วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok <p> <strong>วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล</strong> เป็นวารสารของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ เดิมชื่อ <strong>วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ</strong> เริ่มจัดทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2527 เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ และได้ดำเนินการเผยแพร่วารสารทางการพยาบาลฉบับแรก เมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ มีกระบวนการให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาตรวจสอบก่อนการเผยแพร่ (Peer-reviewed journal) ต่อมาในปีพ.ศ. 2562 (ฉบับที่ 2 ปีที่ 35) ได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อเป็น <strong>วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล </strong>เนื่องจากมีการขยายขอบเขตการเผยแพร่บทความรวมทั้งทางด้านการพยาบาลและสุขภาพ วารสารได้มีการพัฒนาคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง และได้รับการประเมินคุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย อยู่ในวารสารกลุ่มที่ 1 (TCI 1) สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตั้งแต่การประเมินรอบที่ 1 จนถึงปัจจุบัน (รอบที่ 5 พ.ศ. 2568 – 2572)</p> <p> วารสารรับพิจารณาบทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านการพยาบาล การศึกษาพยาบาล วิชาชีพด้านสุขภาพ ระบบสุขภาพและสุขภาพของประชาชน โดยมีกำหนดการเผยแพร่วารสารปีละ 3 ฉบับ คือ</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน </p> <p> ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม </p> <p> ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <ol> <li class="show">เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง</li> <li class="show">เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนความรู้และระสบการณ์ทางการพยาบาล การศึกษา และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง</li> <li class="show">เป็นแหล่งเสนอผลงานวิชาการของบุคลากรสุขภาพ</li> </ol> <p><strong>ขอบเขตของบทความที่รับพิจารณาเพื่อการเผยแพร่</strong></p> <ol> <li class="show"><strong>องค์ความรู้หรือข้อมูลความรู้ทางด้านสุขภาพ </strong>ประกอบด้วยองค์ความรู้ สาระหรือข้อมูลความรู้ทางด้านสุขภาพและการสาธารณสุข รวมทั้งระบบสุขภาพ นโยบายทางด้านสุขภาพ กำลังคนด้านสุขภาพ ปัญหาสุขภาพ และการดูแลสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชน</li> <li class="show"><strong>องค์ความรู้หรือข้อมูลความรู้ทางด้านพยาบาล </strong>ประกอบด้วยองค์ความรู้ สาระหรือข้อมูลความรู้ทางด้านการพยาบาลและการศึกษาพยาบาล รวมทั้งนโยบายทางด้านการพยาบาล การบริหารการพยาบาลมาตรฐานการพยาบาล ผลลัพธ์ทางการพยาบาล แนวปฏิบัติการพยาบาล หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล นวัตกรรมทางการพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การพยาบาลเฉพาะสำหรับบุคคล ครอบครัว และชุมชน และกรณีศึกษาทางการพยาบาล</li> </ol> <p><strong>ประเภทของบทความที่รับพิจารณาเพื่อการเผยแพร่</strong></p> <ol> <li class="show"><strong>บทความวิจัย (</strong><strong>Research article)</strong> เป็นบทความที่เขียนเกี่ยวกับการรายงานการศึกษาวิจัยทางการพยาบาล หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ผู้นิพนธ์เป็นผู้ดำเนินการวิจัย หรือศึกษาค้นคว้า ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณหรือการวิจัยเชิงคุณภาพ รวมถึงการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systemic review) </li> <li class="show"><strong>บทความวิชาการ (</strong><strong>Academic article)</strong> เป็นบทความที่ผู้นิพนธ์เขียนเรียบเรียงสาระความรู้วิชาการทางด้านการพยาบาล หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเแล้วนำมากลั่นกรอง วิเคราะห์ และหรือสังเคราะห์โดยผู้นิพนธ์ หรือการเขียนวิพากษ์วิจารณ์เปรียบเทียบข้อความรู้เพื่อให้เกิดความกระจ่าง (Review article) รวมทั้ง การวิเคราะห์กรณีศึกษาทางด้านการพยาบาลหรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ</li> </ol> <p><strong>ขอบเขต (</strong><strong>Scopes) ที่รับตีพิมพ์</strong></p> <p><strong> </strong>องค์ความรู้ ด้านการพยาบาล สาธารณสุข ระบบสุขภาพ และการศึกษาพยาบาล หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาตรวจสอบก่อนการเผยแพร่โดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer</strong><strong>-Review</strong><strong>ed Process</strong><strong>) </strong></p> <p>บทความที่ผู้นิพนธ์ส่งมาพิจารณา ถ้าดำเนินการตามคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับและมีมาตรฐานเพียงพอ จะได้รับการประเมินแบบไม่เปิดเผยตัวตนสองทาง (Double-blind review) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน จากหลากหลายสถาบัน</p> <p>ISSN 2697-5041 (Online)</p> <p>ISSN 2730-1893 (Print)</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> <p>การตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล กำหนดให้ผู้นิพนธ์ต้องชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</p> <table style="height: 64px;" width="263"> <tbody> <tr> <td class=""><strong>บทความภาษาไทย</strong></td> <td><strong>4,000 บาท</strong></td> </tr> <tr> <td><strong>บทความภาษาอังกฤษ</strong></td> <td><strong>6,000 บาท</strong></td> </tr> </tbody> </table> <p><span class="OYPEnA text-decoration-none text-strikethrough-none">โดยชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ หลังจากได้รับการประเมินเบื้องต้น </span><span class="OYPEnA text-decoration-none text-strikethrough-none">จากกองบรรณาธิการแล้วว่าสามารถตีพิมพ์ได้ </span></p> <p><span class="OYPEnA text-decoration-none text-strikethrough-none"><strong>หมายเหตุ:</strong> ทั้งนี้ทางวารสารไม่การันตีว่าบทความของท่านจะได้รับการตีพิมพ์ เเละหากไม่ได้รับการตีพิมพ์</span><span class="OYPEnA text-decoration-underline text-strikethrough-none">เมื่อชำระเงินแล้ว วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์การคืนเงินให้ผู้นิพนธ์ทุกกรณี</span></p> Boromarajonani College of Nursing, Bangkok th-TH วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) 2730-1893 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น</p> ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ก่อนการตรวจสวนหัวใจ ต่อความพร้อมของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/274719 <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>การเตรียมตัวไม่พร้อมก่อนตรวจสวนหัวใจ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการเลื่อนนัดทำหัตถการ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับการนำระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้มาใช้ในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนการตรวจสวนหัวใจ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย: </strong>เพื่อศึกษาผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ก่อนการตรวจสวนหัวใจต่อความพร้อมของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจ</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย: </strong>การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง ศึกษาในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 25 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือดำเนินการวิจัย ได้แก่ ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ก่อนการตรวจสวนหัวใจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ความพร้อมก่อนการตรวจสวนหัวใจ<br />ของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีค่าแอลฟาคอนบราคเท่ากับ .79 เก็บข้อมูลที่ศูนย์ประสานงานผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย ระหว่างเดือนเมษายน 2567 ถึงตุลาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา และเปรียบเทียบความพร้อมก่อนการตรวจสวนหัวใจด้วยสถิติ Wilcoxon signed rank test, Mann Whitney U test, Independent t-test และ Paired t-test</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>ความพร้อมก่อนการตรวจสวนหัวใจของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจหลังได้รับระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ก่อนการตรวจสวนหัวใจ สูงกว่าก่อนได้รับระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ก่อนการตรวจสวนหัวใจ (p &lt;.001) และสูงกว่าหลังได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;.001)</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ก่อนการตรวจสวนหัวใจ สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจมีความพร้อมก่อนการตรวจสวนหัวใจมากขึ้นได้</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ: </strong>นำระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ก่อนการตรวจสวนหัวใจไปใช้เป็นแนวทางในการให้ข้อมูลผู้ป่วยเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการตรวจสวนหัวใจ</p> อริญชย์ เมตรพรมราช รณชัย พิมพ์สวัสดิ์ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-29 2025-04-29 41 1 1 12 ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มีดัชนีมวลกายเกินในจังหวัดสมุทรสาคร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/275775 <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โปรแกรมการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองจึงมีความสำคัญ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong>: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองต่อการรับรู้ความสามารถของตนเอง วิถีชีวิตป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ค่าดัชนีมวลกาย ความดันเลือดแดงเฉลี่ย และโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong>: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 35 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มีดัชนีมวลกายเกินโดยประยุกต์ใช้แบบจำลองการส่งเสริมเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 2) คู่มือการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง 3) แบบสอบถาม มี 4 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลทั่วไป (2) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (3) วิถีชีวิตป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และ (4) ข้อมูลทางคลินิก แบบสอบถามส่วนที่ 2 - 3 มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .99 และ 1.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบากเท่ากับ .90 และ .92 ตามลำดับ</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถของตนเอง และวิถีชีวิตป้องกันโรคหลอดเลือดสมองดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและกลุ่มเปรียบเทียบ มีความดันเลือดแดงเฉลี่ยและโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมแต่ไม่แตกต่างกับกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p><strong>สรุปผล</strong>: การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองส่งผลให้ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มีดัชนีมวลกายเกินสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเอง ทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong>: ควรนำโปรแกรมปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปใช้ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยเพิ่มการออกกำลังกายแบบแอโรบิก เพิ่มระยะเวลาความถี่ในการออกกำลังกายให้มากขึ้น</p> สตรีรัตน์ สามเพชรเจริญ สุทธีพร มูลศาสตร์ กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-29 2025-04-29 41 1 13 24 ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการจัดการภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ของผู้สูงอายุหญิงในชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/275107 <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุหญิง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต การทราบปัจจัยที่เกี่ยวข้องจะช่วยทำให้ผู้สูงอายุหญิงได้รับการจัดการที่เหมาะสมมากขึ้น</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong>: เพื่อศึกษาความชุกของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการจัดการภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ของผู้สูงอายุหญิงในชุมชน</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong>: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 297 ราย คัดเลือกตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินผู้ป่วยภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ทดสอบความเชื่อมั่นมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก เท่ากับ .976 3) แบบสอบถามการจัดการภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก เท่ากับ .919 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติสหสัมพันธ์เชิงอันดับของสเปียร์แมน และสถิติสหสัมพันธ์พอยท์ ไบซีเรียล</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: ความชุกของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ของผู้สูงอายุหญิงในชุมชน เท่ากับ ร้อยละ 63.30 ส่วนปัจจัยที่สัมพันธ์กับการจัดการการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ พบว่า ระดับการศึกษา (r = .189, p &lt;.01) รายได้ต่อเดือน (r = -.276, p &lt;.001) โรคความดันโลหิตสูง (r = .286, p &lt;.001) การมีประวัติผ่าตัดมดลูก (r = .269, p &lt;.01) ระยะเวลาการมีอาการ (r = .388, p &lt;.001) ความรุนแรง (r = .450, p &lt;.001) และชนิดของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีความสัมพันธ์กับการจัดการภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ของผู้สูงอายุหญิงในชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุปผล</strong>: ความชุกของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ของผู้สูงอายุหญิง เท่ากับ ร้อยละ 63.30 ส่วนปัจจัยด้านระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน โรคความดันโลหิตสูง การมีประวัติผ่าตัดมดลูก ระยะเวลาการมีอาการ ความรุนแรง ชนิดของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีความสัมพันธ์กับการจัดการภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ของผู้สูงอายุหญิงในชุมชน</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong>: บุคลากรสุขภาพที่ดูแลผู้สูงอายุควรให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านต่าง ๆ ชนิดของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เพื่อให้การจัดการกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่อย่างมีประสิทธิภาพ</p> สิริสุดา เตชะวิเศษ ปรัศนี ศรีกัน อรัญญา นามวงศ์ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-29 2025-04-29 41 1 25 37 ผลของโปรแกรมจัดการอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิตด้วยชี่กงต่ออาการเหนื่อยล้า ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/274973 <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> อาการเหนื่อยล้าพบได้บ่อยในผู้ป่วยไตวายฟอกเลือดและส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การจัดการอาการอย่างมีประสิทธิภาพช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรม ลดความเครียด และปรับสมดุลร่างกายและจิตใจ การผสมผสานโปรแกรมการจัดการอาการกับชี่กงช่วยลดความรุนแรงของอาการและเสริมสร้างการดูแลตนเองอย่างยั่งยืน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย:</strong> เพื่อเปรียบเทียบอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยฟอกไตในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิตด้วยชี่กง และเปรียบเทียบอาการเหนื่อยล้าหลังการได้รับโปรแกรมระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย:</strong> การวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่เข้ารับการรักษาที่หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 42 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 21 คน ได้รับการจับคู่ ด้วยอายุ และระยะเวลาที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิตด้วยชี่กง ที่พัฒนาจากแนวคิดของ Dodd มีค่า CVI เท่ากับ .86 ใช้แบบประเมิน Brief Fatigue Inventory (BFI) มีค่า CVI เท่ากับ .91 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก เท่ากับ .81 และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และ Independent t-test</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม ภายหลังได้รับโปรแกรมมีคะแนนค่าเฉลี่ยอาการเหนื่อยล้าต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;.05) และต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;.05)</p> <p><strong>สรุปผล</strong>: การจัดการกับอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิตด้วยชี่กง สามารถช่วยลดอาการเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ:</strong> ควรมีการนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยเพื่อช่วยลดอาการเหนื่อยล้าอย่างมีประสิทธิภาพ </p> ทัชชญา ภัทรธรวราดล ปชาณัฏฐ์ นันไทยทวีกุล Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-29 2025-04-29 41 1 38 49 ผลของการสร้างเสริมสุขภาพแบบ E²LS³A เพื่อการชะลอวัยผู้สูงอายุ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/269482 <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจากระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ลดลง การสร้างเสริมสุขภาพเป็นการส่งเสริม สนับสนุนพฤติกรรมเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาวแบบสุขภาพดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย:</strong> เพื่อศึกษาผลของการสร้างเสริมสุขภาพแบบ E<sup>2</sup>LS<sup>3</sup>A เพื่อการชะลอวัยผู้สูงอายุ</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong>: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม จำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการทดลองเป็นระยะเวลา 1 เดือน เครื่องมือประกอบด้วย คู่มือการสร้างเสริมสุขภาพแบบ E<sup>2</sup>LS<sup>3</sup>A เพื่อการชะลอวัยผู้สูงอายุ แบบสอบถามพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อการชะลอวัยผู้สูงอายุ และแบบวัดองค์ประกอบของร่างกาย ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .60 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> หลังได้รับการสร้างเสริมสุขภาพแบบ E<sup>2</sup>LS<sup>3</sup>A ผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อการชะลอวัยสูงกว่าก่อนสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าองค์ประกอบของร่างกายดีขึ้น โดยมีอายุร่างกายเฉลี่ยลดลง 1 ปี ค่าเฉลี่ยน้ำหนัก ค่าเฉลี่ย BMI ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และค่าเฉลี่ยระดับไขมันในช่องท้องลดลง ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นกล้ามเนื้อลายเพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตลดลง</p> <p><strong>สรุปผล</strong>: การสร้างเสริมสุขภาพแบบ E<sup>2</sup>LS<sup>3</sup>A สามารถช่วยชะลอวัยทำให้ค่าเฉลี่ยน้ำหนัก ค่าเฉลี่ย BMI ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และค่าเฉลี่ยระดับไขมันในช่องท้องลดลง ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นกล้ามเนื้อลายเพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตลดลง ส่งผลให้อายุร่างกายลดลง</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong>: ควรนำการสร้างเสริมสุขภาพแบบ E<sup>2</sup>LS<sup>3</sup>A เพื่อการชะลอวัยผู้สูงอายุไปใช้กับผู้สูงอายุในพื้นที่อื่นได้</p> พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม พลอยประกาย ฉลาดล้น พีระนันทิ์ จีระยิ่งมงคล Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-29 2025-04-29 41 1 50 63 การพัฒนาแนวปฏิบัติการประเมินสุขภาพกายในผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุสำหรับพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/273111 <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>ผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุนอกจากจะมีภาวะการเจ็บป่วยทางจิตเวช การเพิ่มขึ้นของอายุทำให้เกิดความเสื่อมถอยของร่างกาย การประเมินสุขภาพกายที่ไม่ครบถ้วนและเป็นระบบ ส่งผลให้เกิดความซับซ้อนในการดูแลรักษามากขึ้น</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>: </strong>เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการประเมินสุขภาพกายในผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุสำหรับพยาบาล</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>: </strong>การวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนการพัฒนาแนวปฏิบัติของสภาวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติประเทศออสเตรเลียและแนวคิดการประเมินสุขภาพกายในผู้สูงอายุของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 15 คน และผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุจำนวน 15 คน ทำการคัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>1. แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1.1) แบบประเมินสภาพผู้ป่วยแรกรับ 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวและประวัติการเจ็บป่วย ส่วนที่ 2 การประเมินสุขภาพกาย ส่วนที่ 3 การประเมินสภาพจิต ส่วนที่ 4 สรุปปัญหาและข้อวินิจฉัยการพยาบาล 1.2) วิธีปฏิบัติการประเมินสุขภาพกาย และ 1.3) แนวทางกิจกรรมการดูแลสุขภาพกาย 2. ผลการใช้แนวปฏิบัติพบว่า 2.1) ร้อยละ 80 - 100 คิดเห็นว่า แนวปฏิบัติง่ายต่อการปฏิบัติและสามารถปฏิบัติได้ 2.2) ร้อยละ 53.3 กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลและการพยาบาลถูกต้องครอบคลุม 2.3) พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนความพึงพอใจระดับมาก (M = 8.13, SD = .52) และ 2.4) ผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุพึงพอใจต่อการดูแลระดับมาก (M = 4.80, SD = 2.82)</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>: </strong>แนวปฏิบัติสามารถใช้ในการประเมินสุขภาพกายผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุได้ ทำให้ผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุม</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>: </strong>ควรนำแนวปฏิบัติไปใช้ในการประเมินสุขภาพกายผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุ โดยปรับให้เหมาะสมกับบริบทโรงพยาบาล</p> บุญรักษา กลิ่นสุคนธ์ ดวงสุดา บุตรสอน สุทธานันท์ กัลกะ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-29 2025-04-29 41 1 64 74 ปัจจัยสนับสนุนการออกกำลังกายและกลวิธีสำคัญเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการออกกำลังกาย สำหรับสตรีผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/275544 <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> การออกกำลังกายของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านมช่วยลดการกลับซ้ำของโรคมะเร็งและลดอัตราตาย</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนการออกกำลังกาย และกลวิธีสำคัญในการพัฒนาพฤติกรรมออกกำลังกายสำหรับสตรีผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>:</strong> การวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มย่อย ในผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม คือ สตรีผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม และพยาบาลวิชาชีพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา </p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ปัจจัยสนับสนุนการออกกำลังกายสำหรับสตรีผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านมคือ การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายที่มีผลต่อสุขภาพกายและจิตใจ การรับรู้ว่ามีบุคคลสำคัญต้องการให้ออกกำลังกาย คือคนในครอบครัวและบุคลากรทางการแพทย์ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกายเพราะเคยปฏิบัติมาก่อน คาดหวังผลลัพธ์ของการออกกำลังกายคือ สุขภาพกายและมีสังคมที่ดี รวมถึงการออกกำลังกายกับกลุ่มเพื่อน กลวิธีสำคัญเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการออกกำลังกาย คือ การได้สุขศึกษาเรื่องวิธีออกกำลังกายภายหลังการรักษาและประโยชน์ที่จะได้รับโดยบุคลากรทางการแพทย์ การประสบความสำเร็จด้วยตนเองโดยการฝึกปฏิบัติออกกำลังกายกับผู้เชี่ยวชาญ และการใช้ตัวแบบที่มีสุขภาพแข็งแรงจากการออกกำลังกาย</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>: </strong>ปัจจัยภายในและภายนอกตัวบุคคล คือ เจตคติที่ดีต่อพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถของตนเอง และแรงสนับสนุนทางสังคมจากพยาบาล เป็นปัจจัยที่สนับสนุนการออกกำลังกาย กลวิธีตามทฤษฎีถูกระบุให้ใช้ในการพัฒนาพฤติกรรมออกกำลังกายสำหรับสตรีผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม </p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>:</strong> พยาบาลควรให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ ประโยชน์และความปลอดภัยของการออกกำลังกายหลังการรักษาสำหรับสตรีผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม เพื่อผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดี</p> นิรมล พจน์ด้วง ภูเบศร์ นภัทรพิทยาธร จักรกฤษณ์ พลราชม Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-29 2025-04-29 41 1 75 85 ความเครียด ความเหนื่อยล้าและการดำรงบทบาทมารดาของมารดาหลังคลอดที่มี ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรง: การเปลี่ยนผ่านจากระยะตั้งครรภ์สู่หลังคลอด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/275478 <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> ผลกระทบจากภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ก่อให้เกิดความเครียด และความเหนื่อยล้าของมารดาหลังคลอด ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัวต่อการดำรงบทบาทมารดาให้ประสบความสำเร็จ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาระดับและความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด ความเหนื่อยล้า และการดำรงบทบาทมารดาของมารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ถึงระยะหลังคลอด</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>:</strong> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ถึงหลังคลอด จำนวน 53 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเครียดในมารดาหลังคลอด แบบประเมินความเหนื่อยล้าของพิวจ์และคณะ ฉบับภาษาไทยโดย จรัสศรี ธีระกุลชัย และแบบประเมินการดำรงบทบาทมารดาหลังคลอด มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบากเท่ากับ .85, .92 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> มารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรง มีความเครียดในระดับต่ำ ร้อยละ 69.80 มีความเหนื่อยล้าอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 86.80 และมีการดำรงบทบาทมารดาอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 60.40 ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางลบกับการดำรงบทบาทมารดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.296, p &lt;.05) สำหรับความเหนื่อยล้าไม่มีความสัมพันธ์กับการดำรงบทบาทมารดา</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>:</strong> ความเครียดส่งผลต่อการดำรงบทบาทมารดา แต่ความเหนื่อยล้าไม่มีความสัมพันธ์กับการดำรงบทบาทมารดา</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>:</strong> พยาบาลผดุงครรภ์ควรประเมิน วางแผน และให้การพยาบาลที่เน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวการส่งเสริมความสุขสบาย การพักผ่อนและการผ่อนคลายเพื่อลดความเครียดและความเหนื่อยล้า เพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรง</p> เพ็ญพิชชา จันทรสอน บุญมี ภูด่านงัว กชพร สิงหะหล้า Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-29 2025-04-29 41 1 86 96 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ยาป้องกันเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสโรค (เพร็พ) ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดเชียงราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/275291 <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> ยาป้องกันเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสโรค (เพร็พ) เป็นกลยุทธ์ที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามปัจจุบันจำนวนการใช้เพร็พในจังหวัดเชียงราย<br />ยังต่ำกว่าเป้าหมาย</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้เพร็พในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในจังหวัดเชียงราย</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>:</strong> การศึกษาวิเคราะห์ที่มีกลุ่มควบคุม รวบรวมข้อมูลในจังหวัดเชียงราย ระหว่างเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2567 ในกลุ่มใช้เพร็พ 186 คน และกลุ่มไม่ใช้เพร็พ 376 คน ด้วยแบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การรับรู้ และปัจจัยชักนำการปฏิบัติ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบากของแบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ มีค่าเท่ากับ .95 การรับรู้ เท่ากับ .97 และปัจจัยชักนำการปฏิบัติ เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรเดียว และหลายตัวแปรด้วยสถิติถดถอยโลจิสติกทวิ</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้เพร็พ ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของการใช้ยาเพร็พระดับสูง (OR = 7.23, 95% confidence interval [CI] = 4.04 - 12.93) การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพระดับสูง (OR = 7.0, 95% CI = 2.03 - 24.26) การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ 6 เดือนที่ผ่านมา (OR = 6.22, 95% CI = 2.80 - 13.83) การดื่มแอลกอฮอล์ (OR = 6.09, 95% CI = 2.55 - 14.55) ทัศนคติและค่านิยมในการใช้ยาเพร็พระดับสูง (OR = 3.55, 95% CI = 1.97 - 6.41) การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติระดับสูง (OR = .12, 95% CI = .06 - .24) และระดับปานกลาง (OR = .05, 95% CI = .01 - .44)</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>: </strong>ปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับการใช้เพร็พในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดเชียงราย</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>:</strong> การวางแผนจัดบริการ Reach-Recruit-Test-Treat-PrEP-Retain ในจังหวัดเชียงราย ควรสนับสนุนให้กลุ่มเสี่ยงที่มีประวัติการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ และการดื่มแอลกอฮอล์ เห็นถึงความสำคัญของการใช้ยาเพร็พ รวมถึงส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์ ทัศนคติและค่านิยมที่ดี เสริมสร้างความเข้าใจในอุปสรรคจากการใช้ยาเพร็พ ร่วมกับการขยายการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ ให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดเชียงราย ซึ่งจะนำไปสู่การเข้าถึงยาเพร็พในประชากรกลุ่มเสี่ยงอย่างเหมาะสม และทั่วถึง</p> วิทยา สอนเสนา ปริน พงษ์ฤทัศน์ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-29 2025-04-29 41 1 97 108 ผลของการใช้หุ่นจำลองตรวจภายในเสมือนจริงรุ่น 2 ต่อการรับรู้ความสามารถในตน ในการประเมินความก้าวหน้าการคลอดและทักษะการประเมินความก้าวหน้าการคลอด สำหรับนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/274618 <p><strong>บทนำ</strong>: การประเมินความก้าวหน้าการคลอดเป็นทักษะที่นักศึกษาพยาบาลต้องมีความแม่นยำและมีความมั่นใจในการปฎิบัติ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้หุ่นจำลองเพื่อฝึกประเมินความก้าวหน้าการคลอด จึงเป็นนวัตกรรมที่ช่วยเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถในตนเอง ลดความวิตกกังวลและเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฎิบัติจริงกับผู้คลอด <br />จึงมีการพัฒนาหุ่นจำลองประเมินความก้าวหน้าการคลอดจากโมเดลที่ 1 ที่มีเฉพาะการเปิดขยายของปากมดลูกยังไม่เสมือนจริงให้เสมือนจริงด้วยหุ่นจำลองตรวจภายในเสมือนจริงรุ่น 2</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong>: เพื่อศึกษาผลของการใช้หุ่นจำลองตรวจภายในเสมือนจริงรุ่น 2 ต่อการรับรู้ความสามารถในตนและทักษะการประเมินความก้าวหน้าการคลอดของนักศึกษาพยาบาล</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย:</strong> เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมรมราชชนนี กรุงเทพ จำนวน 72 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ หุ่น PV simulation model 2 ซึ่งเป็นหุ่นฝึกตรวจภายในเพื่อประเมินความก้าวหน้าการคลอด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในตนเอง ในการประเมินความก้าวหน้าการคลอด และแบบประเมินทักษะการตรวจภายในด้วยการประเมินทักษะทางคลินิก Objective Structured Clinical Examination (OSCE) ตามโจทย์สถานการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติทดสอบค่า t</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> กลุ่มที่ใช้หุ่น PV simulation model 2 มีค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถในตนในการประเมินความก้าวหน้าการคลอด และทักษะการประเมินความก้าวหน้าการคลอด สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;.05)</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>การใช้หุ่นจำลองตรวจภายในเสมือนจริงรุ่น 2 ในการเตรียมความพร้อมด้านการประเมินความก้าวหน้าการคลอด ส่งผลให้นักศึกษามีทั้งทักษะและการรับรู้ความสามารถในการประเมินความก้าวหน้าการคลอดที่ดีขึ้น</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ: </strong>ผลการวิจัยสามารถนำหุ่นตรวจภายในเสมือนจริงรุ่น 2 (PV simulation model 2) ไปใช้ในการพัฒนาทักษะการประเมินความก้าวหน้าการคลอดแก่นักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> วรัญญา แสงพิทักษ์ ชลิตา ชูทวน Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-29 2025-04-29 41 1 109 120 ประสบการณ์ทำร้ายตนเองของผู้ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/275293 <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> กัญชามีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ส่งผลกระทบอารมณ์และจิตใจอาจนำไปสู่การทำร้ายตนเองได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาประสบการณ์ทำร้ายตนเองของผู้ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการ</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>:</strong> เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลคัดเลือกแบบเจาะจง เฉพาะผู้ใช้กัญชาเพื่อสันทนาที่เข้ารับการบำบัดรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีประสบการณ์ทำร้ายตนเอง จำนวน 10 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม พ.ศ. 2565 ใช้เวลาในการสัมภาษณ์<br />ครั้งละประมาณ 60 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์แก่นสาระ</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> พบว่า ผู้ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการที่ทำร้ายตนเอง ส่วนใหญ่ทำร้ายตนเองโดยไม่ฆ่าตัวตาย มีมูลเหตุมาจากการเคยมีประสบการณ์คนในครอบครัวและตนเองเคยทำร้ายตนเองมาก่อน เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ ติดเชื้อ HIV ขาดยารักษาโรคทางจิต ซึมเศร้า เจอวิกฤติในชีวิต น้อยใจและเสียใจ ประชด ถูกบุลลีในโซเชียลมีเดีย ทำตามคำท้าทาย เห็นตามสื่อต่าง ๆ และควบคุมตนเองไม่ได้ขณะเมากัญชา ลักษณะพฤติกรรมทำร้ายตนเอง ได้แก่ ทำให้บาดเจ็บโดยไม่ใช้อุปกรณ์ และใช้อุปกรณ์ กินยาเกินขนาด ผู้ใช้กัญชารับรู้ว่าการใช้กัญชามีความเกี่ยวข้องกับการทำร้ายตนเอง ทำให้ร่างกายบาดเจ็บ มีแผลและแผลเป็น เกลียดรูปลักษณ์ตัวเอง กังวลต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น อับอายและรู้สึกผิด เป็นตราบาปถูกมองว่าเป็นคนหลอกลวง มีความยากลำบากในการมีสัมพันธภาพกับคนอื่น</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>:</strong> การทำร้ายตนเองของผู้ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการมีความเกี่ยวข้องกับการทำร้ายตนเองจนได้รับผลกระทบต่อร่างกายและจิตสังคม</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>:</strong> สามารถนำผลการวิจัยนี้ไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการคัดกรอง และการบำบัดทางจิตสังคมหลังการทำร้ายตนเองควบคู่กับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการ เพื่อป้องกันการทำร้ายตนเองซ้ำและเพื่อให้เลิกใช้กัญชาต่อไป</p> ศริญญา ชาญสุข สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี จิตติมาวรรณ บำรุงรส Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-29 2025-04-29 41 1 121 132 ความสัมพันธ์ระหว่างมุมมองทางบวกในการดูแล ภาระการดูแล และการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยทางจิตในชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/275172 <p><strong>บทนำ: </strong>การดูแลผู้ป่วยทางจิตอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ผู้ดูแลรับรู้ถึงความรู้สึกเป็นภาระในการดูแล และก่อให้เกิดความเครียด ทำให้ไม่มีกำลังใจในการปรับตัวและแก้ไขปัญหาในการดูแลผู้ป่วยทางจิตได้ ส่งผลให้ผู้ดูแลมีมุมมองที่ไม่ดีต่อการดูแลผู้ป่วยทางจิต</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย: </strong>เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมุมมองทางบวกในการดูแล ภาระการดูแล และการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยทางจิตในชุมชน</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย: </strong>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation research design) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยทางจิต จำนวน 123 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินมุมมองทางบวกในการดูแล แบบประเมินภาระการดูแลฉบับ 12 ข้อ และแบบประเมินการเผชิญความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>กลุ่มตัวอย่างมีมุมมองทางบวกในการดูแลอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 91.90 มีการเผชิญความเครียดและมีภาระการดูแลอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 100 และ 58.50 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ภาระการดูแลมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมากกับมุมมองทางบวกในการดูแล (r = .20, p &lt;.05) การเผชิญความเครียดมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับภาระการดูแล (r = -.42, p &lt;.01) การเผชิญความเครียดไม่มีความสัมพันธ์กับมุมมองทางบวกในการดูแล <br />(r = -.13, p = .15)</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>ผู้ดูแลผู้ป่วยทางจิตมีมุมมองทางบวกในการดูแลในระดับสูง ภาระการดูแลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับมุมมองการดูแล และมีความสัมพันธ์ทางลบกับการเผชิญความเครียด</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ: </strong>ควรพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะการเผชิญความเครียดเพื่อให้ผู้ดูแลสามารถปรับตัวต่อภาระการดูแลและเผชิญกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ผู้ดูแลรับรู้ถึงความสามารถและคุณค่าของตนเอง ทำให้ผู้ดูแลมีมุมมองที่ดีต่อการดูแลผู้ป่วยทางจิต</p> นิศากร โพธิมาศ แสงเดือน อภิรัตนวงศ์ วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-29 2025-04-29 41 1 133 144 ผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อป้องกันและจัดการภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ ในผู้ป่วยได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูงต่ออุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/275739 <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> ภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย โดยเฉพาะยาที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งการเฝ้าระวังและการป้องกันอย่างทันทวงที สามารถป้องกันความรุนแรงได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อป้องกันและจัดการภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับยาความเสี่ยงสูงต่ออุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>: </strong>เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับยาความเสี่ยงสูง 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 35 คน และพยาบาลวิชาชีพ 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรม 2) แบบบันทึกการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ 3) แบบประเมินภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ 4) แบบสังเกตความสม่ำเสมอในการปฏิบัติของพยาบาล และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา = 1.0, 1.0, .95 และ 1.0 และค่าความเชื่อมั่น = .85 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Relative risk และ One sample t-test</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> พบว่า อุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (RR = .56, 95% Cl .338 – .921, p = .031) โดยกลุ่มทดลองเกิดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม .56 เท่า ความสม่ำเสมอของพยาบาลอยู่ในระดับดีมาก เฉลี่ยร้อยละ 90.36 (t = 6.64, p &lt;.001) และความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เฉลี่ยร้อยละ 87.05 (t = 2.11, p &lt;.05)</p> <p><strong>สรุปผล:</strong> โปรแกรมการพยาบาลนี้ สามารถป้องกันและจัดการภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบได้</p> ภัทรานุช ภูคำ ปาริชาติ วงศ์ก้อม Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-29 2025-04-29 41 1 145 157 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเอกชน จังหวัดกรุงเทพมหานคร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/275169 <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> การสูบบุหรี่ไฟฟ้าก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ อีกทั้งเป็นอันตรายต่อผู้สูบและผู้ได้รับควันบุหรี่</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย: </strong>เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แนวทางการพัฒนานโยบายป้องกันและควบคุม รวมถึงความคิดเห็นต่อการปรับปรุงนโยบาย</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย: </strong>การวิจัยแบบผสมระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณคือนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจในมหาวิทยาลัยเอกชน กรุงเทพฯ จำนวน 340 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Chi-Square ส่วนกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพคือผู้บริหารสถานศึกษา 10 คน ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก<br />และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.20 อายุ 18 - 21 ปี ร้อยละ 52.10 บุคคลใกล้ชิดที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า ได้แก่ พ่อ ร้อยละ 18.50 พี่น้อง ร้อยละ 18.80 และเพื่อนสนิท ร้อยละ 32.10 นักศึกษาส่วนใหญ่เริ่มสูบอายุ 18 ปี สูบ 1 - 2 ครั้งต่อวัน ร้อยละ 29.70 การเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าทำได้ง่าย ร้อยละ 23.20 สาเหตุการสูบ คือ ต้องการทดลอง ร้อยละ 8.50 ชื่นชอบกลิ่นและรสชาติที่หลากหลาย ร้อยละ 20.60 มีทัศนคติเชิงบวก ร้อยละ 34.70 เชื่อว่ามีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนและมองเป็นแฟชั่น ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูบ คือ การสูบของพ่อ พี่น้อง ทัศนคติ และการพบเห็นโฆษณา ด้านผู้บริหารพบว่ามหาวิทยาลัยมีมาตรการควบคุมที่สอดคล้องกับแนวคิดแบบบูรณาการ ทั้งด้านกฎระเบียบ การรณรงค์ให้ความรู้และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการไม่สูบ</p> <p><strong>สรุปผล:</strong> บุหรี่ไฟฟ้าได้รับความนิยมในนักศึกษาเนื่องจากเข้าถึงง่าย ความอยากทดลอง ทัศนคติเชิงบวก และอิทธิพลจากสื่อโฆษณา แม้มหาวิทยาลัยมีนโยบายควบคุมแต่ยังไม่เพียงพอ</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ: </strong>ควรเสริมสร้างความรู้ ควบคุมสื่อโฆษณา ปรับปรุงนโยบาย จัดตั้งพื้นที่ปลอดบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเข้มงวด บังคับใช้กฎหมายและนโยบายในสถานศึกษา โดยเฉพาะการควบคุมการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษา</p> ธัญวรรณ เกิดดอนทราย วศิน พิพัฒนฉัตร ชลิตา ชยุตรากรณ์ ศรัญญา แจ้งขำ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-29 2025-04-29 41 1 158 169 การพัฒนารูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ในหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการยับยั้งการคลอด โรงพยาบาลอุดรธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/277923 <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารก เป็นสาเหตุการเสียชีวิตและพิการในทารกแรกเกิด</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>: </strong>เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการทางการพยาบาล เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการยับยั้งการคลอด</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>:</strong> การวิจัยและพัฒนา มี 4 ระยะ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัญหา 2) พัฒนารูปแบบการจัดการทางการพยาบาล 3) นำไปใช้จริงกับพยาบาลวิชาชีพ 10 คน หญิงตั้งครรภ์ 60 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 4) ประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติการพยาบาล แบบวัดสมรรถนะด้านทักษะ แนวทางการนิเทศ แบบประเมินการนิเทศ คำถามการประชุมกลุ่ม และแบบประเมินปัจจัยเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนด มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1 ส่วนแบบวัดความรู้ มีความน่าเชื่อถือ (KR-20) เท่ากับ .70 แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาล มีความน่าเชื่อถือ เท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ ฟิชเชอร์ เอ็กแซค และสถิติที</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> รูปแบบการจัดการทางการพยาบาล มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวปฏิบัติการพยาบาล 2) สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ และ 3) การนิเทศทางคลินิก ผลลัพธ์ด้านผู้รับบริการ ภายหลังใช้รูปแบบการจัดการทางการพยาบาล กลุ่มทดลองมีอัตราการคลอดก่อนกำหนด และอาการเป็นพิษจากยายับยั้งการคลอด น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;.05) ส่วนการกลับเข้ามารับการรักษาซ้ำระหว่างสองกลุ่ม ไม่แตกต่างกัน ด้านผู้ให้บริการ พยาบาลวิชาชีพ มีความรู้สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;.05) ด้านทักษะปฏิบัติได้ ร้อยละ 96.88 การปฏิบัติตามรูปแบบได้ถูกต้อง ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 และพยาบาลพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการทางการพยาบาลในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.87, SD = .13)</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>:</strong> รูปแบบการจัดการทางการพยาบาล สามารถลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด และอาการเป็นพิษจากยายับยั้งการคลอดได้</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>: </strong>ผู้บริหารควรกำหนดนโยบายให้นำรูปแบบการจัดการทางการพยาบาลไปใช้อย่างต่อเนื่อง และนำไปประยุกต์ใช้ในโรงพยาบาลทั่วไป</p> ผดาวดี สาฆะ อริยา ศรีสองเมือง สุพัตรา ช่างทาพิน วัลภา ศรีบุญพิมพ์สวย จิตตานันท์ ศรีสุวรรณ์ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-29 2025-04-29 41 1 170 181 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การติดนิโคติน และการสัมผัสควันบุหรี่มือสองของ บุคลากรและนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/275289 <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> การสูบบุหรี่ การติดนิโคติน และการสัมผัสควันบุหรี่มือสอง เพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในระยะสั้นและระยะยาว บุคลากรและนักศึกษาที่ศึกษาในคณะพยาบาลศาสตร์เป็นบุคลากรที่สำคัญด้านสุขภาพ ยังต้องบริการด้านวิชาการและด้านสุขภาพให้กับประชาชนโดยตรง จึงจำเป็นต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทางสุขภาพส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเลิกสูบบุหรี่</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> เพื่อสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ระดับการติดนิโคติน และการสัมผัสควันบุหรี่มือสองของบุคลากรและนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong><strong>:</strong> การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรและนักศึกษาพยาบาลใน 8 วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ปีการศึกษา 2567 สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยแบ่งชั้นประชากรตาม 4 ภูมิภาค สุ่มวิทยาลัยพยาบาลในแต่ละภูมิภาคอย่างน้อย 2 วิทยาลัย และสุ่มระดับชั้นปีเพื่อเก็บข้อมูล เลือกตามคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างที่กำหนด จำนวน 1,520 คน (นักศึกษา 1,400 คน บุคลากร 120 คน) เครื่องมือที่ใช้ใน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ แบบสอบถามการติดนิโคติน และแบบสอบถามการสัมผัสควันบุหรี่มือสอง เก็บข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามผ่านออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 89.80 มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ร้อยละ 1.20 โดยเป็นเพศชายทั้งหมด เหตุผลที่สูบบุหรี่ คือ ทำให้ดูบุคลิกภาพดี ร้อยละ 66.67 คลายเครียด ร้อยละ 55.56 กลุ่มตัวอย่างที่สูบบุหรี่ทั้งหมดสูบบุหรี่ที่ห้องพักนอกสถานศึกษา และเคยพยายามเลิกบุหรี่แต่ไม่สำเร็จ ในภาพรวมผู้สูบบุหรี่ติดนิโคติน ในระดับต่ำ ร้อยละ 100 การสัมผัสควันบุหรี่มือสองพบได้บริเวณด้านหน้าหรือด้านหลังประตูรั้วของวิทยาลัย ร้อยละ 90.80</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>:</strong> นักศึกษาและบุคลากรในวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกมีผู้ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่จำนวนน้อย ผู้ที่สูบบุหรี่ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีระดับการติดนิโคตินในระดับต่ำ เคยพยายามเลิกบุหรี่แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากมีความเครียดและมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการสูบบุหรี่</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>:</strong> ควรเพิ่มการรณรงค์ให้นักศึกษาและบุคลากรมีความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงจัดโปรแกรมหรือกิจกรรมที่เหมาะสมให้ผู้ที่สูบบุหรี่เลิกสูบได้สำเร็จ</p> สุกัญญา สุรังษี เพ็ญพรรณ พิทักษ์สงคราม กฤษณา อุไรศรีพงศ์ จารุวรรณ ศุภศรี ปรีดานันต์ ประสิทธิ์เวช Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-29 2025-04-29 41 1 182 193 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดอาหารต่อพฤติกรรมการจัดอาหารของผู้ดูแล และภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/274820 <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>โภชนาการมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก การส่งเสริมพฤติกรรมการจัดอาหารของผู้ดูแล จะส่งผลให้เด็กวัยก่อนเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มีน้ำหนักเป็นไปตามมาตรฐาน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดอาหารต่อพฤติกรรรมการจัดอาหารของผู้ดูแลและภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย: </strong>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดอาหารของผู้ดูแล แผนการส่งเสริมพฤติกรรมการจัดอาหาร แบบบันทึกการจัดเตรียมอาหาร แบบบันทึกภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าทีแบบจับคู่</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>ผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดอาหารสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;.05) และพบว่าเด็กวัยก่อนเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีภาวะโภชนาการโดยน้ำหนักเทียบกับอายุ ส่วนสูงเทียบกับอายุ และน้ำหนักเทียบกับส่วนสูง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;.05)</p> <p><strong>สรุปผล:</strong> โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการจัดอาหารของผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ช่วยสนับสนุนให้ผู้ดูแลเด็กมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการและเด็กวัยก่อนเรียนมีภาวะโภชนาการตามวัยดีขึ้น</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ: </strong>ควรเพิ่มจำนวนของกลุ่มตัวอย่าง ศึกษาวิจัยแบบสองกลุ่มเปรียบเทียบวัดผลก่อน-หลัง เพิ่มระยะเวลาของการเก็บข้อมูล เพื่อให้ผลการวิจัยสมบูรณ์มากขึ้น</p> ณิศาพิชญาภัค มีสมศักดิ์ อุษา โถหินัง ณัฐยา ศรีทะแก้ว Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-29 2025-04-29 41 1 194 204 ผลของโปรแกรมกลุ่มประคับประคองต่อความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/275378 <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>นักศึกษาพยาบาลที่มีความแข็งแกร่งในชีวิตจะส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดีและสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>: </strong>ศึกษาผลของโปรแกรมกลุ่มประคับประคองต่อความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาล</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย:</strong> เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบวัด 2 กลุ่มก่อน หลังและติดตาม 1 เดือน กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน จำนวน 60 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง 30 คนและกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกลุ่มประคับประคอง ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 4 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมกลุ่มประคับประคอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีบรอนเฟอร์โรนี</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความแข็งแกร่งในชีวิตในระยะหลังทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;.001) และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลในระยะหลังทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือนสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง <br />อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;.001)</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>: </strong>โปรแกรมส่งผลให้ความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ดีขึ้น</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong><strong>:</strong> ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน สำหรับอาจารย์ในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต รวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีอื่น ๆ</p> ปวิดา โพธิ์ทอง เสาวลักษณ์ ศรีโพธิ์ สุพัตรา จันทร์สุวรรณ สุนทรี ขะชาตย์ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-29 2025-04-29 41 1 205 215 การเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ: แนวทางสู่การปฏิบัติทางคลินิก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/277172 <p><strong>บทนำ:</strong> ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะสั้นและระยะยาวจากการนอนนิ่งบนเตียงเป็นเวลานาน เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ข้อยึดติด ปอดอักเสบติดเชื้อและการฟื้นตัวล่าช้า ส่งผลให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลนานขึ้น มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันลดลง ต้องพึ่งพาผู้อื่นส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลงภายหลังออกจากโรงพยาบาล การเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและส่งเสริมการฟื้นคืนสมรรถภาพของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อเสนอแนวทางปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้หลักฐานในการส่งเสริมการเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ รวมถึงเกณฑ์การประเมินความพร้อม ข้อห้าม บทบาทของพยาบาล และการนำไปใช้จริงในทางคลินิก</p> <p><strong>ประเด็นสำคัญ:</strong> แนวทางการเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วควรเริ่มภายใน 24 - 96 ชั่วโมงหลังเข้ารักษาใน ICU หรือทันทีที่ผู้ป่วยมีอาการคงที่ โดยประเมินจากสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว และความสามารถในการหายใจ พยาบาลมีบทบาทการประเมิน เตรียมความพร้อม ลงมือปฏิบัติ ติดตามผล สื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว และวางแผนการทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ</p> <p><strong>สรุป:</strong> ควรปฏิบัติการเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วเป็นประจำทุกวัน นานครั้งละ 10 - 15 นาที การเพิ่มความหนักเบาแบบก้าวหน้าตั้งแต่การเคลื่อนไหวบนเตียงจนถึงนอกเตียง ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยปรับให้เหมาะสมกับความทนต่อกิจกรรมของผู้ป่วย แนวทางนี้ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถช่วยส่งเสริมการฟื้นตัว ช่วยลดภาวะแทรกซ้อน ลดระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจและระยะเวลานอนใน ICU ได้อย่างมีนัยสำคัญ</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ:</strong> แนวทางนี้สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยที่มีความพร้อมทางร่างกายตามเกณฑ์ที่กำหนด และไม่มีข้อห้ามในการเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็ว พยาบาลควรดำเนินกิจกรรมอย่างระมัดระวัง โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นลำดับแรก ภายใต้ความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพ จะส่งเสริมให้การเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย</p> มุขพล ปุนภพ ธารทนา สุปรียธิติกุล เตชิต จิระวิชิตชัย Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-30 2025-04-30 41 1 216 228 ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น: องค์ความรู้และความท้าทายของการส่งเสริมสุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/277700 <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> สถานการณ์ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะ เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะส่งผลกระทบต่อกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงในปัจจุบัน การเข้าใจถึงพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรม แนวทางการป้องกัน และความท้าทายในการดำเนินการป้องกันปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ที่สำคัญ ได้แก่ พฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเชิงสาเหตุ และแนวทางการเสริมสร้างพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และความท้าทายในการส่งเสริมสุขภาพ</p> <p><strong>ประเด็นสำคัญ</strong><strong>: </strong>พฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สำหรับกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น ได้แก่การหลีกเลี่ยงโอกาสหรือสถานการณ์เสี่ยงต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีปัจจัยสาเหตุของพฤติกรรมที่สำคัญ คือ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความคาดหวังผลในการป้องกันตนเองจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง แนวทางการเสริมสร้างพฤติกรรมป้องกันและความท้าทายในการส่งเสริมสุขภาพในปัจจุบัน คือ 1) บทบาทและการบูรณาการกิจกรรมเพื่อการป้องกันในสถานศึกษาหรือในชุมชน และ 2) งานวิจัยที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> การส่งเสริมให้กลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่นมีพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องคำนึงถึงปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรม และพัฒนาโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยคำนึงถึงความท้าทายของการส่งเสริมสุขภาพในปัจจุบันให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ:</strong> องค์ความรู้ที่สำคัญ และความท้าทายในการส่งเสริมสุขภาพสามารถนำไปพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการวิจัยในกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น เพื่อที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน </p> นันท์นภัส นามเกษม นันท์นภัส เกตน์โกศัลย์ จักรกฤษณ์ พลราชม Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0 2025-04-30 2025-04-30 41 1 229 239