การยอมรับการใช้เทคโนโลยี เว็บไซต์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ ต่อการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของมารดาวัยรุ่น
คำสำคัญ:
มารดาวัยรุ่น , พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ , การรับรู้ความง่าย , การรับรู้ประโยชน์ , เว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์บทคัดย่อ
บทนำ: พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในระยะหลังคลอดมีความสำคัญต่อมารดาวัยรุ่น การมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมจะส่งผลให้มารดาวัยรุ่นมีสุขภาพดี
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่อการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของมารดาวัยรุ่น
ระเบียบวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาวัยรุ่นที่มีอายุ 13 – 19 ปี ในระยะหลังคลอด 6 - 8 สัปดาห์ ที่มารับการตรวจหลังคลอดในคลินิกนรีเวชกรรมวางแผนครอบครัว และที่นำบุตรมาตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลหาดใหญ่และโรงพยาบาลสงขลา ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 จำนวน 102 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ประเมินใน 3 ด้าน ได้แก่ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพนำมาจากแบบประเมินที่เจิดนภา แสงสว่าง บังอร ศุภวิทิตพัฒนาและพรรณพิไล ศรีอาภรณ์สร้างขึ้นจากกรอบแนวคิดของเพนเดอร์และคณะ และการทบทวนวรรณกรรม แบบประเมินการรับรู้ความง่ายและแบบประเมินการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานของเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่อการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่พัฒนาและสร้างขึ้นในวิจัยนี้จากกรอบแนวคิดของเดวิส และการทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัย: 1. มารดาวัยรุ่นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 95.10) มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับมาก และมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 174.30 (SD = 14.38) 2. มารดาวัยรุ่นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 96.10) มีการรับรู้ความง่ายในการใช้งานเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่อการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับมาก และมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 23.91 (SD = 2.33) 3. มารดาวัยรุ่นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 97.10) มีการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่อการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับมาก และมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 24 (SD = 1.98) 4. การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่อการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของมารดาวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .594, r = .645, p < .01 ตามลำดับ)
สรุปผล: ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมสุขภาพของมารดาวัยรุ่น และเป็นข้อมูลสำหรับการวิจัยในลำดับต่อไป เพื่อได้แนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของมารดาวัยรุ่น
ข้อเสนอแนะ: ควรศึกษาหาปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในมารดาวัยรุ่น
Downloads
References
Sukrat B, Okascharoen C, Rattanasiri S, Aekplakorn W, Arunakul J, Saejeng K, et al. Estimation of the adolescent pregnancy rate in Thailand 2008–2013: an application of capture-recapture method. BMC Pregnancy and Childbirth 2020; 20(1): 71.
Department of Health: Ministry of Public Health. statistics of the birth of adolescent mothers in Thailand [Internet]. 2022 [cited 2022 June 7]. Available from: https://rh.anamai.moph.go.th/th/adolescent-mothers-birth-statistics/3674#wow-book/
Kaeo-dum-koeng K. Health Literacy [Internet]. 2021 [cited 2021 May 2]. Available from:https://hpc13.anamai.moph.go.th/download/HLO/1%20HL%2010%20Principals%20[10June2019]%20print.pdf
Adams L. Health promotion for adolescent mothers. In: Story M, Stang J, editor. Nutrition and the pregnant adolescent a practical reference guide. Minnesota: Center for leadership, education, and training in maternal and child nutrition; 2012. p. 213-220.
Jodnok A, Hornboonherm P, Kaownakai J, J ordnork K, Ketjirachot R. Knowledge and behavior in postpartum self-care and child care among teenage mothers at post partum ward at Mahasarakham hospital. Science Technology and Engineering Journal 2013; Special edition:548-556. (in Thai).
Aikvanich J. The self - esteem, perception of health promotion benefits, and health promotion behaviors of postpartum mothers in Muang district, Phuket province. Graduate school, Phuket Rajabhat University 2007;120.
Tulman L, Fawcett J. Return of functional ability after childbirth, Nursing Research 1988; 37(2): 77-81.
Pender N J, Murdaugh C L, Parsons M A. Health promotion in nursing practice. 6thed. New Jersey: Prentice-Hall; 2011.
Sarreira de Oliveira P, Néné M. Nursing care needs in the postpartum period of adolescent mothers: Systematic review, Journal of Nursing UFPE Online 2014; 8(11): 3953-3961.
Corbett M, Meyer J H. The adolescent and pregnancy. Boston: Blackwell Scientific Publications; 1987.
Wannaphapha T. Social media with education. Journal of Education, Mahasarakham University 2017; 11(1):20. (in Thai).
Pithiwatchotikul N. Mobile technology acceptance, social media marketing, and online consumer behavior affecting online products’ purchase intention through application of customers in Bangkok. Graduate School, Bangkok University 2017;1-140.
Electronic Transactions Development Agency. The use of social networks for health care [Internet]. 2019 [cited 2019 Oct 28]. Available from: https://www.etda.or.th/.
Davis F D. Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly 1989;13(3): 319-340.
House, J. S. The nature of social support in M.A. Reading (Ed.), Work stress and social support. Addison–Wesley; 1981.
Williamson, A. Social media guidelines for parliaments [Internet]. 2013 [cited 2022 June 7]. Available from: http://archive.ipu.org/PDF/publications /SMG2013EN.pdf.
Datareportal. DIGITAL 2020: THAILAND [Internet]. 2020 [cited 2022 7June 7]. Available from: https://datareportal.com/reports/ digital-2020-thailand; 2020.
Thongmullek T, Vichitthamaros P. The Study of factors affecting acceptance and use of social network of people in Thailand. The Journal of Social Communication Innovation 2017; 2(10):114-124. (in Thai).
Rakjing, P., Rotrat, W., Engchuan, W., & Raksanam, B. Effectiveness of social care network model on self-care and infant care of postpartum mothers in Sikao hospital Trang province. Thai Journal of Public Health and Health Sciences 2018;2(3):69-79. (In Thai).
Khoonphet C. Lifestyles of first-time adolescent mothers [master’s thesis]. Songkla: Prince of Songkla University; 2014.
Rungsiriwattanakit T. The Development of model to promoting self-care behaviors of adolescence pregnancy [master’ thesis]. Phetchaburi: Krirk university; 2018.
Kruaysawat N. Factors affecting the behavior of online social networks. Journal of Information Science 2010;28(3):81-88. (in Thai).
Polit D F, Lake E. Statistics and data analysis for nursing research. Boston: Pearson; 2010.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nded. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates Publishers; 1988.
Chutimasakul W, Pathumwan M. Using Social Networks to Promote Welfare of Rural People: A Case Study of Thailand. In: The 5th National and International Graduate Study Conference “Creative Education: Intellectual Capital toward ASEAN; 2015 Jul 16-17; Bangkok, Thailand. Graduate school, Silpakorn University; 2015.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น