วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci <p><span lang="TH" style="font-size: 15.0pt; line-height: 120%; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; letter-spacing: -.15pt;"> กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความยินดีรับตีพิมพ์บทความสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ พยาบาลศาสตร์</span><span lang="TH" style="font-size: 15.0pt; line-height: 120%; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;"> <span style="letter-spacing: -.05pt;">เภสัชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ การบิน สิ่งแวดล้อม คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและสาขาวิชา</span>ที่เกี่ยวข้อง เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ดังนี้ </span><span style="font-size: 15.0pt; line-height: 120%; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">(1) <span lang="TH">ผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น</span> (<span style="letter-spacing: .4pt;">2)<span lang="TH"> การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง </span></span><span lang="TH" style="letter-spacing: -.05pt;">กองบรรณาธิการ ฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการรับหรือปฏิเสธบทความเข้าสู่กระบวนการประเมิน</span><span lang="TH">คุ<span style="letter-spacing: -.15pt;">ณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ บทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (</span></span><span style="letter-spacing: -.15pt;">Peer Review<span lang="TH">)</span></span><span lang="TH"> <span style="letter-spacing: -.35pt;">ในสาขาวิชานั้น ๆ จำนวนไม่น้อยกว่า</span></span><span style="letter-spacing: -.35pt;"> 3 <span lang="TH">ท่าน โดยเป็นการประเมินบทความที่ผู้ทรงคุณวุฒิ</span></span><span lang="TH">และ <span style="letter-spacing: -.2pt;">ผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อและสังกัดกันและกัน (</span></span><span style="letter-spacing: -.2pt;">Double<span lang="TH">-</span>blind<span lang="TH">) ทั้งนี้บทความจากบุคลากรภายใน</span></span><span lang="TH" style="letter-spacing: .4pt;">จะได้รับการพิจารณาบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกทั้งหมด และบทความจากบุคลากรภายนอกจะได้รับการพิจารณาบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกกับผู้ทรง</span><span lang="TH" style="letter-spacing: .15pt;">คุณวุฒิภายใน</span> (<span style="letter-spacing: .15pt;">3)<span lang="TH"> ข้อความที่ปรากฏภายในบทความแต่ละเรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารเล่มนี้เป็น</span></span><span lang="TH" style="letter-spacing: -.05pt;">ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ และคณาจารย์</span><span lang="TH">ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหา รูปภาพและการตรวจ<span style="letter-spacing: .15pt;">ร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเอง</span></span> (<span style="letter-spacing: .15pt;">4)<span lang="TH"> ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร</span></span></span></p> Central Library Eastern Asia University th-TH วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) 2286-6175 <span>บทความใน “วารสาร EAU HERITAGE” เป็นความเห็นของผู้เขียนโดยเฉพาะ กองบรรณาธิการไม่มีส่วนในความคิดเห็นในข้อความเหล่านั้น</span> การพัฒนาสื่อความเป็นจริงเสมือนเชิงความหมายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/262266 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้าง Ontology และกฎการอนุมานความรู้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (2) พัฒนาสื่อความเป็นจริงเสมือนเชิงความหมายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ (3) ประเมินประสิทธิภาพของสื่อความเป็นจริงเสมือนเชิงความหมายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ รวบรวมองค์ความรู้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอำเภอเขาค้อ ตามแนวคิด 5 เอเอสเอ็ม จาก 10 เว็บไซต์ด้านการท่องเที่ยว ที่ผ่านการตรวจทานองค์ความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จำนวน 3 คน นำมาสร้าง Ontology ในรูปแบบไฟล์โอดับบลิวแอล ฐานกฎการอนุมานความรู้ด้วยภาษาเอสดับบลิวอาร์แอล พัฒนาอัลกอริทึมเพื่อคิวรี่ Ontology ผ่านฐานกฎ และสร้างเอพีไอเพื่อติดต่อกับสื่อความเป็นจริงเสมือนด้วยภาษาไพธอนและไลบราลี่ฟลาค ใช้เฟรมเวิร์คเอเฟรมสร้างสภาพแวดล้อมและวัตถุความเป็นจริงเสมือนร่วมกับโปรแกรมด้านกราฟิกและแอนิเมชัน และใช้ภาษาพีเอชพีคิวรี่ฐานข้อมูลมายเอสคิวแอลที่ผสานกับคลาสความรู้ใน Ontology ประเมินประสิทธิภาพในการเข้าถึงสื่อความเป็นจริงเสมือนเชิงความหมายด้วยค่าความแม่นยำ ค่าความระลึก และค่าความถ่วงดุล และผลการประเมินความพึงพอใจนักท่องเที่ยว จำนวน 30 คน ต่อสื่อความเป็นจริงเสมือนเชิงความหมาย วิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า Ontology แบ่งได้ 4 ชั้น มีจำนวน 22 คลาส และอนุมานความรู้ จำนวน 7 กฎ เชื่อมต่อกับสื่อความจริงเสมือน ประสิทธิภาพในการเข้าถึงสื่อความเป็นจริงเสมือนเชิงความหมาย ได้ค่าเอฟเมชเชอร์ เท่ากับ 94.8% และผู้ใช้พึงพอใจต่อสื่อความเป็นจริงเสมือนเชิงความหมายในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ระบบจะช่วยให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงสื่อการท่องเที่ยวอย่างเป็นหมวดหมู่ และสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงโต้ตอบผ่านสื่อที่ทันสมัย</p> <p> </p> ฐิณาภัณฑ์ นิธิยุวิทย์ ทัสนันทน์ ตรีนันทรัตน์ ยุภา คำตะพล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) 2024-04-26 2024-04-26 18 1 90 106 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของขา ความสูงของราวจับกับเวลาใน การลุกยืนและนั่งลงที่โถส้วมโดยใช้ราวจับของผู้สูงอายุที่จังหวัดแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/262408 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเวลาที่ใช้ในการลุกยืนและการนั่งลงที่โถส้วมกับความแข็งแรงของขาของผู้สูงอายุ โดยตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้สูงอายุในเป็นเพศชาย 23 คน และเพศหญิง 88 คน ซึ่งเข้าร่วมโดยการได้รับการประชาสัมพันธ์จากผู้นำชุมชนและป้ายประกาศ วิธีการดำเนินการ คือ การจับเวลาที่ผู้สูงอายุใช้ในการลุกยืนและการนั่งลงที่โถส้วมโดยใช้ราวจับในแนวนอนที่ความสูง 5 ระดับ การวัดความแข็งแรงของขาโดยใช้เครื่องวัดแรงบิดในขณะที่ผู้สูงอายุอยู่ในท่านั่งและออกแรงสูงสุดในการงอเข่าและเหยียดขา จากนั้นจึงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาที่ใช้ในการลุกยืนและการนั่งลงที่โถส้วมกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาใช้วิธีการวิเคราะห์โดยใช้ระดับนัยสำคัญ (p-value) เท่ากับ .05 ผลการวิเคราะห์พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (r2) ระหว่างเวลาที่ใช้ในการลุกยืนและการนั่งลงที่โถส้วมกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาอยู่ในช่วง -0.360 ถึง -0.614 ซึ่งบ่งชี้ว่าเวลาที่ใช้ในการลุกยืนและการนั่งลงที่โถส้วมแปรผกผันกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา เมื่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาลดลง เวลาที่ใช้ในการลุกยืนและการนั่งลงที่โถส้วมจะเพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะในการนำผลงานวิจัยนี้ไปใช้ คือ ในการติดตั้งราวจับในห้องน้ำเพื่อช่วยผู้สูงอายุในการลุกยืนและนั่งลงที่โถส้วมและลดความเสี่ยงในการล้มนั้น ความสูงของราวจับจากพื้นไม่ควรเกิน 90 ซม.</p> Ratih Dianingtyas Kurnia พรศิริ จงกล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) 2024-04-26 2024-04-26 18 1 107 120 ความชุกภาวะโลหิตจาง และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาเพศหญิง ระดับอุดมศึกษา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/262608 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความชุกภาวะโลหิตจางและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง เจตคติต่อภาวะโลหิตจาง กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพศหญิง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 304 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสมัครใจในการให้ข้อมูลและรับการเจาะเลือด (volunteer sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลภาวะสุขภาพทั่วไป ความรู้ เจตคติเกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง พฤติกรรมการบริโภค และเจาะเลือดนำส่งห้องปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์นับเม็ดเลือดแดงเบื้องต้นด้วยการแจกแจงความถี่แบบสองทาง กลุ่มตัวอย่างมีค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดบ่งชี้ภาวะปกติร้อยละ 54.94 ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กร้อยละ 36.18 ภาวะพาหะธาลัสซีเมียร้อยละ 7.24 และภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามินร้อยละ 1.32 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่าความรู้ เจตคติต่อภาวะโลหิตจางไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ผลการวิจัยเสนอแนะโปรแกรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก การให้คำปรึกษาสุขภาพในการตรวจวิเคราะห์ชนิดของฮีโมลโกลบิน และกลุ่มที่มีปัญหาการมีประจำเดือน และศึกษาโมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของนักศึกษาเพศหญิง ในการทำวิจัยครั้งต่อไป</p> ฐมาพร เชี่ยวชาญ กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) 2024-04-26 2024-04-26 18 1 121 133 การตรวจพบเมแทบอไลต์ของกัญชาในปัสสาวะของผู้ต้องสงสัยและศพ ก่อนและหลังการประกาศกฎหมายยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2565 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/263866 <p>กัญชามีสารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทจำนวนมาก delta-9-tetrahydrocannabinol--Δ<sup>9</sup>THC เป็นสารสำคัญในกัญชาที่มีผลต่อจิตและประสาทที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับการตายโดยผิดธรรมชาติ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอุบัติการณ์การใช้กัญชาโดยการตรวจหาเมแทบอไลต์ของกัญชาในปัสสาวะของผู้ต้องสงสัยและศพ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติการณ์การตายโดยผิดธรรมชาติกับการตรวจพบเมแทบอไลต์ของกัญชาในช่วง 6 เดือน ก่อนและหลังจากมีประกาศกฎหมายยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2565 การศึกษานี้ดำเนินการเก็บข้อมูลแบบย้อนหลังจากข้อมูลผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ต้องสงสัยและศพที่ตัวอย่างปัสสาวะถูกส่งมาตรวจสารเสพติด/วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564-31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษามีจำนวนผู้ต้องสงสัยและศพทั้งหมด 2,942 ราย ตรวจพบเมแทบอไลต์ของกัญชาจำนวน 81 ราย (2.75%) โดยในช่วง 6 เดือนก่อนยกเลิกพืชกัญชา (1 ธันวาคม 2564-8 มิถุนายน 2565) ตรวจพบจำนวน 32 ราย (2.32%) และในช่วง 6 เดือนหลังยกเลิกพืชกัญชา (9 มิถุนายน 2565-31 ธันวาคม 2565) ตรวจพบจำนวน 49 ราย (3.13%) ส่วนใหญ่พบมากในเพศชาย สัญชาติไทย อายุระหว่าง 18-59 ปี รูปแบบการใช้กัญชามีความคล้ายกันทั้งช่วง 6 เดือน ก่อนและหลังผู้เสียชีวิตที่ตรวจพบเมแทบอไลท์ของกัญชาส่วนใหญ่มีพฤติการณ์การตายโดยยังมิปรากฎเหตุ รองลงมาคือ ตายโดยอุบัติเหตุ โดยที่ในช่วง 6 เดือน หลังยกเลิกพืชกัญชามีการตรวจพบเมแทบอไลท์ของกัญชาในปัสสาวะของศพในทุกพฤติการณ์การตาย มากกว่าในช่วง 6 เดือน ก่อนยกเลิก อย่างไรก็ตามเมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Fisher’s Exact test ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการตรวจพบเมแทบอไลต์ของกัญชาในช่วง 6 เดือน ก่อนและ 6 เดือน หลังยกเลิกพืชกัญชากับพฤติการณ์การตาย ควรทำการศึกษาเพิ่มเติมโดยขยายเวลาการเก็บข้อมูลมากชึ้น</p> ธีรินทร์ สินไชย รวิกร ธรรัตโนบล พงศธร กอนตะวัน สุขสันต์ ศรีสมบูรณ์ นิภาพร เกตุจ้อย ศศิกนก สุขลาภ สมทรง ลาวัณย์ประเสริฐ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) 2024-04-26 2024-04-26 18 1 134 144 การพยากรณ์ภาวะการมีงานทำของบัณฑิตด้วยเทคนิคการจำแนกข้อมูลด้วยกฎร่วมกับวิธีการสุ่มเพิ่มตัวอย่างกลุ่มน้อยบนชุดข้อมูลที่ไม่สมดุล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/264157 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบเทคนิคการพัฒนาแบบจำลองการพยากรณ์ภาวะการมีงานทำของบัณฑิตด้วยเทคนิคการจำแนกข้อมูลด้วยกฎร่วมกับวิธีการสุ่มเพิ่มตัวอย่างกลุ่มน้อยบนชุดข้อมูลที่ไม่สมดุล ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ข้อมูลมีความไม่สมดุลของกลุ่มข้อมูล โดยมีจำนวนกลุ่มหนึ่งมากกว่าอีกกลุ่มหนึ่งเป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยจึงได้ทำการแก้ปัญหาโดยปรับความสมดุลของข้อมูลด้วยวิธีเทคนิคการสุ่มเพิ่มตัวอย่างกลุ่มน้อย (Synthetic Minority Over-sampling Technique--SMOTE) แล้วพัฒนาตัวแบบด้วยเทคนิคการจำแนกข้อมูลด้วยกฎ ได้แก่ RIPPER PART และ PRISM โดยใช้ 5-fold cross validation ในการแบ่งข้อมูลออกเป็นชุดข้อมูลสอนและชุดข้อมูลทดสอบ และได้ใช้ค่าความถูกต้อง (accuracy) ค่าความแม่นยำ (precision) ค่าความระลึก (recall) และค่าความเหวี่ยง (F-measure) ในการวัดประสิทธิภาพการพยากรณ์ของตัวแบบ ผลการทดลองประสิทธิภาพในการพยากรณ์ของตัวแบบ พบว่า ตัวแบบที่ได้จากอัลกอริทึม PRISM ร่วมกับการปรับสมดุลข้อมูลด้วยวิธี SMOTE มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยมีค่าความถูกต้อง เท่ากับร้อยละ 85.69 ค่าความแม่นยำเท่ากับร้อยละ 85.60 ค่าความระลึกเท่ากับร้อยละ 85.70 และค่าความเหวี่ยงเท่ากับร้อยละ 85.60 ตามลำดับ</p> ภรัณยา ปาลวิสุทธิ์ อภินันท์ จุ่นกรณ์ มงคล รอดจันทร์ ประภาพรรณ เพียรชอบ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) 2024-04-26 2024-04-26 18 1 145 160 การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องและแอปพลิเคชัน ในการรับรู้พฤติกรรมการเข้าพักในโรงแรมของนักท่องเที่ยว https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/264174 <p>การไม่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในธุรกิจโรงแรมทำให้ความพึงพอใจลดลง การบอกต่อในเชิงลบ และการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ การเรียนรู้ของเครื่องสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ และคาดการณ์ความต้องการและความรู้สึกของผู้เข้าพักเพื่อพัฒนาการบริการของโรงแรม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ปรับปรุงและประเมินประสิทธิภาพการใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยเครื่องเพื่อรับรู้พฤติกรรมการเข้าพักโรงแรมของนักท่องเที่ยว และ (2) พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับเชื่อมต่อแบบจำลองการคาดการณ์สำหรับธุรกิจโรงแรม รวบรวมชุดข้อมูลจากข้อมูลความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว 300 คน โดย Google Form ข้อมูลที่รวบรวมได้ถูกทำความสะอาดโดยการใส่ข้อมูลด้วยอัลกอริทึมเคเนียร์เรสเนสเบอร์ ใช้เทคนิคการแปลงข้อมูล และการเลือกคุณสมบัติที่มีประสิทธิภาพสำหรับการฝึกแบบจำลองการคาดการณ์ด้วยเทคนิคอินฟอร์เมชันเกน คุณลักษณะที่ได้รับเลือกถูกส่งไปฝึกอบรมและทดสอบประสิทธิภาพโดยอัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่อง ได้แก่ ต้นไม้การตัดสินใจ เคเนียร์เรสเนสเบอร์ นิวรอลเน็ตเวิร์ค และซัพพอร์ตเวคเตอร์แมชชินงานวิจัยนี้พบว่า อัลกอริธึมการเรียนรู้ของเครื่องที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดสำหรับการทำนายการเข้าพักโรงแรมซ้ำของนักท่องเที่ยว และการแนะนำโรงแรมสำหรับบุคคลอื่น ๆ คือ เคเนียร์เรสเนสเบอร์ โดยสามารถให้ความแม่นยำในการทำนายสูงกว่าอัลกอริทึมอื่น ๆ ที่ 98.67% และถูกนำมาใช้เพื่อให้บริการธุรกิจโรงแรมผ่านเว็บแอปพลิเคชันที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน </p> ดวงจันทร์ สีหาราช อนุพงษ์ สุขประเสริฐ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) 2024-04-26 2024-04-26 18 1 161 175 เครื่องจักรสร้างประโยคภาษาไทยอัตโนมัติด้วยตัวดำเนินการครอสโปรดัก ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/265365 <p>การประมวลผลภาษาธรรมชาติเป็นหลักการที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ ตีความ และใช้ภาษามนุษย์เพื่อการสื่อสารได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเท็กซ์เพื่อนำไปสู่สตอรีเจนเนอเรชันอันเป็นหลักการทำให้คอมพิวเตอร์สร้างเรื่องราวอัตโนมัติ มีประโยชน์ในการสร้างเนื้อหาเท็กซ์ที่มีความซับซ้อนและเป็นเรื่องราวอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ กลไกหลัก คือ การสร้างประโยคด้วยการนำคำชนิดต่าง ๆ วลีหรือกลุ่มคำมาประกอบกันเป็นประโยคก่อนนำประโยคมาสร้างเนื้อความเชิงความหมายที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ งานวิจัยนี้พัฒนาและออกแบบเครื่องจักรซอฟต์แวร์สร้างประโยคภาษาไทยเพื่อเก็บไว้ในคลังประโยคภาษาไทยสำหรับนำไปใช้ในงานวิจัยสตอรีเจนเนอเรชัน ออกแบบทั้งส่วนสถาปัตยกรรมเครื่องจักรและขั้นตอนวิธี แบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก คือ ส่วนการสร้างพจนานุกรมชนิดของคำในภาษาไทยและส่วนการสร้างประโยคโดยใช้กลไกตัวดำเนินการครอสโปรดักของพีชคณิตเชิงสัมพันธ์ในฐานข้อมูลเป็นกฎควบคุมการสร้างประโยคตามรูปแบบไวยากรณ์ภาษาไทย ทดลองโดยสร้างเครื่องจักรซอฟต์แวร์ นำเข้าคำจากพจนานุกรมเล็กซิตรอนจำนวน 3x104 คำ สร้างประโยคภาษาไทยจำนวน 21 รูปแบบ ผลการทดลองพบว่า เครื่องจักรสามารถสร้างประโยคได้ปริมาณมากถึง 7.63926x1016 ประโยค วัดผลเชิงคุณภาพด้วยการพิจารณาว่า ประโยคที่สร้างขึ้นสามารถอ่านได้ความหมายถูกต้องหรือไม่ พบว่า ได้ประโยคที่สามารถอ่านได้ความหมายถูกต้องเฉลี่ยร้อยละ 36.70 น้อยที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 13.33 มากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 64 พิจารณาจำนวนคำที่นำมาสร้างประโยค ประโยคที่ประกอบด้วยคำ 2 คำ ประโยคที่สามารถอ่านได้ความหมายถูกต้องอยู่ระหว่างร้อยละ 44.00-64.00 คิดเป็นร้อยละเฉลี่ย 53.05 ประโยคที่ประกอบด้วยคำ 3 คำ ประโยคที่อ่านได้ความหมายถูกต้องระหว่างร้อยละ 22.33-57.67 คิดเป็นร้อยละเฉลี่ยที่ 34.57 และประโยคที่ประกอบด้วย 4 คำ ได้ประโยคที่อ่านได้ความหมายถูกต้องระหว่างร้อยละ 13.33-21.00 คิดเป็นร้อยละเฉลี่ยที่ 18.00</p> <p> </p> สุพรัตรา แดงเจริญ ขณิดา จรุงจิตต์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) 2024-04-26 2024-04-26 18 1 176 193 ก๊าซชีวภาพจากบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงานผลิตน้ำประปา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามจังหวัดมหาสารคาม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/266364 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และผลิตก๊าซชีวภาพจากบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงานผลิตน้ำประปา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยนำมูลวัวสดซึ่งเป็นมูลของวัวเนื้อมาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ และเพื่อเป็นแหล่งสาธิตการเรียนรู้การใช้พลังงานทดแทนที่สามารถใช้งานได้จริงและเป็นแนวทางในการพัฒนาพลังงานทางเลือกต่อไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้สร้างถังผลิตก๊าซชีวภาพจากบ่อบำบัดน้ำเสีย ในการวิจัยทำการทดลอง 4 ครั้ง ในแต่ละครั้งเก็บข้อมูลทุกวันติดต่อกัน ระยะเวลาทั้งหมด 6 ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนในการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียที่ดีที่สุด คือ น้ำเสีย 200 ลิตรต่อมูลวัว 200 กิโลกรัม ได้ปริมาณก๊าซสูงสุดถึง 3,429 ลิตร เวลาการหมัก 58 วัน การจุดติดไฟนาน 171.39 นาที รองลงมา คือ อัตราส่วน น้ำเสีย 200 ลิตรต่อมูลวัว 150 กิโลกรัม ได้ปริมาณก๊าซ 1,656 ลิตร เวลาในการหมัก 46 วัน การจุดติดไฟนาน 83.07 นาที และอัตราส่วนน้ำเสีย 200 ลิตรต่อมูลวัว 100 กิโลกรัม ได้ปริมาณก๊าซ 898 ลิตร เวลาในการหมัก 29 วัน มีการจุดติดไฟนาน 45.54 นาที ส่วนอัตราส่วนที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุด คือ น้ำเสีย<br />200 ลิตรต่อมูลวัว 5 กิโลกรัม ได้ปริมาณก๊าซชีวภาพ 522 ลิตร เวลาในการหมัก 17 วัน มีการจุดติดไฟนาน 26.55 นาที ตามลำดับ การศึกษาองค์ประกอบของก๊าซ พบว่า ก๊าซมีเทน (CH<sub>4</sub>) มีปริมาณก๊าซสูงสุดค่าเฉลี่ยเท่ากับ 56.96% รองลงมา คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO<sub>2</sub>) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.44% และก๊าซอื่น ๆ (other gases) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.28% และก๊าซออกซิเจน (O<sub>2</sub>) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.42% ส่วนก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H<sub>2</sub>S) มีปริมาณก๊าซน้อยที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 232.2 ppm ตามลำดับ</p> เชิดชัย สมบัติโยธา ถวิล แสนตรง นุกูล กุดแถลง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) 2024-04-26 2024-04-26 18 1 194 205 เทคโนโลยีขับเคลื่อนในห่วงโซ่อุปทานด้านการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืนเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยในบริการรังสีวิทยา: กรณีศึกษาประเทศกัมพูชา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/266956 <p>บริการทางรังสีวิทยาเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยทำหน้าที่หลักในการวินิจฉัยโรคอย่างแม่นยำ โดยอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถทำให้แผนกรังสีวิทยาทำการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคให้กับผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากกล่าวถึงงานทางด้านรังสีกับมุมมองของความยั่งยืนนั้นครอบคลุมหลายมิติเช่น ในการศึกษานี้ได้กล่าวถึงประเทศกัมพูชา ซึ่งยังเป็นประเทศที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงงานบริการทางรังสีวิทยาที่ทันสมัย และทำให้พบว่า เป็นข้อจำกัดต่าง ๆ นั้นเป็นอุปสรรคต่อความยั่งยืนของการบริการทางรังสีและส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยนั้นมีความสำคัญอย่างมาก งานวิจัยถูกดำเนินการในแผนกรังสีวิทยาของโรงพยาบาลตติยภูมิในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาระหว่างเดือนสิงหาคมและกันยายน พ.ศ. 2566 งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอแบบจำลองความยั่งยืนโดยควบรวมมิติทางด้านเทคโนโลยีเข้ากับความยั่งยืนแบบดั้งเดิมสามมิติ แบบจำลองสำหรับความยั่งยืนในงานบริการทางรังสีเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย จึงประกอบไปด้วยสี่มิติ และ 20 ปัจจัยภายใต้สี่มิตินั้น จากนั้นการศึกษาได้ทำการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยและมิติต่าง ๆ โดยใช้วิธี Fuzzy TOPSIS จากผลการวิจัยแสดงค่า closeness coefficient ในแต่ละมิติ และแสดงให้เห็นว่ามิติเทคโนโลยีมีอันดับสูงสุดในโมเดลความยั่งยืนของงานรังสีวิทยาที่มุ่งเน้นความปลอดภัยคนไข้ จากมุมมองของรังสีแพทย์ เทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่สำคัญในการให้บริการรังสีวิทยาเพื่อเสริมความปลอดภัยของผู้ป่วยให้ยั่งยืน แบบจำลองนี้สามารถใช้ในการวางกลยุทธ์ที่ให้ความสำคัญกับการให้บริการรังสีวิทยาที่ยั่งยืนและความปลอดภัยของผู้ป่วยซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญในกลุ่มสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศกำลังพัฒนาอย่างกัมพูชาที่มีข้อจำกัดในทรัพยากรที่มีอยู่</p> ชญาฎา กนกพันธ์วณิช วันชัย รัตนวงศ์ วรินทร์ วงศ์มณี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) 2024-04-26 2024-04-26 18 1 206 225 ผลของโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ศึกษาในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/267639 <p>งานวิจัยกึ่งทดลองแบบ one group pre-post test เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ศึกษาในชุมชนของอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเลือกโดยการสุ่ม จำนวน 46 คน เป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ที่อาศัยในพื้นที่ชุมชนอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ระยะเวลาที่ศึกษา เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่โปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพ ประกอบด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน โภชนาการ การออกกำลังกาย และ<br />การใช้ยาอย่างปลอดภัย และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามความรอบรู้ทางสุขภาพและการดูแลพฤติกรรมสุขภาพค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .939 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา และ one sample t-test ผลการวิจัย พบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ ในเดือนที่ 3 กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้นทุกด้าน ได้แก่ ด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและการใช้ยา อย่างมีนัยสำคัญ (t=34.17 p&lt;.05)มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตอย่างต่อเนื่องเป็นระยะอย่างน้อย ทุก 1 เดือน </p> พีรยา สุธีรางกูร มโนวรรณ มากมา ตติยา ทุมเสน กัลยา ศารทูลทัต Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) 2024-04-26 2024-04-26 18 1 226 236 การประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียมและระบบอนุมานฟัซซี่โครงข่ายปรับตัวได้ ในระบบไฟฟ้ากำลัง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/266469 <p>บทความนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียมและระบบอนุมานฟัซซี่โครงข่ายปรับตัวได้สำหรับระบบไฟฟ้ากำลัง ซึ่งมีความสำคัญในการทำงานวิจัยด้านไฟฟ้ากำลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและทดสอบความเที่ยงตรงของโปรแกรมและฮาร์ดแวร์ในระบบไฟฟ้ากำลัง ซึ่งผลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ความถูกต้องและใช้ประโยชน์ในทางพาณิชย์ได้ต่อไป โดยในบทความนี้ จะนำเสนอตัวอย่างการประยุกต์ใช้อยู่ 4 ตัวอย่าง โดยที่ตัวอย่างแรก คือ การประเมินเสถียรภาพชั่วครู่ ด้วยระบบอนุมานฟัซซี่โครงข่ายปรับตัวได้ ซึ่งพยากรณ์ค่าเวลาตัดกระแสวิกฤติโดยระบบนี้จะคํานึงถึงพารามิเตอร์ที่สําคัญต่าง ๆ ของเครื่องกําเนิดไฟฟ้าซิงโครนัส รวมถึงระบบควบคุมกังหัน เชื้อเพลิงและความถี่ ระบบควบคุมแรงดันอัตโนมัติ และคุณลักษณะเฉพาะของโหลด โดยผลการทดสอบมีค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยกำลังสองเท่ากับ 0.041 ตัวอย่างที่สอง คือ การคำนวณดัชนีความน่าเชื่อถือของระบบการผลิตไฟฟ้าด้วยโครงข่ายประสาทเทียมและระบบอนุมานฟัซซี่โครงข่ายปรับตัวได้โดยเรียนรู้ความสัมพันธ์ของกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ติดตั้ง พยากรณ์ดัชนีการไม่สามารถจ่ายพลังงานตามที่คาดไว้ โดยประสิทธิภาพมีค่าเปอร์เซ็นต์ผิดพลาดเฉลี่ยสัมบูรณ์ของผลทดสอบเท่ากับ 3.5219% และ 4.0133% ตามลำดับ สำหรับตัวอย่างที่สามก็คือ การประเมินคุณภาพระบบไฟฟ้ากำลัง โดยนำความเชื่อถือได้ทางไฟฟ้า และคุณภาพไฟฟ้าของระบบจำหน่ายมาวิเคราะห์ร่วมกัน ด้วยโครงข่ายประสาทเทียมและระบบอนุมานฟัซซี่โครงข่ายปรับตัวได้ โดยกำหนดให้ดัชนีความเชื่อถือได้ทางไฟฟ้าเป็นอินพุต และดัชนีคุณภาพไฟฟ้าเป็นเอาท์พุตของระบบอนุมานฟัซซี่โครงข่ายปรับตัวได้ ซึ่งดัชนีคุณภาพไฟฟ้าที่เลือกใช้คือ SARFI70 SARFI90 และ SARFI110 ซึ่งเป็นจำนวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดแรงดันไฟฟ้าตก และแรงดันไฟฟ้าเกินตามลำดับเพื่อใช้สำหรับประเมินคุณภาพระบบไฟฟ้ากำลัง ผลการทดลองสามารถวัดความแม่นยำด้วยค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยกำลังสองมีค่าเท่ากับ 0.0202 และ 0.0038 ตามลำดับ และตัวอย่างสุดท้ายก็จะเป็นการพยากรณ์โหลดระยะกลางโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมและ ระบบอนุมานฟัซซี่<br />โครงข่ายปรับตัวได้ การพยากรณ์ล่วงหน้าหนึ่งเดือนด้วยข้อมูลอินพุตเพียง 6 ชุด ประกอบด้วยประวัติกำลังไฟฟ้าสูงสุด (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 12 เดือน 9 เดือน 6 เดือนและ 3 เดือน) รหัสเดือนและผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศรายไตรมาส (QGDP) โดยทดสอบด้วยโครงข่ายประสาทเทียม 2 3 และ 4 ชั้นซ่อนและนำผลที่ดีที่สุดเปรียบเทียบกับการพยากรณ์ด้วยระบบอนุมานฟัซซี่โครงข่ายปรับตัวได้ ผลการทดสอบทั้งสองตัวแบบมีค่าเปอร์เซ็นต์ผิดพลาดเฉลี่ยสัมบูรณ์เท่ากับ 1.1527% และ 3.8739% ตามลำดับ จากประเมินการวิจัยดังกล่าวข้างต้นพบว่า ผลการทดลองมีความแม่นยำค่อนข้างสูงและมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและประยุกต์ใช้สำหรับระบบไฟฟ้ากำลังในส่วนอื่น ๆ ต่อไป</p> ศุภเสกข์ เกตุรักษา ประภาพร กุลลิ้มรัตน์ชัย Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) 2024-04-26 2024-04-26 18 1 1 19 เภสัชพันธุศาสตร์ โรคเกาต์ และการแพ้ยา Allopurinol https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/266802 <p>Allopurinol เป็นยาหลักในการรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูงและโรคเกาต์ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกรดยูริกในเลือด มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการแพ้ยาชนิดนี้ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมของมนุษย์ ปัจจุบันประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2564 ได้มีการสนับสนุนการตรวจคัดกรองลักษณะทางพันธุกรรม อัลลีล Human Leukocyte Antigen-B*5801 (HLA-B*58:01) ก่อนให้ยา Allopurinol ในผู้ป่วยโรคเกาต์รายใหม่ เนื่องจากผลการวิจัยพบความสัมพันธ์ระหว่างการแพ้ยา Allopurinol กับ อัลลีล HLA-B*58:01 ซึ่งพบในประชากรไทยได้ถึงร้อยละ 16.33 การตรวจคัดกรองอัลลีลนี้มีความไวถึงร้อยละ 100 และความจำเพาะร้อยละ 96 จึงช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการแพ้ยาทางผิวหนังแบบรุนแรง--SCARs ได้ บทความวิชาการนี้ให้ข้อมูล เภสัชวิทยาของยา Allopurinol ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงกับโรคเกาต์ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา และการป้องกันการแพ้ยาโดยเภสัชพันธุศาสตร์ เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอันตรายของการแพ้ยา Allopurinol และแนวทางการตรวจวิเคราะห์ทางเภสัชพันธุศาสตร์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการแพ้ยา Allopurinol</p> <p> </p> ถิรวัฒน์ วรรณตุง สยมภู สงวนสิทธิอนันต์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) 2024-04-26 2024-04-26 18 1 20 31 การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/266906 <p>การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก เนื่องจากอุบัติการณ์ที่เพิ่มสูงขึ้นและผลกระทบที่ตามมาสัมพันธ์กับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น จากการคาดประมาณจำนวนผู้สูงอายุทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,200 ล้านคนในปี 2025 บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงและลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ความหมายของการพลัดตกหกล้ม หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดจากการที่บุคคลสูญเสียการทรงตัวหรือเสียหลักพลัดตกลงที่พื้นในระดับที่ต่ำกว่า ทำให้อวัยวะของร่างกายกระแทกกับพื้นหรือสิ่งของอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ เกิดในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า การพลัดตกหกล้มเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสองของโลก สาเหตุของการพลัดตกหกล้มประกอบด้วยหลายปัจจัยได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงด้านชีวภาพ ด้านพฤติกรรม ด้านสิ่งแวดล้อมและด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งปัจจัยเสี่ยงด้านชีวภาพส่งผลให้การเคลื่อนไหวและการทรงตัวผิดปกติ การพลัดตกหกล้มส่งผลต่อร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจของผู้สูงอายุและครอบครัว การได้รับบาดเจ็บทางกาย มีตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อย พิการหรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจและสังคม อาจทำให้ผู้สูงอายุกลัวการหกล้มซ้ำ สูญเสียความมั่นใจ<br />ไม่กล้าออกนอกบ้าน บางรายเกิดภาวะซึมเศร้า อีกทั้งยังกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของครอบครัวจากการเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล สูญเสียรายได้จากการหยุดงานและค่าเดินทางของครอบครัว รวมถึงค่าจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุในกรณีที่ต้องเป็นผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในระยะยาว การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุสามารถทำได้ โดยการประเมินความเสี่ยง ค้นหาสาเหตุและแก้ไข โดยการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการทรงตัว ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป</p> ยุพาพร หงษ์ชูเวช Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) 2024-04-26 2024-04-26 18 1 32 43 สถานการณ์สุขภาพผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง: ความท้าทายของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/267423 <p>สถานการณ์การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย พร้อมกับสถานการณ์สุขภาพความเจ็บป่วยในด้านภาวะสมองขาดเลือด โรคเรื้อรังร่วม ภาวะสมองเสื่อม และภาวะชราภาพ การจัดการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข จึงเป็นความท้าทายของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นถึงความท้าทายของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ในการที่จะขับเคลื่อนกระบวนการในการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง เพื่อการก้าวข้ามสู่การจัดการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลที่จัดการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงมีบทบาทหลัก คือ ผู้วางแผน ผู้ปฏิบัติ ผู้ประสานงาน ผู้นำ ผู้ให้คำปรึกษา และผู้พิทักษ์สิทธิ์ ซึ่งในการจัดการดูแลจะพบปัญหาคือ (1) บุคลากรไม่เพียงพอ (2) ขาดความร่วมมือในการเตรียมความพร้อม (3) ขาดการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่จำเป็น (4) ขาดความพร้อมในเชิงนโยบาย (5) ขาดความเชื่อมโยงระบบข้อมูล (6) ขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงาน (7) งบประมาณที่ไม่เอื้อต่อการดำเนินงาน และ (8) ปัญหาที่ส่งผลต่อตัวผู้ดูแล ซึ่งการที่จะก้าวข้ามปัญหาเหล่านี้ให้ได้ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลจะต้องจัดการดูแลและแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยตัวของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลเอง ผ่านบุคคลและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง และการจัดการผ่านนโยบายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิผลในระยะยาว</p> อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์ กุศล กีบาง สายฝน กันธมาลี วนิดา แพร่ภาษา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) 2024-04-26 2024-04-26 18 1 44 55 วิธีการจัดการแบตเตอรี่เสื่อมสภาพสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/267428 <p>ปัญหาวิกฤตการณ์จากการขาดแคลนพลังงาน ปัญหามลพิษทางอากาศจากรถยนต์ โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัญหาอุณภูมิที่สูงขึ้นในชั้นบรรยากาศจากสภาวะโลกร้อนเป็นอีกข้อกังวลของสาธารณชนและได้รับความสนใจอย่างมาก ยานยนต์ไฟฟ้าได้เข้ามามีบทบาทจากความต้องการลดการปล่อยมลพิษ รวมถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีด้านแบตเตอรี่ถือเป็นกุญแจสำคัญอย่างหนึ่งในยานยนต์ไฟฟ้า ประเทศผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และเยอรมนี ได้เปิดตัวโครงการพิเศษที่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพของแบตเตอรีให้สามารถตอบสนองความต้องการของยานยนต์ไฟฟ้าได้ ผลการวิจัยจำนวนมากมีการคิดค้นและนำเทคโนโลยีต่าง ๆ ของแบตเตอรี่มาใช้กระบวนการนี้ยังคงดำเนินต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายประสิทธิภาพที่ต้องการ บทความนี้เป็นการนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งานแล้ว การนำกลับมาใช้ใหม่ ตัวอย่างการบริหารจัดการเกี่ยวกับแบตเตอรี่ สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าจากประเทศผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำ เช่น สหภาพยุโรปมีการตั้งข้อกำหนดในการเรียกคืนแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แล้ว ในสหรัฐอเมริกานั้น มีหน่วยงาน รับผิดชอบทางด้านสิ่งแวดล้อมกำหนดให้แบตเตอรี่ต้องถูกจัดการตามกฎ Universal Waste Rules ในญี่ปุ่นมีกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ และจีนได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการ Recycle แบตเตอรี่ เป็นต้น</p> ธีรพงศ์ บริรักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) 2024-04-26 2024-04-26 18 1 56 76 การให้คำปรึกษาโดยการรู้คิดและการฝึกสติสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/267341 <p style="font-weight: 400;">โรคมะเร็งถือเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตของประชากรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง จากสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เปลี่ยนแปลง ผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากมีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่ยุ่งยากใจ เช่น การรักษา ผลข้างเคียงจากยาที่ใช้ในการรักษา เกิดความวิตกกังวล ความเครียด เกิดภาวะซึมเศร้าในการเผชิญกับโรค เกิดความยากลําบากในการปรับตัว สูญเสียการทำงาน กลัวการกลับเป็นซ้ำ และไม่ยอมรับการเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งจะทำให้สูญเสียความหมายในชีวิต หากผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวล ความเครียด และภาวะซึมเศร้า จะส่งผลต่อด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ และสังคม ดังนั้น การให้คำปรึกษาโดยการรู้คิดและการฝึกสติสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยค้นหาและตรวจสอบความคิดอัตโนมัติของตนเอง เพื่อให้เข้าใจความคิด อารมณ์ความรู้สึก นำไปสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางความคิดใหม่ไปสู่ความคิดที่เหมาะสม โดยมี 5 ขั้นตอนดังนี้ (1) การเรียนรู้แบบค้นพบที่มีการชี้แนะโดยใช้ทักษะการถาม (2) เทคนิคการตั้ง 3 คำถาม (3) การระบุความคิดอัตโนมัติ ขั้นตอนนี้ร่วมกับการฝึกสติโดยการกำหนดรู้ลมหายใจ เพื่อให้ผู้ป่วยได้ผ่อนคลายความเครียด ความทุกข์ใจ ความกลัว และความวิตกกังวลต่าง ๆ จากโรคและการรักษา เกิดความสงบสุขภายในจิตใจ (4) การมอบหมายการบ้านหรือกิจกรรมให้ทำ เป็นการให้ผู้ป่วยรวบรวมข้อมูล ทดสอบและบันทึกความคิดอัตโนมัติของตนเอง และนำข้อมูลความคิดที่รวบรวมมาสนทนาในการให้คำปรึกษาครั้งหน้า และ (5) การสิ้นสุดสัมพันธภาพ เป็นการสนทนาเกี่ยวกับความรู้สึกในการให้คำปรึกษา ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตและการดูแลสุขภาพของตนเอง และสามารถกับเผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ </p> สาริณีย์ จินดาวุฒิพันธ์ ณภาภัช ใบตระกูล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) 2024-04-26 2024-04-26 18 1 77 89