https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/issue/feed วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) 2024-04-23T20:03:55+07:00 Dr. Yupaporn Tirapaiwong [email protected] Open Journal Systems <p> <strong>วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล</strong> เป็นวารสารของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ เดิมชื่อ <strong>วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ</strong> เริ่มจัดทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2527 เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ และได้ดำเนินการเผยแพร่วารสารทางการพยาบาลฉบับแรก เมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ มีกระบวนการให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาตรวจสอบก่อนการเผยแพร่ (Peer-reviewed journal) ต่อมาในปีพ.ศ. 2562 (ฉบับที่ 2 ปีที่ 35) ได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อเป็น <strong>วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล </strong>เนื่องจากมีการขยายขอบเขตการเผยแพร่บทความรวมทั้งทางด้านการพยาบาลและสุขภาพ วารสารได้มีการพัฒนาคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง และได้รับการประเมินคุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย อยู่ในวารสารกลุ่มที่ 1 (TCI 1) สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตั้งแต่การประเมินรอบที่ 1 จนถึงปัจจุบัน (รอบที่ 4 พ.ศ. 2563 – 2567)</p> <p> วารสารรับพิจารณาบทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านการพยาบาล การศึกษาพยาบาล วิชาชีพด้านสุขภาพ ระบบสุขภาพและสุขภาพของประชาชน โดยมีกำหนดการเผยแพร่วารสารปีละ 3 ฉบับ คือ</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน </p> <p> ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม </p> <p> ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <ol> <li class="show">เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง</li> <li class="show">เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนความรู้และระสบการณ์ทางการพยาบาล การศึกษา และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง</li> <li class="show">เป็นแหล่งเสนอผลงานวิชาการของบุคลากรสุขภาพ</li> </ol> <p><strong>ขอบเขตของบทความที่รับพิจารณาเพื่อการเผยแพร่</strong></p> <ol> <li class="show"><strong>องค์ความรู้หรือข้อมูลความรู้ทางด้านสุขภาพ </strong>ประกอบด้วยองค์ความรู้ สาระหรือข้อมูลความรู้ทางด้านสุขภาพและการสาธารณสุข รวมทั้งระบบสุขภาพ นโยบายทางด้านสุขภาพ กำลังคนด้านสุขภาพ ปัญหาสุขภาพ และการดูแลสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชน</li> <li class="show"><strong>องค์ความรู้หรือข้อมูลความรู้ทางด้านพยาบาล </strong>ประกอบด้วยองค์ความรู้ สาระหรือข้อมูลความรู้ทางด้านการพยาบาลและการศึกษาพยาบาล รวมทั้งนโยบายทางด้านการพยาบาล การบริหารการพยาบาลมาตรฐานการพยาบาล ผลลัพธ์ทางการพยาบาล แนวปฏิบัติการพยาบาล หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล นวัตกรรมทางการพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การพยาบาลเฉพาะสำหรับบุคคล ครอบครัว และชุมชน และกรณีศึกษาทางการพยาบาล</li> </ol> <p><strong>ประเภทของบทความที่รับพิจารณาเพื่อการเผยแพร่</strong></p> <ol> <li class="show"><strong>บทความวิจัย (</strong><strong>Research article)</strong> เป็นบทความที่เขียนเกี่ยวกับการรายงานการศึกษาวิจัยทางการพยาบาล หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ผู้นิพนธ์เป็นผู้ดำเนินการวิจัย หรือศึกษาค้นคว้า ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณหรือการวิจัยเชิงคุณภาพ รวมถึงการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systemic review) </li> <li class="show"><strong>บทความวิชาการ (</strong><strong>Academic article)</strong> เป็นบทความที่ผู้นิพนธ์เขียนเรียบเรียงสาระความรู้วิชาการทางด้านการพยาบาล หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเแล้วนำมากลั่นกรอง วิเคราะห์ และหรือสังเคราะห์โดยผู้นิพนธ์ หรือการเขียนวิพากษ์วิจารณ์เปรียบเทียบข้อความรู้เพื่อให้เกิดความกระจ่าง (Review article) รวมทั้ง การวิเคราะห์กรณีศึกษาทางด้านการพยาบาลหรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ</li> </ol> <p><strong>ขอบเขต (</strong><strong>Scopes) ที่รับตีพิมพ์</strong></p> <p><strong> </strong>องค์ความรู้ ด้านการพยาบาล สาธารณสุข ระบบสุขภาพ และการศึกษาพยาบาล หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาตรวจสอบก่อนการเผยแพร่โดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer</strong><strong>-Review</strong><strong>ed Process</strong><strong>) </strong></p> <p>บทความที่ผู้นิพนธ์ส่งมาพิจารณา ถ้าดำเนินการตามคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับและมีมาตรฐานเพียงพอ จะได้รับการประเมินแบบไม่เปิดเผยตัวตนสองทาง (Double-blind review) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน จากหลากหลายสถาบัน</p> <p>ISSN 2697-5041 (Online)</p> <p>ISSN 2730-1893 (Print)</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> <p>การตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล กำหนดให้ผู้นิพนธ์ต้องชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</p> <table style="height: 64px;" width="263"> <tbody> <tr> <td class=""><strong>บทความภาษาไทย</strong></td> <td><strong>4,000 บาท</strong></td> </tr> <tr> <td><strong>บทความภาษาอังกฤษ</strong></td> <td><strong>6,000 บาท</strong></td> </tr> </tbody> </table> <p><span class="OYPEnA text-decoration-none text-strikethrough-none">โดยชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ หลังจากได้รับการประเมินเบื้องต้น </span><span class="OYPEnA text-decoration-none text-strikethrough-none">จากกองบรรณาธิการแล้วว่าสามารถตีพิมพ์ได้ </span></p> <p><span class="OYPEnA text-decoration-none text-strikethrough-none"><strong>หมายเหตุ:</strong> ทั้งนี้ทางวารสารไม่การันตีว่าบทความของท่านจะได้รับการตีพิมพ์ เเละหากไม่ได้รับการตีพิมพ์</span><span class="OYPEnA text-decoration-underline text-strikethrough-none">เมื่อชำระเงินแล้ว วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์การคืนเงินให้ผู้นิพนธ์ทุกกรณี</span></p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/270649 บทบรรณาธิการ 2024-04-23T20:03:55+07:00 ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์ [email protected] 2024-04-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/266191 ผลของการใช้รูปแบบพัฒนาศักยภาพสมองโดยทีมสหวิชาชีพสำหรับผู้สูงอายุที่มี ภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย ในสถานดูแลผู้สูงอายุเฉพาะกลางวันในเขตเมือง 2024-01-29T09:45:18+07:00 พนารัตน์ วิศวเทพนิมิตร [email protected] สุทธานันท์ กัลกะ [email protected] เจียมใจ ศรีชัยรัตนกูล [email protected] นิภาพร อภิสิทธิวาสนา [email protected] พิมพ์รัตน์ ธรรมรักษา [email protected] กัลปังหา โชสิวสกุล [email protected] นิติกุล ทองน่วม [email protected] ฐิตินันท์ นาคผู้ [email protected] ภาณุสิทธิ์ หวันมะหมุด [email protected] <p><strong>บทนำ: </strong>ภาวะรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยนำไปสู่การเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ การชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อมทำได้โดยการกระตุ้นการรู้คิด</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย: </strong>เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพสมองโดยทีมสหวิชาชีพต่อ การรู้คิด การดำเนินชีวิตประจำวัน ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในสถานดูแลผู้สูงอายุเฉพาะกลางวันในเขตเมือง </p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย: </strong>การวิจัยกึ่งทดลองแบบเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม และประเมินผลก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันทีและติดตามผล 1 เดือนหลังการทดลอง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มทดลองจำนวน 13 คน เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในสถานดูแลผู้สูงอายุเฉพาะกลางวันและได้รับรูปแบบพัฒนาศักยภาพสมองจำนวน 6 ครั้งๆ ละ 3 ชั่วโมง ทุก 2 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมจำนวน 14 คนได้รับการดูแลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินภาวะการรู้คิด การดำเนินชีวิตประจำวัน ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา, Friedman test, Wilcoxon signed rank test, และ Mann-Whitney U-test</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยภาวะการรู้คิดหลังการทดลองและระยะติดตามผล 1 เดือน สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มในระยะหลังการทดลองและติดตามผล 1 เดือน พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยภาวะการรู้คิดดีขึ้น และมีความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีค่าเฉลี่ยการดำเนินชีวิตประจำวันลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>รูปแบบการพัฒนาศักยภาพสมองสำหรับผู้ที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยช่วยให้ภาวะการรู้คิดดีขึ้น และความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าลดลง</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ: </strong>ผู้บริหาร พยาบาลและทีมสหวิชาชีพในสถานดูแลผู้สูงอายุเฉพาะกลางวันในเขตเมืองควรจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพสมองให้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยอย่างต่อเนื่อง</p> 2024-04-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/266654 ผลของโปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณวิถีพุทธ ต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน 2023-11-03T15:34:57+07:00 ธิสาชล ธันยาวราธร [email protected] อรอุมา แก้วเกิด [email protected] ไพรวัลย์ โคตรตะ [email protected] <p><strong>บทนำ: </strong>ความผาสุกทางจิตวิญญาณเป็นเป้าหมายสำคัญของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และมีผลต่อสุขภาวะของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน </p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย: </strong>เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณวิถีพุทธ ต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย: </strong>เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental research) ชนิดกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังทดลอง กลุ่มตัวอย่างวิจัย คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน อายุ 25 - 59 ปี จำนวน 31 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความผาสุกทางจิตวิญญาณ และโปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณวิถีพุทธ ความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง .67 - 1.00 และความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความผาสุกทางจิตวิญญาณมีค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาเท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าคะแนนกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมด้วยสถิติ Dependent t-test</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแล พบว่า คะแนนเฉลี่ยความผาสุกทางจิตวิญญาณหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณวิถีพุทธ (M = 4.54, SD = .32) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (M = 2.23, SD = .52) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 30.48, 95% CI 2.09 - 2.40, p &lt; .001)</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>โปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณวิถีพุทธสามารถส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณให้กับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ: </strong>พยาบาลควรช่วยส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองในชุมชน เช่น การนั่งสมาธิ สวดมนต์ ไหว้พระ การร่วมพิธีกรรมทางศาสนา การหาต้นแบบ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้</p> 2024-04-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/265192 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่ตำบลบ้านปึก อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 2023-09-07T18:20:49+07:00 จุฑาทิพย์ เอมเปีย [email protected] อรรัตน์ หวั่งประดิษฐ [email protected] โนรฟีรเดาห์ สี่สตางค์ [email protected] ประภัสสร ไทยนอก [email protected] <p><strong>บทนำ: </strong>ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ การค้นหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารจึงมีความสำคัญ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย: </strong>เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย:</strong> การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เป็นการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่ตำบลบ้านปึก จำนวน 213 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ด้วยแบบสอบถามการรับรู้ตามแนวคิดความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบประเมินพฤติกรรม การรับประทานอาหารเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราคเท่ากับ .79 และ .71 ตามลำดับ และแบบสอบถามความรู้ที่มีค่าความเที่ยงด้วยวิธีของคูเดอร์-ริชาร์ด (KR-20) เท่ากับ .58 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Multiple linear regression</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับปฏิบัติเป็นบางครั้ง ร้อยละ 99.50 โดยปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05) ได้แก่ ความรู้เรื่องการรับประทานอาหาร การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ อุปสรรคของโรคความดันโลหิตสูง และการรับรู้ถึงประโยชน์ของการรับประทานอาหารเฉพาะโรค โดยทุกปัจจัยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ร้อยละ 23.50 (R square = .235, p&lt;.001)</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยการรับรู้ตามแนวคิดความเชื่อด้านสุขภาพสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ: </strong>เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรสาธารณสุขควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการรับรู้ทางสุขภาพแก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพื่อให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมมากขึ้น</p> 2024-04-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/266628 ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุต่อมลูกหมากโต 2023-10-25T14:00:31+07:00 ดุสิต สกุลปิยะเทวัญ [email protected] ศิริรัตน์ ปานอุทัย [email protected] จิตตวดี เหรียญทอง [email protected] <p><strong>บทนำ:</strong> การจัดการตนเองที่เหมาะสมในผู้สูงอายุต่อมลูกหมากโตจะช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวันร่วมกับโรคเรื้อรังได้ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นผ่านการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ </p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย:</strong> เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุต่อมลูกหมากโตและความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการจัดการตนเองในผู้สูงอายุต่อมลูกหมากโต</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย:</strong> การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 84 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นต่อมลูกหมากโตระดับรุนแรงเล็กน้อยถึงรุนแรงปานกลาง และยังไม่ได้รับการผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการเจ็บป่วย แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุต่อมลูกหมากโต และแบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุต่อมลูกหมากโต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> ผู้สูงอายุต่อมลูกหมากโตมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเอง อยู่ในระดับปานกลางและความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการตนเองในผู้สูงอายุลูกหมากโต ในระดับปานกลาง (r = .422) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p><strong>สรุปผล:</strong> กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่ความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับวิจารณญาณอาจยังไม่เพียงพอ ขาดทักษะในการคิดวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูลรวมถึงทักษะในการตัดสินใจในการนำข้อมูลด้านสุขภาพไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพ</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ:</strong> ผลการศึกษาวิจัยนี้บุคลากรทางด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการวางแผนการดำเนินการเพื่อส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุต่อมลูกหมากโตผ่านการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อไป</p> 2024-04-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/266868 ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน หลังหายป่วยเป็นโควิด-19 อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี 2023-12-12T11:30:48+07:00 สุปราณี พรหมสุขันธ์ [email protected] นภาเพ็ญ จันทขัมมา [email protected] ปิยะธิดา นาคะเกษียร [email protected] <p><strong>บทนำ:</strong> การสนับสนุนให้ผู้ป่วยฟื้นฟูสมรรถนะปอดและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายด้วยตนเองหลังหายป่วยด้วยโควิด-19 จะช่วยลดภาวtแทรกซ้อนหลังหายป่วยได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย: </strong>เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังการป่วยด้วยโควิด-19 และสถานะสุขภาพหลังหายป่วยด้วยโควิด-19</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย:</strong> การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ของตำบลไร่สะท้อน ที่มีประวัติการติดเชื้อโควิด-19 หลังกักตัวครบ 10 วันและไม่เกิน 28 วัน มีคะแนนความเหนื่อยล้า 2 คะแนนขึ้นไป แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง เป็นโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังหายป่วยเป็นโควิด-19 ใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน Line OA โดยพัฒนาจากแนวคิดการจัดการตนเอง เก็บรวบรวบข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังการป่วยเป็นโควิด-19 และแบบประเมินสถานะสุขภาพหลังป่วยโควิด-19 (Post-COVID Functional Status: PCFS) ระยะการศึกษา 8 สัปดาห์ กิจกรรมประกอบด้วย 1) การตั้งเป้าหมาย 2) การกำกับตนเอง 3) การประเมินตนเอง และ 4) การเสริมแรงตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติทดสอบวิลคอกซอลซายน์แรงค์ และสถิติทดสอบ<br />แมนวิทนีย์ยู</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>พบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน หลังหายป่วยเป็นโควิด-19 สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองมีสถานะสุขภาพหลังป่วยโควิด-19 ดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05</p> <p><strong>สรุปผล:</strong> โปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังหายป่วยเป็นโควิด-19 สามารถนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพหลังหายป่วยเป็นโควิด-19 ให้ดีขึ้นได้</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ:</strong> หน่วยงานด้านสาธารณสุขสามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้ในการสนับสนุนการป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังป่วยเป็นโควิด-19 ได้</p> 2024-04-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/265434 ปัจจัยทำนายความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับการป้องกัน พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น 2023-10-20T14:23:07+07:00 มณีรัตน์ เทียมหมอก [email protected] พิมพ์รัตน์ ธรรมรักษา [email protected] <p><strong>บทนำ:</strong> วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่เชื่อมต่อระหว่างวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่ สามารถเข้าถึงสื่อต่าง ๆ ได้ง่าย ทั้งนี้กระทรวงสาธาณสุขของไทย ให้ความสำคัญกับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน เป็นตัวชี้วัดสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมสุขภาพ ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย:</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย:</strong> ใช้แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงคาดการณ์ โดยมีความรอบรู้ทางสุขภาพเป็นปัจจัยเสี่ยง เก็บข้อมูลจากนักเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 275 คน เก็บข้อมูลในเดือน ธันวาคม 2564 – มีนาคม 2565 โดยใช้แบบประเมิน ที่ปรับจากแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างด้วยไคสแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> พบว่า วัยรุ่นส่วนใหญ่มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับค่อนข้างมาก (ร้อยละ 62.90) มีการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศอยู่ในระดับค่อนข้างดี (ร้อยละ 50.50) ซึ่งความรอบรู้ทางสุขภาพมีความสัมพันธ์กับการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;.05) ทั้งนี้ตัวแปรร่วมทำนายการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นมี 5 ตัวแปรที่นัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 16.10</p> <p><strong>สรุปผล:</strong> ตัวแปรร่วมทำนายการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น ได้แก่ เพศ การใช้สาร และสิ่งเสพติด การรับรู้ภาวะสุขภาพร่างกายและจิตใจ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ และการรู้เท่าทันสื่อ</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ:</strong> ผลการศึกษาสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น โดยนำไปขยายผล เช่น การส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ เพื่อลดผลกระทบจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น</p> 2024-04-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/266576 ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ ต่อภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกในระยะคลอด 2024-01-03T11:20:19+07:00 เกษร โตแสง [email protected] ปณัชช์ฐิตา ขุนบุญยัง [email protected] <p><strong>บทนำ:</strong> ผู้คลอดที่มีดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ (pre-BMI) และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ (GWG) ที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของ Institute of Medicine (IOM) อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในมารดาและทารก</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย:</strong> 1) ศึกษา pre-BMI และ GWG 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของ pre-BMI และ GWG ต่อภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกในระยะคลอด</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย:</strong> การศึกษาแบบย้อนหลังจากข้อมูลทุติยภูมิของผู้คลอดครรภ์เดี่ยวที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนก่อนการตั้งครรภ์ จำนวน 3,614 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของสเปียร์แมนและการวิเคราะห์พหุตัวแปร กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ p &lt;.05</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> BMI มีความสัมพันธ์ทางบวกกับอายุครรภ์และน้ำหนักทารกแรกเกิด โดย pre-BMI ที่ผิดปกติ มีความสัมพันธ์กับการผ่าตัดคลอดบุตร pre-BMI เกินเกณฑ์และภาวะอ้วนมีความสัมพันธ์กับภาวะ GDMA1 โดยกลุ่มภาวะอ้วนมีความสัมพันธ์กับภาวะ GDMA2 ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะตกเลือดหลังคลอด และการเสียชีวิตในทารกแรกเกิด นอกจากนี้พบว่า GWG มีความสัมพันธ์ทางบวกกับน้ำหนักทารกแรกเกิดและอายุครรภ์ยกเว้น GWG ในกลุ่ม BMI เกินเกณฑ์ โดย GWG ที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของ IOM มีความสัมพันธ์กับการผ่าตัดคลอดบุตร GWG เกินกว่าเกณฑ์ มีความสัมพันธ์กับภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงและภาวะศีรษะไม่ได้สัดส่วนกับอุ้งเชิงกราน ส่วน GWG ต่ำกว่าเกณฑ์ มีความสัมพันธ์กับภาวะพร่องออกซิเจนในครรภ์</p> <p><strong>สรุปผล:</strong> ผู้คลอดมี pre-BMI ผิดปกติ 2 ใน 4 และมี GWG ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ IOM กำหนด 2 ใน 3 และพบมีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกในระยะคลอด </p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ:</strong> พยาบาลผดุงครรภ์และสหสาขาวิชาชีพควรร่วมกันวางแผนในการเตรียมความพร้อมสตรี ก่อนตั้งครรภ์ให้มี BMI ที่เหมาะสมและกำหนด GWG ให้เหมาะสมในแต่ละราย</p> 2024-04-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/265853 ประสบการณ์การเผชิญความวิตกกังวลของสตรีตั้งครรภ์ในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโคโรนาไวรัส (โควิด-19) 2024-01-29T09:40:27+07:00 อัจฉรา ชัยชาญ [email protected] ชนกพร ศรีประสาร [email protected] <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> ความวิตกกังวลของสตรีตั้งครรภ์ในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ดังนั้นการทำความเข้าใจโดยการศึกษาเชิงลึกถึงประสบการณ์การเผชิญความวิตกกังวล จึงมีความสำคัญ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> วิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การเผชิญความวิตกกังวลของสตรีตั้งครรภ์ในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>:</strong> ใช้รูปแบบการศึกษาตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาของ Edmund Husserl ผู้ให้ข้อมูลเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มารับบริการ ณ คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จ.มหาสารคาม จำนวน 17 ราย เลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก ระหว่างเดือนธันวาคม 2565 ถึงพฤษภาคม 2566 ใช้เวลาสัมภาษณ์แต่ละครั้งประมาณ 45-60 นาที นำข้อมูลการสัมภาษณ์มาถอดข้อมูลคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามหลักการของ Colaizzi</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong><em>:</em></strong> พบประเด็นหลัก 5 ประเด็น คือ 1) ความหมายของการเผชิญความวิตกกังวลในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ของสตรีตั้งครรภ์ หมายถึง การลดความวิตกกังวล 2) การแสวงหาความรู้ มี 4 ประเด็นย่อย คือ (1) ค้นหาความรู้จากอินเทอร์เน็ต (2) ใช้สื่อสังคมออนไลน์ (3) สอบถามสูติแพทย์ (4) สอบถามเพื่อน 3) ปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 4) ผ่อนคลายความวิตกกังวล<strong> </strong>มี 4 ประเด็นย่อย คือ (1) พยายามไม่คิดมาก (2) ระบายความวิตกกังวลกับครอบครัว (3) ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาพุทธ (4) ฟังเพลง 5) ความวิตกกังวลลดลง</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong><em>:</em></strong> สตรีตั้งครรภ์มีการเผชิญความวิตกกังวลโดยการแสวงหาความรู้ การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 และผ่อนคลายความวิตกกังวล</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>:</strong> ผลการวิจัยทำให้เข้าใจถึงประสบการณ์การเผชิญความวิตกกังวลของสตรีตั้งครรภ์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 และสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำข้อมูลไปให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์ร่วมกับสนับสนุนให้ครอบครัว มีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้สตรีตั้งครรภ์สามารถเผชิญความวิตกกังวลได้</p> 2024-04-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/265142 การพัฒนาหุ่นฝึกการซ่อมแซมแผลฝีเย็บสำหรับนักศึกษาพยาบาล 2023-10-10T14:14:57+07:00 จงลักษณ์ ทวีแก้ว [email protected] มนชยา ก้างยาง [email protected] จิณวัตร จันครา [email protected] <p><strong>บทนำ:</strong> ในรายวิชาการปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และผดุงครรภ์ มีการจัดให้นักศึกษาได้ฝึกเย็บแผลฝีเย็บก่อนขึ้นปฏิบัติงานจริงเพื่อช่วยให้นักศึกษามีความมั่นใจและให้ผู้รับบริการปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นแต่ยังขาดอุปกรณ์สำหรับฝึกทักษะเย็บซ่อมแซมแผลฝีเย็บที่มีความสมจริง </p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย:</strong> 1) เพื่อพัฒนานวัตกรรมแผลฝีเย็บ สำหรับฝึกทักษะการซ่อมแซมฝีเย็บสำหรับนักศึกษาพยาบาล 2) เพื่อประเมินคุณภาพนวัตกรรมแผลฝีเย็บ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมแผลฝีเย็บ </p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย:</strong> การวิจัยและพัฒนา 6 ขั้นตอน 1) วิเคราะห์ ค้นหาปัญหา 2) ศึกษาแนวคิดหลักการและความเป็นไปได้ 3) ออกแบบและสร้างนวัตกรรม 4) ประเมินผลใช้นวัตกรรม 5) ทดลองใช้และปรับปรุงนวัตกรรม 6) สรุปผลและเผยแพร่ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาล จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ อุปกรณ์ในการพัฒนานวัตกรรมแผลฝีเย็บ อุปกรณ์สำหรับฝึกเย็บแผล แบบประเมินคุณภาพนวัตกรรมจำนวน 5 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมจำนวน 6 ข้อ ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน </p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> ได้นวัตกรรมหุ่นฝึกการซ่อมแซมแผลฝีเย็บซึ่งใช้ยางพาราเป็นโครงสร้างหลักและใช้ซิลิโคน<br />เป็นส่วนประกอบของพื้นผิวด้านนอกสามารถใช้ในการฝึกทักษะการเย็บได้จริง ค่าเฉลี่ยคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.95, SD = .62) และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการใช้โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.16, SD = .61)</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>นวัตกรรมหุ่นฝึกการซ่อมแซมแผลฝีเย็บสามารถนำไปใช้ประกอบการฝึกทักษะในภาคทดลองและฝึกทักษะก่อนขึ้นปฏิบัติงานในห้องคลอดเพื่อสร้างความชำนาญและเสริมสร้างความมั่นใจให้นักศึกษา</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ:</strong> นำไปพัฒนาต่อยอดในการสร้างหุ่นฝึกทักษะอื่นสำหรับนักศึกษาพยาบาลได้</p> 2024-04-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/266694 ผลของการใช้รูปแบบการบูรณาการทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ต่อศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดศรีสะเกษ 2023-11-24T13:44:20+07:00 ชนิดาภา ขอสุขวรกุล [email protected] ทัตติยา นครไชย [email protected] พุทธิพร พิธานธนานุกูล [email protected] จาริณฒา ศุภวัชระสาร [email protected] <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพและมีศักยภาพในการดูแลตนเองต่ำจะมีความต้องการพึ่งพิงสูง หากได้รับการดูแลด้วยรูปแบบที่ดี จะช่วยส่งเสริมให้มีศักยภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าและลดภาระของสังคม</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> เพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และศึกษาผลของรูปแบบต่อศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>: </strong>การวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบการบูรณาการทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการวิจัยเชิงคุณภาพและพัฒนา และระยะที่ 2 ศึกษาผลของรูปแบบ โดยการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในตำบลโพธิ์ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการบูรณาการทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพชีวิตและศักยภาพของผู้สูงอายุ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .91 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired sample t-test และ MANOVA</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> รูปแบบการบูรณาการทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนา 3) หลักการส่งเสริมศักยภาพและคุณภาพชีวิต 4) กระบวนการส่งเสริมศักยภาพและคุณภาพชีวิต และ 5) ผลลัพธ์ของรูปแบบผลการใช้รูปแบบพบว่าผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีศักยภาพและคุณภาพชีวิตสูงกว่าก่อนการทดลอง (M = 89.07, SD = 6.35 และ M = 106.30, SD = 11.21) ตามลำดับ และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (M = 106.30, SD = 11.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.01) <strong> </strong></p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>: </strong>รูปแบบการบูรณาการทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นมีผลทำให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพและคุณภาพชีวิตสูงขึ้น</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>: </strong>นำรูปแบบการบูรณาการทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นไปขยายผลในชุมชนอื่น ๆ</p> 2024-04-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/267165 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสถานะสุขภาพของผู้สูงอายุ ชุมชนย่านโยธี กรุงเทพมหานคร 2024-03-12T15:32:03+07:00 ภูเบศร์ แสงสว่าง [email protected] <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ไม่เป็นไปตามระบบปกติ ทำให้ผู้สูงอายุได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ ขาดการดูแลอย่างต่อเนื่อง</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสถานะสุขภาพของผู้สูงอายุ หลังการระบาดโรคโควิด-19 ในชุมชนย่านโยธี กรุงเทพมหานคร</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>: </strong>เป็นการวิจัยเชิงแบบ Cross-sectional study กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 155 คน ใน 5 ชุมชนย่านโยธี กรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ Chi-square test</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสถานะสุขภาพของผู้สูงอายุ คือ ปัจจัยความเป็นอยู่ ได้แก่ พฤติกรรมสุขภาพ (<img title="x^{2}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?x^{2}" />= 7.82 , p – value &lt; .05) และความสัมพันธ์ภายในครอบครัว (<img title="x^{2}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?x^{2}" /> = 4.05, p – value &lt; .05)</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>: </strong>สถานะสุขภาพของผู้สูงอายุ ชุมชนย่านโยธี ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสถานะสุขภาพของผู้สูงอายุ คือ ความเป็นอยู่ และความสัมพันธ์ในครอบครัว</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>: </strong>หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการเยี่ยมครัวเรือนผู้สูงอายุ ให้แนะนำการดูแลสุขภาพ การจัดที่พักอาศัยให้ปลอดภัย และเหมาะสมกับผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพื่อป้องกัน และฟื้นฟูโรคที่จะเกิดในผู้สูงอายุและบรรเทาอาการ อย่างต่อเนื่อง</p> 2024-04-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/267419 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเงื่อนไขกับตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ตำแหน่ง หัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 2023-12-19T10:26:08+07:00 นิภาพร พรหมมีเนตร [email protected] ภัทรมนัส พงศ์รังสรรค์ [email protected] จรรจา สันตยากร [email protected] <p><strong>บทนำ: </strong>การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยส่งผลกระทบก่อให้เกิดความวิตกกังวล เครียดกับบทบาทใหม่ เนื่องจากมีภาระงานรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านประกอบด้วยปัจจัยเงื่อนไขเอื้ออำนวยให้เกิดประโยชน์ทำให้การเปลี่ยนผ่านดำเนินไปด้วยดี</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย: </strong>เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเงื่อนไขกับตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย: </strong>การวิจัยเชิงสำรวจแบบสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยขนาดเตียงไม่เกิน 500 เตียง จำนวน 10 โรงพยาบาล สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนได้ 110 คน ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยสร้างแบบสอบถามให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าความตรงของเนื้อหา CVI .84 นำแบบสอบถามทดลองใช้กับโรงพยาบาลที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง 30 คนแบบสอบถามมี 3 ส่วน 1. ข้อมูลทั่วไป 2. ปัจจัยเงื่อนไข 3. ตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ตำแหน่ง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงโดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ .92 และ .98 ตามลำดับ </p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>1) ระดับปัจจัยเงื่อนไขในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเงื่อนไขกับตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ ในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยมีความสัมพันธ์กันทุกด้านในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>ปัจจัยเงื่อนไขในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ หากปัจจัยเงื่อนไขระดับสูงจะเป็นปัจจัยเอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ตำแหน่งได้มากขึ้น สอดคล้องกับทฤษฎีของเมลิส ปัจจัยเงื่อนไข ได้แก่ การให้ความหมายของการเปลี่ยนผ่าน วัฒนธรรม ความเชื่อ ทัศนคติ สถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจ การเตรียมความพร้อมและความรู้ เป็นเงื่อนไขเอื้ออำนวยก่อให้เกิดประโยชน์ ทำให้การเปลี่ยนผ่านดำเนินไปด้วยดี ราบรื่น เกิดการเปลี่ยนผ่าน<br />ได้ง่ายและมีความสมบูรณ์มากขึ้น</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ: </strong>ผลการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนส่งเสริมให้การสนับสนุน เตรียมความพร้อมการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วย เพื่อให้สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยได้อย่างสมบูรณ์ </p> 2024-04-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/265830 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังจากเส้นเลือดดำที่ขาบกพร่อง 2023-09-19T14:45:45+07:00 พิราลักษณ์ ลาภหลาย [email protected] รุ่งรัตน์ ตรีราภา [email protected] ดาราณี นงเยาว์ [email protected] ทิพวรรณ นัยทรัพย์ [email protected] ศศี ศรีโชติ [email protected] มารศรี ปิ่นสุวรรณ์ [email protected] ปฐมพงศ์ อัครพัฒนากูล [email protected] <p><strong>บทนำ: </strong>คุณภาพการดูแลผู้ป่วยแผลเรื้อรังจากเส้นเลือดดำที่ขาบกพร่องจากการพัฒนารูปแบบการดูแลที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง สามารถลดการสูญเสียอวัยวะ และการรักษาที่ยาวนานโดยไม่จำเป็น</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย: </strong>เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังจากเส้นเลือดดำที่ขาบกพร่องของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย: </strong>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลและเจ้าหน้าที่จำนวน 10 คนและผู้ป่วยจำนวน 47 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ ระยะที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียน และแนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์กลุ่ม ระยะที่ 2 แบบบันทึกความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่ 3 ได้แก่ 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังจากเส้นเลือดดำที่ขาบกพร่อง และ 2) แบบประเมินประสิทธิผลรูปแบบ</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>ระยะที่ 1 พบว่า 1) ปัญหาความต้องการด้านความปลอดภัยและระบบการเข้ารับบริการ 2) ข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลรูปแบบเดิมจากคลินิกออสโตมีและแผล พบว่า ขนาดของแผลลดลง (13.47 - 57.78 cm<sup>2</sup>, p&lt;.01) ระยะเวลาการฟื้นหายลดลง (.59 - 4.84 ปี, p&lt;.01) ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบและตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่ 3 นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ พบว่า ผู้ป่วยจำนวน 47 ราย เปรียบเทียบผลในผู้ป่วยรายเดิมที่ได้รับรูปแบบการดูแลที่แตกต่างกันในช่วงต่างระยะเวลา ความก้าวหน้าของแผลดีขึ้น ขนาดของแผลลดลง (32.33 - 127.78 cm<sup>2</sup>, p&lt; .01) ระยะเวลาการฟื้นหายลดลง (3.59 - 6.84 วัน, p&lt; .01), ความปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05)</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังจากเส้นเลือดดำที่ขาบกพร่องส่งผลกับการฟื้นหายบาดแผลได้ดี</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ: </strong>ควรมีการนำรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังจากเส้นเลือดดำที่ขาบกพร่องที่พัฒนาขึ้นเผยแพร่หรือขยายผลการใช้รูปแบบอย่างบูรณาการและคำนึงถึงบริบทที่แตกต่างกัน </p> 2024-04-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/267674 ผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดคลอดแบบนัดหมายล่วงหน้า ต่อความวิตกกังวลและความรู้ในสตรีตั้งครรภ์ 2024-01-12T16:23:07+07:00 พวงเพชร ปานเถื่อน [email protected] รุ้งตวรรณ์ ช้อยจอหอ [email protected] <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> การเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดคลอดมีความสำคัญ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการผ่าตัด ลดความวิตกกังวล และเพิ่มความรู้ในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ก่อนและหลังผ่าตัด</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดคลอดแบบนัดหมายล่วงหน้าต่อความวิตกกังวลและความรู้ในสตรีตั้งครรภ์</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>:</strong> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์เดี่ยว อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป มารับบริการผ่าตัดคลอดแบบนัดหมายล่วงหน้า จำนวน 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 ราย เครื่องมือ ประกอบด้วย 1) สื่อวีดิทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดคลอดแบบนัดหมายล่วงหน้า 2) แบบวัดความวิตกกังวล และ3) แบบวัดความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบคะแนนความวิตกกังวลและความรู้ระหว่างกลุ่ม โดยใช้สถิติ Paired t-test และ Independent t-test</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลขณะเผชิญต่ำกว่าก่อนทดลองและค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลขณะเผชิญต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) และพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลแฝงระหว่างกลุ่มทดลอง<br />และกลุ่มควบคุม (M = 37.67, SD = 7.23; M = 34.93, SD = 7.39 ตามลำดับ) และค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์ (M = 18.68, SD = 1.55; M = 17.93, SD = 2.28 ตามลำดับ) แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 1.02, df = 28, p&gt; .05; t = 1.31, df = 28, p &gt; .05 ตามลำดับ)</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>: </strong>การใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดคลอดแบบนัดหมายล่วงหน้าในหญิงตั้งครรภ์นี้ ช่วยเพิ่มความรู้ในการปฏิบัติตัวและลดความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ได้</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ: </strong>ควรนำสื่อวีดิทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดคลอด เพื่อไปใช้ในการให้ความรู้และลดความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดคลอดแบบนัดหมายล่วงหน้าในโรงพยาบาลต่อไป</p> 2024-04-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/267454 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของสามีในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัย เป็นความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ 2024-01-02T10:37:03+07:00 ประภัสสร จันดี [email protected] ณัฐธิดา ปัญญาธนคุณ [email protected] พัชราภรณ์ อนุพันธ์ [email protected] ศิรินภา แก้วพวง [email protected] <p><strong>บทนํา:</strong> ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์เป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ที่พบได้บ่อย ส่งผลเพิ่มอัตราทุพพลภาพ และการเสียชีวิตของมารดาและทารกในครรภ์</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย:</strong> เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของสามี และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของสามี ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong>: การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง สามีของหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 85 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 5 แบบสอบถาม และ 1 แบบทดสอบ ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของสามี 3) แบบสอบถามทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ 4) แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส 5) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถ และ 6) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคในส่วนแบบสอบถามที่ 2 - 5 เท่ากับ .95, .73, .87 และ .94 ตามลำดับ ส่วนแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ใช้วิธีการหาค่าความเชื่อมั่นแบบคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 (KR - 20) เท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการดูแลร้อยละ 100 จำแนกเป็นมีส่วนร่วมในการดูแลระดับปานกลาง ร้อยละ 23.50 และระดับสูง ร้อยละ 76.50 ส่วนผลการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า ทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ (ß = .527, p &lt; .001) มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการดูแล โดยสามารถทำนายการมีส่วนร่วมของสามีในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 27.80 (R2 = .278, p &lt; .001)</p> <p><strong>สรุปผล:</strong> การมีส่วนร่วมของสามีในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ อยู่ในระดับปานกลางถึงสูง และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมคือทัศนคติต่อการตั้งครรภ์</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ:</strong> ควรพัฒนาโปรแกรมทางการพยาบาลที่ช่วยกระตุ้น และส่งเสริมทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ เพื่อให้สามีมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์มากขึ้น</p> 2024-04-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/269613 ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการ ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 2024-03-12T10:02:31+07:00 ศิรินันท์ ฉลวยแสง [email protected] จินดารัตน์ ชัยอาจ [email protected] ชมพูนุท ศรีรัตน์ [email protected] <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมต้องมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อให้เกิดภาวะโภชนาการที่ดี</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong>: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong>: การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดซ้ำ ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ที่ห้องไตเทียม โรงพยาบาลกุมภวาปี จำนวน 32 ราย และผู้ดูแล แบ่งเป็นกลุ่มละ 16 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวตามแนวคิดของของ Ryan &amp; Sawin ประกอบด้วย 1) การส่งเสริมความรู้ ความเชื่อ 2) การพัฒนาความสามารถในการกำกับตนเอง และ 3) การเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกทางสังคม กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ รวบรวมข้อมูลโดย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร แบบประเมิน Malnutrition Inflammation Score วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเปรียบเทียบ </p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .01) และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) สัดส่วนระดับโภชนาการของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) แต่สัดส่วนระดับโภชนาการของกลุ่มทดลองไม่แตกต่างจากก่อนได้รับโปรแกรม</p> <p><strong>สรุปผล</strong>: โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวมีประสิทธิภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและส่งเสริมให้ระดับโภชนาการดีขึ้น</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong>: พยาบาลที่จะนำโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวไปใช้ควรได้รับการฝึกฝนเพื่อให้สามารถใช้โปรแกรมนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-04-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/266242 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่บ้าน อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 2024-02-08T09:15:01+07:00 นงค์นุช โฮมหงษ์ [email protected] ศศิวิมล รักษาราช [email protected] จีระวดี พุทราสมศรี [email protected] เพ็ญจันทร์ โฮมหงษ์ [email protected] ศิริวรรณ สิงหศิริ [email protected] <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก การให้ความรู้และการติดตามเยี่ยมบ้านของทีมสหวิชาชีพ จะทำให้ผู้ป่วยและญาติมีพฤติกรรมการควบคุมโรคดีและลดภาวะแทรกซ้อน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่บ้าน อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย และ ประเมินประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบ</p> <p><strong>ระเบียบการวิจัย</strong><strong>:</strong> วิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่รับการบำบัดทดแทนไต ผู้ดูแล ทีมสหวิชาชีพโดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 42 คน เก็บข้อมูลโดยใช้ชุดแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยฯ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยแจกแจงหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> 1) สถานการณ์และปัญหาการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่บ้าน พบว่า ผู้ป่วยและผู้ดูแลขาดความรู้และทักษะในการดูแลตนเองและเกิดภาวะแทรกซ้อน และรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่บ้านที่พัฒนาขึ้น มีการให้ความรู้และฝึกทักษะให้ผู้ป่วยและผู้ดูแล แนวทางการเยี่ยมบ้านทีมสหวิชาชีพ และ 2) หลังการใช้รูปแบบฯ ผู้ป่วยมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติตัวดูแลตนเองที่บ้านเพิ่มขึ้น และจัดการกับอาการแทรกซ้อนเบื้องต้นที่บ้านได้</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>:</strong> แนวปฏิบัติที่พัฒนานี้สามารถนำไปปฏิบัติกับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่บ้านได้ข้อเสนอแนะ: สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยที่คลินิกไตเรื้อรังที่เลือกรักษาบำบัดแทนแทนทางไต</p> 2024-04-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/267035 การพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาภาวะติดเชื้อระยะแรกของทารกแรกเกิด โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 2024-03-14T15:30:51+07:00 ภคพร ตู้จินดา [email protected] ถิรารัตน์ พูนภัสสร [email protected] ภรกต สูฝน [email protected] เพ็ญจันทร์ โฮมหงษ์ [email protected] <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของทารกแรกเกิด เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและความพิการในทารกแรกเกิด</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาภาวะติดเชื้อระยะแรกของทารกแรกเกิด และประเมินประสิทธิผลของการพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาฯ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย </p> <p><strong>ระเบียบการวิจัย</strong><strong>: </strong>การวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้แนวคิดของเคมมิสและแมกทากาด กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 31 คน ประกอบด้วย กุมารแพทย์ สูติ-นรีแพทย์ แพทย์เวชปฏิบัติ และพยาบาลวิชาชีพ และทารกแรกเกิดที่สงสัยติดเชื้อ จำนวน 55 ราย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แนวทางการดูแลรักษาภาวะติดเชื้อระยะแรกของทารก แบบประเมินความรู้ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบวัดความพึงพอใจ และแบบบันทึกข้อมูลเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ได้แนวทางการดูแลรักษาภาวะติดเชื้อระยะแรกของทารกแรกเกิด คือ แนวทางปฏิบัติการประเมินทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อสำหรับพยาบาลวิชาชีพและสำหรับแพทย์ ภายหลังการใช้แนวทางการดูแลรักษาฯ พบว่าพยาบาลวิชาชีพและแพทย์ผู้เกี่ยวข้องมีความรู้สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ (p &lt; .001) และมีคะแนนความพึงพอใจ<br />ต่อการใช้แนวทางการดูแลรักษาฯ อยู่ในระดับสูงมาก (M = 4.74, SD = .43) และสำหรับทารก พบว่า ทารกมีอัตราการติดเชื้อลดลงจาก ร้อยละ 31.30 เป็นร้อยละ 20 ค่าเฉลี่ยจำนวนวันนอนลดลงจาก 7.90 วัน เป็น 6.80 วัน และค่ารักษาเฉลี่ยลดลงจาก 25,989.43 บาท/ราย เป็น 22,901.73 บาท/ราย</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>:</strong> สามารถใช้แนวทางการดูแลรักษาฯ ที่ได้รับการพัฒนาใหม่ ในการเฝ้าระวังดูแลผู้ป่วยที่สงสัยติดเชื้อได้</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>:</strong> สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลและแพทย์หมุนเวียนและแนวทางปฏิบัติในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด</p> 2024-04-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/267382 The PEN-3 Model: การประยุกต์ใช้เพื่อการวางแผนพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ 2024-01-02T10:32:48+07:00 พนิตนันท์ พรหมดำ [email protected] นิรันตา ไชยพาน [email protected] ณิชชารีย์ พิริยจรัสชัย [email protected] ธีรพล ผังดี [email protected] นันท์นภัส เกตน์โกศัลย์ [email protected] จักรกฤษณ์ พลราชม [email protected] <p><strong>บทนำ: </strong>การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน เพื่อการมีสุขภาวะที่ดี จำเป็นต้องมีการวางแผนและออกแบบโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพให้สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมาย สังคม และวัฒนธรรม เพื่อทำให้การนำไปใช้มีประสิทธิภาพสูงสุด</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อนำเสนอแนวคิดและการประยุกต์ใช้ The PEN-3 Model ในการวางแผนและออกแบบโปรแกรมเพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้แก่ประชาชน</p> <p><strong>ประเด็นสำคัญ:</strong> การวางแผนและออกแบบโปรแกรมตาม The PEN-3 Model ต้องคำนึงถึงตัวอักษรภาษาอังกฤษ คือ P-E-N จำนวน 3 มิติ โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการศึกษามิติที่ 1 คือ ลักษณะของปัญหา (P: Person (บุคคล), E: Extended family (ครอบครัว), N: Neighborhood (บุคคลในชุมชน)) ขั้นตอนที่ 2 เป็นการศึกษามิติที่ 2 คือ สาเหตุของปัญหา (P: Perceptions (ปัญหาจากปัจจัยส่วนบุคคล), E: Enablers (ปัญหาจากปัจจัยเอื้อ), N: Nurturers (ปัญหาจากปัจจัยเสริมจากบุคคลอื่น)) และขั้นตอนที่ 3 เป็นการศึกษามิติที่ 3 คือ ลักษณะทางวัฒนธรรม (P: Positive (วัฒนธรรมของสังคมที่ช่วยสนับสนุน), E: Existential (วัฒนธรรมของสังคมในปัจจุบัน), N: Negative (วัฒนธรรมของสังคมที่ขัดขวางและเป็นอุปสรรค) และเมื่อได้ข้อมูลทั้ง 3 มิติแล้วสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการวางแผนและออกแบบโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และนำมาสู่การมีสุขภาวะที่ดีต่อไป</p> <p><strong>สรุป:</strong> The PEN-3 Model สามารถประยุกต์ใช้ในการวางแผนและออกแบบที่จะสามารถทำให้โปรแกรมที่ได้สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมาย สภาพปัญหา และสังคมวัฒนธรรม เพื่อให้โปรแกรมที่ได้มีประสิทธิผลสูงสุด</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ:</strong> นักส่งเสริมสุขภาพสามารถนำแนวทางที่นำเสนอไปใช้ในการวางแผนและออกแบบโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชนได้</p> 2024-04-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/267586 การวางแผนการสื่อสารความเสี่ยงทางสุขภาพโดยใช้แบบจำลอง CDCynergy 2024-01-10T11:12:45+07:00 นิรันตา ไชยพาน [email protected] ณิชชารีย์ พิริยจรัสชัย [email protected] พนิตนันท์ พรหมดำ [email protected] ธีรพล ผังดี [email protected] จักรกฤษณ์ พลราชม [email protected] นันท์นภัส เกตน์โกศัลย์ [email protected] <p><strong>บทนำ:</strong> กระบวนการสื่อสารความเสี่ยงทางสุขภาพที่จะสามารถทำให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ และนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีได้อย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น จำเป็นต้องมีการวางแผน และออกแบบ การสื่อสารความเสียงด้วยแบบจำลองที่มีความเป็นตรรกะและเป็นระบบ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อนำเสนอแนวคิดและการประยุกต์ใช้แบบจำลอง CDCynergy ในการวางแผนการสื่อสารความเสี่ยงทางสุขภาพเพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชน</p> <p><strong>ประเด็นสำคัญ:</strong> CDCynergy เป็นแบบจำลองที่เป็นระบบ และมีความเป็นตรรกะเหมาะในการพัฒนาการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุข โดยเฉพาะการมุ่งเน้นการสื่อสารความเสี่ยงทางสุขภาพ โดยมีการดำเนินการทั้งหมด 6 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การกำหนดและอธิบายปัญหา ระยะที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหา ระยะที่ 3 กระบวนการวางแผนการพัฒนา ระยะที่ 4 การพัฒนากิจกรรม ระยะที่ 5 การวางแผนการประเมิน และระยะที่ 6 การดำเนินการตามแผน การวางแผนและออกแบบด้วยแบบจำลอง CDCynergy ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในระดับนานาชาติเพื่อทำให้การสื่อสารความเสี่ยงทางสุขภาพมีประสิทธิภาพ</p> <p><strong>สรุป:</strong> บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข สามารถใช้แบบจำลองนี้ในการวางแผน และออกแบบ การสื่อสารความเสี่ยงทางสุขภาพ ภายใต้ปัญหา กลุ่มเป้าหมาย และบริบทของพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีในอนาคต</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong>: แบบจำลองที่นำเสนอสามารถนำไปพัฒนาภายใต้กระบวนการวิจัย หรือนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินการสาธารณสุขในบริบทของสังคมไทย</p> 2024-04-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)