ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติบทบาทโค้ช การคิดอย่างเป็นระบบเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรด้านสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • มกราพันธุ์ จูฑะรสก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • แสงดาว จันทร์ดา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อัจฉรา ชนะบุญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กาญจนา ดาวประเสริฐ โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง
  • อณิษฐา จูฑะรสก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • รุ่งอรุณ กระมุทกาญจน์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การคิดอย่างเป็นระบบเชิงสร้างสรรค์, การโค้ชทางความคิด, การสะท้อนคิดด้วยเทคนิคตะกร้า 3 ใบ

บทคัดย่อ

บทนำ: โค้ชการคิดอย่างเป็นระบบเชิงสร้างสรรค์ ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาได้เต็มศักยภาพ เกิดการเรียนรู้กระบวนการคิด เปลี่ยนผ่านไปสู่ความคิดแบบเติบโต

วัตถุประสงค์การวิจัย: ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านบริหาร และปัจจัยด้านกระบวนการโค้ช กับการปฏิบัติบทบาทโค้ชการคิดอย่างเป็นระบบเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรด้านสุขภาพ

ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ที่ผ่านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้ระบบครอบครัวเสมือนจำนวน 127 คน ใช้เครื่องมือ 1) แบบวัดทักษะกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบเชิงสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคตะกร้า 3 ใบ มีค่าความเที่ยง .99  2) แบบวัดกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย Spearman's Rank correlation และการวิเคราะห์เนื้อหา 

ผลวิจัย: พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านบริหาร ด้านกระบวนการโค้ช และการปฏิบัติบทบาทโค้ชการคิดอย่างเป็นระบบเชิงสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านทักษะกระบวนการเรียนรู้พัฒนาความคิดแบบเติบโต มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และปัจจัยด้านบริหารกับปัจจัยด้านกระบวนการโค้ช มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทักษะกระบวนการเรียนรู้ในการสร้างความคิดแบบเติบโต การสร้างนวัตกรรม และการสะท้อนคิดด้วยพลังคำถาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ พบว่า 1) บรรยากาศการเรียนรู้เป็นกัลยาณมิตร ใช้สุนทรียสนทนา สะท้อนคิดมองภาพแบบองค์รวม และมองประโยชน์ส่วนรวม 2) กระบวนการทางความคิด ได้มุมมองทางความคิดแบบใหม่ หลากหลายมิติเมื่อฟังกันอย่างลึกซึ้ง  เข้าใจคนอื่น และคิดเชื่อมโยง 3) มีกระบวนการสร้างสรรค์ความคิดใหม่ต่อส่วนรวม เกิดความตระหนักรู้ต่อบทบาทของตน

สรุปผลการวิจัย: ปัจจัยด้านบริหารองค์การเชิงนโยบาย และปัจจัยด้านกระบวนการโค้ช มีความสัมพันธ์ทางบวก กับการปฏิบัติบทบาทโค้ชการคิดอย่างเป็นระบบเชิงสร้างสรรค์

ข้อเสนอแนะ: สนับสนุนการโค้ชเป็นนโยบายในการจัดการศึกษาและส่งเสริมให้อาจารย์ผู้สอนมีทักษะในการโค้ชกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบเชิงสร้างสรรค์

Downloads

Download data is not yet available.

References

Siriporn L, Jutarosaga M, Charoensuk S, Nopaphanlop F, Santwanpas N. Integrated education model of systems thinking and humanized health care within multi–cultural society, Praboromarajchanok Institute. Journal of Nursing and Education 2014;7(1):39-54. (in Thai)

Prombuasri P, Swangwatanasade O, Anucha C, Klayhiran W, Klayhiran W, Likitpongwit B, et al.The integrated education model of professional learning community, coaching, reflection and power question of the nursing colleges, Praboromarajchanok Institute. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2016;27(1):60-72. (in Thai)

Prombuasri P, Swangwatanasade O. Development of coaching instructor in 21st century. Journal of Health Science Research 2017;11(1):110 –121. (in Thai)

Jutarosaga M, Amornrojanavaravutti W, Charoensuk S, Tippayaphalapholgul B, Jutarosaga A. Innovative curriculum: Creative systems thinking and humanized healthcare in a multicultural society toward creating innovation in the areas of healthcare and public health services, Boromarajchanok Institute Ministry of Public Health. Journal of Health Science 2021;30(1):141-157. (in Thai)

Kittiraktrakul S, Jutarosaga M, Watanasrisen J, Panomrit S, Ariyanon W, Assavapittaya P, et al. Developing a network model: Humanized health care among nursing colleges under the Praboromarajanok Institute, Thailand. Journal of Nursing Division 2011;38(1):16-30. (in Thai)

Hanpattanachaikun S, Jutharosoka M, Siriporn L, Watanasrisen J, Charoensuk S, Amornrojanavaravutti W, et al. Community health development by using virtual family systems: One college, one community. Public Health Nurse Journal 2014;24(1):67-79. (in Thai)

Siriporn L, Jutarosaga M, Charoensuk S, Nopaphanlop F, Santwanpas N. Integrated education model of systems thinking and humanized health care within multi–cultural society, Praboromarajchanok Institute. Journal of Nursing and Education 2014;7(1):39-54. (in Thai)

Jutarosaga M, Prombuasri P, Amornrojanavaravutti W, Charoensuk S, Attohi P, Jutarosaga A, et al. Reflection pathway of humanized health care learning process reform by a simulated family model to a community of practice. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2017;27(2):31-46. (in Thai)

Wongyai W, Patphol M. Coaching paradigm for enhance hands-on and mind-on learning 2nd ed. Bangkok: Jaransanitwong Printing; 2019. (in Thai)

Jutarosaga M, Mahaprom T, Somtua N, Komaratat S, Sansuk J, Chanaboon A, et al. Effect of the humanizes health care development with simulated family system on systematic creative thinking skills with three baskets technique among health care personnel. Journal of Research and Curriculum Development 2021;11(1):49-70. (in Thai)

Silanoi L. How to use the appropriate statistical formulas for determining the sample size for quantitative research designs in the humanities and social science study. Journal of Research and Development 2017;12(2):50-61. (in Thai)

Amornrojanavaravutti W, Somtua N, Tippayaphalapholgul B. Integrated learning management for nursing student development in humanized health care, Praboromrachanok Institute. Journal of Research and Curriculum Development 2020:10(1):125-151. (in Thai)

Sergiovanni T. Building community in schools. San Francisco: Jossey-Bass;1994.

Sergiovanni T. Leadership as pedagogy, capital development and school effectiveness. International Journal of Leadership in Education 1998:1(1):37-46.

DuFour R, DuFour R. The School leader’s guide to professional learning communities at work. U.S.A.: Solution Tree;2012.

Emira M. Leading to decide or deciding to lead? Understanding the relationship between teacher leadership and decision making. Educational Management Administration & Leadership 2010;38(5):591–612.

Wongyai W, Phatphon M. Lecture document on the project of developing a systematic thinking process for integrated education management under the learning process of service mind with human heart 3-5 April 2013. Kanchanaburi;2013.(in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-25