ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถนะการจัดการระบบการดูแลระยะยาวในกลุ่มผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • Jantima Banluelit Eastern Asia University

คำสำคัญ:

การดูแลระยะยาว, สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ, การดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์: (1)เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะการจัดการระบบการดูแลระยะยาวและสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุ (2)เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถนะการจัดการระบบการดูแลระยะยาวและสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฎิบัติงานในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี จำนวน 286 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและไคว์-สแควร์ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยสุรปได้ดังนี้(1)สมรรถนะการจัดการระบบการดูแลระยะยาวในกลุ่มผู้สูงอายุ อยู่ในระดับสูง (=3.652, SD = .656)(2)สมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง (=3.884, SD = .606) (3) ปัจจัยส่วนบุคคลกับสมรรถนะการจัดการระบบการดูแลระยะยาว ได้แก่ การได้รับการฝึกอบรมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p- value=.000) รวมถึงสมรรถนะการคิดเชิงวิเคราะห์/ความถนัดการทำวิจัยและการดูแลที่สำคัญมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งงาน (p-value =.009 และ .036) (4) รวมถึงปัจจัยส่วนบุคคลกับสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ การได้รับการฝึกอบรมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p- value=.001) ส่วนอายุและตำแหน่งงานมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะรายด้าน ได้แก่ ทักษะการปฎิบัติการพยาบาล (p-value=.000, .021) การวางแผนการจำหน่าย (p-value= .020, .000) และการประสานงานกับสหวิชาชีพ (p-value=.027) และพบความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ตำแหน่งงานและขนาดของสถานบริการมีความสัมพันธ์กับการจัดการกับความเจ็บป่วย (p-value=.032, .004, .007)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-11-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย