Journal Information
จริยธรรมการตีพิมพ์
มาตรฐานทางจริยธรรมของการตีพิมพ์
วารสารวิจัยสุขภาพ และการพยาบาล
บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ของผู้นิพนธ์
- ผู้นิพนธ์จะต้องส่งเฉพาะ ผลงานวิจัยหรือวิชาการที่ไม่เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน และจะต้องแน่ใจว่าผลงานดังกล่าวนั้นไม่ได้ทำการคัดลอก หรือทำซ้ำผลงานของบุคคลอื่น
- ผู้นิพนธ์จะต้องเตรียมบทความตามคำแนะนำที่ทางวารสารกำหนดให้ถูกต้องและครบถ้วน หากผลงานวิจัย มีการวิจัยในมนุษย์ ผู้วิจัยจะต้องแนบหนังสือรับรองจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยระบุหมายเลขหรือรหัสการรับรองลงในเนื้อหาในส่วนของ “การพิจารณาด้านจริยธรรม”
- ผู้นิพนธ์จะต้องมีการใส่อ้างอิงทุกครั้งที่มีการนำข้อมูล รูปภาพ หรืออื่น ๆ ของบุคคลอื่นมาใช้ในผลงานของตนเอง และจะไม่คัดลอกข้อมูลมากจนเกินเหตุ
- ผู้นิพนธ์จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ร่วมนิพนธ์ทุกท่านการส่งบทความมาลงตีพิมพ์ในวารสาร
- ผู้นิพนธ์จะต้องปฏิบัติตามกฎและกติกาที่วารสารกำหนด และหากมีการละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตาม จะต้องเคารพการตัดสินจากวารสาร และจะไม่ดำเนินการอุทธรณ์ หรือเรียกร้องใด ๆ
- ผู้นิพนธ์จะต้องไม่สืบหาข้อมูลผู้ประเมินจากทางวารสาร เนื่องจากเป็นการประเมินแบบ Double-Blind Review เพื่อป้องกันปัญหาความไม่พึงพอใจในการประเมิน
- ผู้นิพนธ์จะต้องยอมรับการตัดสินใจจากบรรณาธิการในทุกกรณี
บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ของผู้ประเมินบทความ
- ผู้ประเมินบทความจะต้องมีความสามารถและความเชี่ยวชาญในสาขาที่ต้องประเมิน เพื่อให้บทความได้รับการประเมินอย่างถูกหลักเนื้อหาวิชาการ
- ผู้ประเมินจะต้องศึกษาข้อมูลคำแนะนำจากทางวารสาร เพื่อให้สามารถประเมินได้ถูกต้อง
- ผู้ประเมินจะต้องไม่หาประโยชน์ส่วนตน หรือประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับบทความที่เป็นผู้ประเมิน
- ผู้ประเมินจะต้องให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมา และไม่ใช้อคติในการประเมิน
- ผู้ประเมินจะต้องตรวจสอบความซ้ำซ้อนของงานวิจัย ว่ามีการคัดลอก หรือซ้ำซ้อนงานวิจัยอื่น ๆ หรือไม่
- ผู้ประเมินจะไม่สืบหาข้อมูลผู้นิพนธ์ เนื่องจากการประเมินจะเป็นในรูปแบบของ Double-Blind Review เพื่อป้องกันการใช้อคติในการประเมิน
- ผู้ประเมินจะต้องมีความรับผิดชอบ และไม่ทิ้งงาน ต้องประเมินและส่งกลับตามเวลาที่กำหนด และไม่ควรส่งล่าช้าแบบไม่มีเหตุอันควร
- ผู้ประเมินสามารถเสนอแนะแหล่งของข้อมูล หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบทความวิจัยให้กับผู้นิพนธ์
บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ของบรรณาธิการ
บรรณาธิการควรจะต้องรับผิดชอบต่อทุกสิ่งที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารในความรับผิดชอบของตน กล่าวคือ:
- บรรณาธิการมีหน้าที่ประเมินคุณภาพ และมีอำนาจการตัดสินใจในการตอบรับหรือปฏิเสธบทความในการตีพิมพ์เผยแพร่
- บรรณาธิการจะต้องไม่รับบทความที่เคยมีการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หรืออยู่ระหว่างการส่งพิจารณาตีพิมพ์อย่างที่อื่น
- บรรณาธิการจะต้องวางตัวเป็นกลางในการประเมินคุณภาพ ไม่ใช้อคติส่วนตัวในการตัดสินบทความ ไม่ว่าบทความที่ได้รับจะเป็นของบุคคลใดก็ตาม
- ในการยอมรับหรือปฏิเสธบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ บรรณาธิการตัดสินใจภายใต้เกณฑ์ที่เป็นไปตามหลักสากล ใช้เหตุผลและความถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น ความสำคัญ ความใหม่ และความชัดเจนของบทความวิจัย ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับขอบเขตข้อกำหนดของวารสาร
- บรรณาธิการจะต้องไม่หาประโยชน์ส่วนตน หรือประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลอื่น ๆ
- บรรณาธิการจะไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพ แก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเด็ดขาด
- บรรณาธิการจะต้องปฏิบัติต่อผู้นิพนธ์ทุกท่านอย่างเท่าเทียมกัน เป็นไปตามขั้นตอนที่วารสารกำหนด