การศึกษาพฤติกรรมความรุนแรงและความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้าง ความฉลาดทางสังคมเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงศ์ สิงห์สาธร
  • พัชรี ดวงจันทร์
  • อนันต์ มาลารัตน์
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมความรุนแรง, ความฉลาดทางสังคม, วัยรุ่น

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมความรุนแรงและความต้องการจำเป็น ในการสริมสร้างความฉลาดทางสังคมเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่วัยรุ่นอายุ 12-15 ปี ในเขตอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มแบบหลายชั้น และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ จำนวน 10 ท่าน รวมทั้งใช้การสนทนากลุ่ม 2 กลุ่ม แบ่งเป็น กลุ่มตัวแทนวัยรุ่น จำนวน 15 คน กลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมรุนแรง 10 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และดัชนีเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นโดยวิธี Modified Priority Needs Index (PNImodified)และ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้าในการสร้างข้อสรุปและยืนยันข้อสรุป

          ผลการศึกษาพบว่าจากแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 47.45 อายุ 14 ปี มากที่สุด ร้อยละ 42.00 เพศหญิงมากกว่าเพศชายคิดเป็น ร้อยละ 25.00 และ 22.75 ตามลำดับ วัยรุ่นส่วนใหญ่มีพฤติกรรมความรุนแรงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 78.00 พฤติกรรมความรุนแรงในวัยรุ่นที่พบมากที่สุด คือพฤติกรรมความรุนแรงต่อตนเอง ด้านการคิดหรือฆ่าตัวตาย (Mean=1.47, SD=.78) และการศึกษาความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้าง ความฉลาดทางสังคมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น พบว่า 1) ด้านพฤติกรรมความรุนแรง ประเด็นการคิดหรือกระทำพฤติกรรมรุนแรงมีความสำคัญสูงสุด (PNIModified=.88) 2) ด้านความฉลาดทางสังคมในการรับรู้เกี่ยวกับสังคมรอบตัวอย่างเข้าใจและถูกต้องมีความสำคัญสูงสุด (PNIModified=.32) จากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มพบข้อสรุปว่าวัยรุ่นที่มีจุดอ่อนในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงหรือมีความบกพร่องในความฉลาดทางสังคมก็จะขาดทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างน้อยลง ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง หรือความรุนแรงเกิดขึ้น สาเหตุความรุนแรงเป็นผลมาจากนิสัยส่วนตัว ครอบครัวและสังคม โดยมีลักษณะในการทำร้ายตนเอง การทำร้ายผู้อื่น ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าวัยรุ่นมีพฤติกรรมความรุนแรงเล็กน้อยอาจนำไปสู่พฤติกรมความรุนแรงที่มากขึ้น จำเป็นในการเสริมสร้างความฉลาดทางสังคมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นประเด็นการคิดหรือกระทำพฤติกรรมรุนแรงและการรับรู้เกี่ยวกับสังคมรอบตัวอย่างเข้าใจและถูกต้องต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. Institute for Population and Social Research. Thai Health 2009 Stop Violence for Well-being of Mankinf. 1st ed. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol

2. World Health Organization. World Report on Violence and Health. Geneva: World Health Organization; 2012.

3. World Health Organization. 10 Facts about Violence Prevention [Internet]. 2014 [cited 2015 September 9]. Avalable from http://www.who.int/features/factfiles/violence/en/

4. World Health Organization. Adolescent development [Internet]. 2015 [cited 2015 January 10] from:
http://www.who.int/maternal_child _ adolescent/topics/adolescence/dev/en/

5. Department of Mental Health, Ministry of Public Health. The development the risk assessment of
occurring violence behavior in vocational students. Nonthaburi: Srithanya Hospital; 2009. (in Thai)

6. Chaiwat T. Intelligence 8 (Multiple Intelligence). Workshop on "Empowering education for development
as a learning Center in Sufficiency Economy Philosophy"; 2013 May 2-5; Nonthaburi: 2013. (in Thai)

7. Goleman D. Social intelligence: The new science of human relationships. New York: Bantam Books; 2006.

8. Apinya, W. Quality on research data collecting tools. [Internet]. 2010. [cited 2015 May 3]. Available from: http://www.nu.msu.ac.th/2010/krongkan/5apinya_w.pdf. (in Thai)

9. Sujitra T. Content validity index: Critique and Recommendations 2007;4(34):1-9. (in Thai)

10. Yamane T. Statistics: An Introductory analysis. 2rd ed. Tokyo: John Weutherhill; 1970.

11. Suwimon, W. The new assessment of learning. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House; 2003. (in Thai)

12. Saranya I. The study of violent behavior of adolescent students. [Master’s thesis (Psychology of
Guidance)]. [Bangkok]: Srinakharinwirot University; 2010. (in Thai)

13. Kultida S, Sirilak S, Chommanard S, Factor related to elder abuse from perspectives of older adults
and family members. Journal of Boromarajonani College of Nursing Bangkok 2017; 33(1): 90-103. (in Thai)

14. Soravit A, Niwas W. The construction and development of models for youths’s violent behaviors
adjustment according to Buddhist approach. Faculty of Education, Mahachulalongkornrajavidyalaya
University; 2010. (in Thai)

15. Kankamol S. The study and development of social intelligence for higher education students in the
southern Thailand. [Doctor’s dissertation of Counseling Psychology]. [Bangkok]: Srinakharinwirot
University; 2014. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01