursing 2015;22(1):17-34.

Hedges L, Olkin I. Statistical methods for meta-analysis. London: Academic Press; 1985. [cited 2023 April 4]. Available from: https://www.academia.edu/17621684/Statistical_Methods _for_Meta_Analysis

Homsombut Y, Khakhuen S, White J, Jittasusuttho J, Kerdchuen K, Aunprom-me S. Efficiency of an instructional video on eye care used in the course of persons with health problem practicum II in Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Ratchasima. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2020;7(2):51-64.

Lamchang S, Suklerttrakul T, Lamchang P. Development of pediatric medication administration multimedia for nursing students. Nursing Journal 2019;46(1):114-25.

Suddaen P, Srijaiwong S, Muangliang S, Kosai N, Visitgoson J. Development of the video media to enhance childbirth skills in the maternal and newborn nursing and midwifery I subject among nursing students, Boromarajonani College of Nursing. Uttaradit Journal of Nursing and Health Science Research 2022;14(2):265-83.

Fiorella L, Stull AT, Kuhlmann S, Mayer RE. Instructor presence in video lectures: The role of dynamic drawings, eye contact, and instructor visibility. journal of educational psychology 2019;111(7):1162–71. doi: 10.1037/edu0000325

Azizan A, Hor CP, Abd Razak R, Puang S, Ahmad S, Bahakodin NA, et al. Post-operative tracheostomy care in an intensive care unit. The Online Journal of Clinical Audits. 2016;8(2):1-6. [cited 2023 April 4]. Available from: https://typeset.io/papers/assessment-on-basic-post-operative-tracheostomy-care-in-19p74frkg7

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-28