วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci <p><span lang="TH" style="font-size: 15.0pt; line-height: 120%; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; letter-spacing: -.15pt;"> กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความยินดีรับตีพิมพ์บทความสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ พยาบาลศาสตร์</span><span lang="TH" style="font-size: 15.0pt; line-height: 120%; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;"> <span style="letter-spacing: -.05pt;">เภสัชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ การบิน สิ่งแวดล้อม คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและสาขาวิชา</span>ที่เกี่ยวข้อง เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ดังนี้ </span><span style="font-size: 15.0pt; line-height: 120%; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">(1) <span lang="TH">ผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น</span> (<span style="letter-spacing: .4pt;">2)<span lang="TH"> การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง </span></span><span lang="TH" style="letter-spacing: -.05pt;">กองบรรณาธิการ ฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการรับหรือปฏิเสธบทความเข้าสู่กระบวนการประเมิน</span><span lang="TH">คุ<span style="letter-spacing: -.15pt;">ณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ บทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (</span></span><span style="letter-spacing: -.15pt;">Peer Review<span lang="TH">)</span></span><span lang="TH"> <span style="letter-spacing: -.35pt;">ในสาขาวิชานั้น ๆ จำนวนไม่น้อยกว่า</span></span><span style="letter-spacing: -.35pt;"> 3 <span lang="TH">ท่าน โดยเป็นการประเมินบทความที่ผู้ทรงคุณวุฒิ</span></span><span lang="TH">และ <span style="letter-spacing: -.2pt;">ผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อและสังกัดกันและกัน (</span></span><span style="letter-spacing: -.2pt;">Double<span lang="TH">-</span>blind<span lang="TH">) ทั้งนี้บทความจากบุคลากรภายใน</span></span><span lang="TH" style="letter-spacing: .4pt;">จะได้รับการพิจารณาบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกทั้งหมด และบทความจากบุคลากรภายนอกจะได้รับการพิจารณาบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกกับผู้ทรง</span><span lang="TH" style="letter-spacing: .15pt;">คุณวุฒิภายใน</span> (<span style="letter-spacing: .15pt;">3)<span lang="TH"> ข้อความที่ปรากฏภายในบทความแต่ละเรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารเล่มนี้เป็น</span></span><span lang="TH" style="letter-spacing: -.05pt;">ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ และคณาจารย์</span><span lang="TH">ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหา รูปภาพและการตรวจ<span style="letter-spacing: .15pt;">ร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเอง</span></span> (<span style="letter-spacing: .15pt;">4)<span lang="TH"> ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร</span></span></span></p> th-TH <span>บทความใน “วารสาร EAU HERITAGE” เป็นความเห็นของผู้เขียนโดยเฉพาะ กองบรรณาธิการไม่มีส่วนในความคิดเห็นในข้อความเหล่านั้น</span> kannicha@eau.ac.th (Dr. Kannicha Pokudom) eauheritage_sci@eau.ac.th (Narisara Tumanee) Thu, 12 Dec 2024 15:55:07 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การประยุกต์ใช้ TRIZ และวิศวกรรมปัจจัยมนุษย์ในการปรับปรุงที่นั่งชิงช้า https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/269374 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการเกิดอุบัติเหตุและอาการบาดเจ็บของเด็กที่เกิดจากการเล่นชิงช้า (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กเกี่ยวกับที่นั่งชิงช้า และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงที่นั่งชิงช้าโดยใช้ TRIZ และวิศวกรรมปัจจัยมนุษย์ กรณีศึกษาของงานวิจัยนี้เป็นโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยคือ แบบสอบถาม และ TRIZ แบบสอบถามมี 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น อายุ เพศ ชั้นเรียน ส่วนที่ 2 ข้อมูลการเกี่ยวกับการเล่นชิงช้า เช่น การเกิดอุบัติเหตุ อาการบาดเจ็บ เป็นต้น ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเด็กนักเรียนอายุ 7-12 ขวบ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่ามากที่สุด ค่าน้อยที่สุด ค่าร้อยละ จากผลการวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุพบว่า เด็กที่เคยเกิดอุบัติเหตุในการเล่นชิงช้ามีร้อยละ 41.1 โดยเป็นการพลักตกจากชิงช้าจำนวนร้อยละ 27.7 ลักษณะการบาดเจ็บที่มากที่สุด คือ แผลถลอกคิดเป็นร้อยละ<br />16.0 เด็กได้แสดงความคิดเห็นของเกี่ยวกับที่นั่งชิงช้าดังนี้ ที่นั่งต่ำเกินไปร้อยละ 30.0 ที่นั่งสูงเกินไปร้อยละ 16.6 ที่นั่งลื่นร้อยละ 15.3 และที่นั่งแคบร้อยละ 6.8 ส่วนผลการใช้ TRIZ ในการแก้ไขปัญหาที่นั่งลื่นพบว่า หลักการในการแก้ปัญหาคือ การเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ในการทำที่นั่งจากวัสดุเดิมเป็นเหล็กเปลี่ยนเป็นยางพาราธรรมชาติหล่อขึ้นรูป ที่นั่งมีผิวเรียบ ขอบและมุมโค้งมน ส่วนผลการใช้วิศวกรรมปัจจัยมนุษย์ในการออกแบบที่นั่งชิงช้า พบว่า การออกแบบความกว้างของที่นั่งชิงช้าพิจารณาจากค่าเปอร์เซนไทล์ที่ 95 ของค่าความกว้างของสะโพกขณะนั่ง ส่วนการออกแบบความลึกของที่นั่งชิงช้าพิจารณาค่าเปอร์เซนไทล์ที่ 5 ของระยะจากสะโพกถึงข้อพับเข่าด้านใน</p> พรศิริ จงกล, ภาคิน อัตตวิริยะสุวร, มนัญชยา ถาวรสวัสดิ์, รชนีกร พลปัถพี, สุภารัตน์ ค้างสันเทียะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/269374 Thu, 12 Dec 2024 00:00:00 +0700 ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดสารภีน้ำ เพื่อตั้งตำรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับต่อยอดในเชิงพาณิชย์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/270571 <p>สารภีน้ำจัดเป็นพืชที่นิยมปลูกกันทั่วไป และนำผลมาแปรรูปเป็นผลไม้แช่อิ่ม การเพิ่มมูลค่าให้กับสารภีน้ำโดยทำการตั้งตำรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารสกัดสารภีน้ำจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส และฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ <em>S.aureus</em> <em>E.coli P.aeruginosa</em> และ <em>B.cereus</em> ด้วยวิธี Agar well diffusion เพื่อตั้งตำรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสารสกัดสารภีน้ำ พบว่า สารสกัดผลดิบสารภีน้ำมีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด (261.17±0.84 mg GAE/g extract) ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (89.19±1.45 mg QE/g extract) ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (IC<sub>50</sub> เท่ากับ 11.29±0.55 µg/ml) และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (IC<sub>50</sub> เท่ากับ 16.10±0.77 µg/ml) ดีที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับสารสกัดจาก ดอกตูม ใบ และเปลือก และสารสกัดผลดิบสารภีน้ำ (500 mg/ml) สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทั้ง 4 ชนิดได้แก่ <em>S.aureus E.coli P.aeruginosa</em> และ <em>B.cereus</em> หลังจากนั้นนำสารสกัดผลดิบด้วยเอทานอลมาเป็นส่วนผสมในการตั้งตำรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางโลชั่น พบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางโลชั่นที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากผลดิบของสารภีน้ำที่พัฒนาขึ้นมานั้นมีลักษณะเนื้อโลชั่นเนียนละเอียด มีสีเหลืองอ่อนขุ่นทึบแสง ไม่มีกลิ่น ค่าความเป็นกรด-ด่าง 6.15±0.34 ไม่พบการเจริญของจุลินทรีย์และเชื้อรา และโลชั่นมีความคงตัวหลังการทดสอบ heating-cooling stability จำนวน 6 รอบ แสดงให้เห็นว่า งานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางการใช้ประโยชน์จากสารสกัดสารภีทุกส่วนเพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์</p> ณพัฐอร บัวฉุน, วิริยาภรณ์ กล่อมสังข์เจริญ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/270571 Thu, 12 Dec 2024 00:00:00 +0700 เครื่องย้อมสีสไลด์อัตโนมัติและวิเคราะห์ชิ้นเนื้อเบื้องต้นด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/270713 <p>การศึกษาวิจัยนี้นำเสนอเครื่องย้อมสีสไลด์อัตโนมัติและวิเคราะห์ชิ้นเนื้อเบื้องต้นด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ภาพ เพื่อการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยระบบดังกล่าวมีการออกแบบกระบวนการย้อมสีชิ้นเนื้อด้วยวิธีลูทีนสแตนนิ่ง ซึ่งเป็นวิธีการมาตรฐานทางพยาธิวิทยาคลินิกที่ใช้สารละลายเคมี 7 ชนิด การย้อมสีจะดำเนินการตามขั้นตอนมาตรฐานของห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ ประเทศไทย ทั้งนี้การพัฒนาระบบอัตโนมัตินี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดการนำเข้าอุปกรณ์ย้อมสีที่นำเอาจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูงกว่า 1 ล้านบาท โดยระบบที่พัฒนาขึ้นใช้อุปกรณ์และวัสดุภายในประเทศ จึงทำให้มีต้นทุนที่ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบย้อมสีอัตโนมัติดังกล่าว พบว่า หัวจับสไลด์มีความเร็วในการเคลื่อนที่แกน Y เฉลี่ย 1.95 ถึง 2.04 เซนติเมตรต่อวินาที และแกน X เฉลี่ย 4.51 ถึง 4.99 เซนติเมตรต่อวินาที โดยกระบวนการย้อมสีชิ้นเนื้อจะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 1 ชั่วโมง 26 นาที หลังจากนั้นผู้ปฏิบัติงานจะนำชิ้นเนื้อที่ผ่านการย้อมสี ใส่เข้าไปภายในกล้องจุลทรรศน์ดิจิทัลเพื่อจัดทำภาพนิ่ง และนำภาพนิ่งไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิคประมวลผลภาพที่พัฒนาด้วยโปรแกรม Pycham เพื่อระบุตำแหน่งบริเวณที่ชิ้นเนื้ออาจเป็นมะเร็งหรือพยาธิสภาพผิดปกติโดยผลการวิเคราะห์เบื้องต้นตรวจพบตำแหน่งที่อาจเป็นเนื้อร้าย 0 ถึง 5 จุด ขึ้นอยู่กับชิ้นเนื้อแต่ละชิ้น เมื่อประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนในระบบย้อมสีอัตโนมัตินี้ คำนวณว่าจุดคุ้มทุนจะอยู่ที่จำนวนการทดสอบชิ้นเนื้อ 156.44 ครั้ง ซึ่งหมายความว่า หากมีการทดสอบชิ้นเนื้อตั้งแต่ 157 ครั้งขึ้นไป ระบบนี้จะสร้างผลกำไรที่เกินกว่าเงินลงทุน อนึ่งควรตระหนักว่าการวิเคราะห์ภาพที่กล่าวถึงนี้ เป็นเพียงขั้นตอนการประเมินเบื้องต้น โดยผลวินิจฉัยที่แท้จริงต้องอาศัยการตรวจพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยาคลินิก</p> กีรดิษ สายพัทลุง, สุขุมาล เหรียญทอง, รุจิราภา งามสระคู, อะเคื้อ กุลประสูติดิลก, เพชร นันทิวิชิตชัย Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/270713 Thu, 12 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของผลิตภัณฑ์โลชันที่มีส่วนประกอบของสารสกัดว่านหางจระเข้แช่เยือกแข็งต่อผิวหนังผู้สูงอายุ ในจังหวัดปทุมธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/271118 <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดว่านหางจระเข้แช่เยือกแข็ง (2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์โลชันที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากว่านหางจระเข้แช่เยือกแข็งที่มีความคงตัว และ (3) เพื่อศึกษาผลการใช้ผลิตภัณฑ์โลชันที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากว่านหางจระเข้แช่เยือกแข็ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุชาย/หญิงมีภาวะผิวแห้ง จำนวน 60 คน กลุ่มควบคุม 30 คน และกลุ่มทดลอง 30 คน หลังใช้โลชัน 4 สัปดาห์ เก็บข้อมูลค่าความชุ่มชื้นและค่าการสูญเสียน้ำจากผิวหนัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน ผลการศึกษาพบว่า (1) สารสกัดว่านหางจระเข้แช่เยือกแข็งที่ความเข้มข้นร้อยละ 6-200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ร้อยละ 16.43–66.22 โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 143.92 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร (2) ผลิตภัณฑ์โลชันที่ส่วนประกอบของสารสกัดว่านหางจระเข้แช่เยือกแข็งมีความคงตัวดี (3) ผลการทดสอบประสิทธิภาพหลังใช้ผลิตภัณฑ์โลชันที่ส่วนประกอบของสารสกัดว่านหางจระเข้แช่เยือกแข็งกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความชุ่มชื้นผิว เท่ากับ 34.24 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับค่าการสูญเสียน้ำจากผิวหนัง กลุ่มทดลองมีค่าการสูญเสียน้ำจากผิวหนัง เท่ากับ 6.82 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาสรุปว่า สารสกัดว่านหางจระเข้แช่เยือกแข็งฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ผลิตภัณฑ์โลชันที่มีส่วนประกอบของสารสกัดว่านหางจระเข้แช่เยือกแข็งมีความคงตัวดี และมีผลต่อผิวหนังผู้สูงอายุด้านการเพิ่มความชุ่มชื้นและลดการสูญเสียน้ำออกจากผิวหนัง สามารถนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากธรรมชาติเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและต่อยอดเชิงพาณิชย์ต่อไป</p> วรรณิสา โตมะโน, จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย, รัฐพล ศิลปรัศมี, จิรณัฐ บัวอาจ, สุพิชฌาย์ ผุยสุ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/271118 Thu, 12 Dec 2024 00:00:00 +0700 การออกแบบและวิเคราะห์ข้อบกพร่องในการหดตัวของชิ้นงานหล่ออินเวสต์เมนต์ด้วยซอฟต์แวร์ Cast-Designer https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/271404 <p>จากการตรวจสอบความบกพร่องของชิ้นงาน Body OTC Steady ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรซีเอ็นซีที่ผ่านการขึ้นรูปด้วยกระบวนการหล่ออินเวสต์เมนต์ (Investment Casting) พบว่า ปัญหาความบกพร่องของชิ้นงานส่วนใหญ่ คือ การเกิดโพรงหดตัวในกระบวนการแข็งตัวของโลหะเหลวในแม่พิมพ์ เพื่อที่จะลดปัญหาความบกพร่องดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการลดปริมาตรการเกิดโพรงหดตัวที่เกิดขึ้นในชิ้นงาน Body OTC Steady โดยการจำลองกระบวนการหล่อขึ้นรูปด้วยโปรแกรม Cast-Designer เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดความสูญเสียที่ไม่จำเป็น รวมไปถึงการช่วยวิเคราะห์แนวโน้มในการผลิตที่ทำได้อย่างแม่นยำ ซึ่งการจำลองพฤติกรรมการไหลแบ่งออกเป็น 2 กรณีศึกษา คือ กรณีที่หนึ่งเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ใช้ในปัจจุบัน กรณีที่สองศึกษาการออกแบบระบบป้อนเติมโลหะเหลวขึ้นใหม่ทั้งหมด 3 โมเดล จากผลการศึกษาพบว่า ในกรณีที่สองการออกแบบระบบป้อนเติมโลหะเหลวทำให้ชิ้นงานเกิดปริมาตรการเกิดโพรงหดตัวน้อยที่สุดคือ มีทางวิ่ง (runner) หน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 อัน ทางเข้า (gate<sub>1</sub>) หน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า 6 อัน และทางเข้า (gate<sub>2</sub>) หน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัส 2 อัน โดยพบข้อบกพร่องประเภทการหดตัวในระบบป้อนเติมรูปแบบใหม่ที่ 0.685 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งน้อยกว่าระบบป้อนเติมรูปแบบเดิมถึง 1.220 เปอร์เซ็นต์</p> สุเมธิณี หูชัยภูมิ, พัตร์พิมล สุวรรณกาญจน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/271404 Thu, 12 Dec 2024 00:00:00 +0700 เครื่องถักเปีย 3 สายอัตโนมัติ จากเศษวัสดุเพื่อสร้างวัตถุดิบขั้นต้นสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/270720 <p>งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาเครื่องจักรสำหรับการถักเปีย 3 สายแบบอัตโนมัติ โดยใช้กลไกและระบบมอเตอร์ขับเคลื่อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดระยะเวลาในกระบวนการผลิตวัตถุดิบขั้นต้นสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งเดิมใช้แรงงานคนในการถักด้วยมือ ซึ่งมีอัตราการผลิตค่อนข้างต่ำ โดยสามารถถักเปียได้เพียง 6 ถึง 7 เมตรต่อชั่วโมงต่อคน หรือเฉลี่ย 6.5 เมตรต่อชั่วโมง หากผู้ปฏิบัติงานถักเป็นเวลา 8 ชั่วโมง จะได้เปียถักยาวประมาณ 52 เมตรเท่านั้น โดยเครื่องจักรจะใช้มอเตอร์และกลไกทางกลศาสตร์สำหรับขับเคลื่อนการถัก แล้วทำการทดสอบประสิทธิภาพด้วยการกำหนดความเร็วรอบของมอเตอร์การถักคงที่ที่ 30 รอบต่อนาที และความเร็วรอบของมอเตอร์ชุดเก็บเปียตั้งแต่ 3 ถึง 23 รอบต่อนาที จากนั้นทำการประเมินคุณสมบัติของเส้นเปียที่ได้ ด้วยการประเมินดังนี้ (1) ประเมินขนาดของเส้นเปียด้วยการประมวลผลภาพเปรียบเทียบกับขนาดมาตรฐานชุมชนที่ 1 เซนติเมตร พบว่า ขนาดเส้นเปียจากเครื่องจักรอยู่ในช่วง 1.17 ถึง 1.72 เซนติเมตร และ (2) ทดสอบความแข็งแรงของเส้นเปียด้วยการดึง เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานชุมชนที่ 514.85 นิวตัน พบว่าเส้นเปียจากเครื่องจักรมีความแข็งแรงอยู่ในช่วง 295.18 ถึง 472.19 นิวตัน โดยความแข็งแรงที่ได้คำนวณจากแรงดึงที่คิดเป็นกิโลกรัมแรง (kgf) จากผลการทดสอบ สภาวะที่เหมาะสมในการใช้งานเนื่องจากได้ขนาดและความแข็งแรงใกล้เคียงกับที่ชุมชนต้องการ คือ กำหนดความเร็วรอบของมอเตอร์การถักคงที่ 30 รอบต่อนาที และความเร็วรอบของมอเตอร์ชุดเก็บเปียที่ 15 รอบต่อนาที ซึ่งจะใช้เวลาในการถักเฉลี่ย 1.136 นาทีต่อความยาว 5 เมตร จุดคุ้มทุนของการผลิตอยู่ที่ความยาว 934.78 เมตร โดยการพัฒนาเครื่องจักรถักเปีย 3 สายอัตโนมัตินี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้แรงงานคนถักด้วยมือตามวิธีดั้งเดิม โดยสามารถลดระยะเวลาและเพิ่มปริมาณการผลิตได้อย่างมาก</p> สุขุมาล เหรียญทอง, กีรดิษ สายพัทลุง, รุจิราภา งามสระคู, อะเคื้อ กุลประสูติดิลก, เพชร นันทิวิชิตชัย Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/270720 Thu, 12 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพยากรณ์อากาศยานอุบัติเหตุจากการวิเคราะห์และจำแนกปัจจัยมนุษย์ด้วยเนอีฟเบย์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/272391 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุ และ (2) เพื่อวัดประสิทธิภาพการพยากรณ์อากาศยานอุบัติเหตุ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงจากอากาศยานพาณิชย์แอร์บัส รุ่น A320-A321 ที่มีรายงานเกิดอุบัติเหตุช่วงการลงจอดและมีรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุเสร็จสมบูรณ์ ด้วยปัจจัย เช่น เวลา สภาพอากาศ จำนวนทางวิ่ง HFACS เป็นต้น ตั้งแต่ปี ค.ศ.2013-2023 ที่ จำนวน 67 ชุด แบ่งเป็น 2 ชุด คือ ชุดฝึกสอน จำนวน 54 ชุด และชุดทดสอบ จำนวน 13 ชุด เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ และเนอีฟเบย์ ผลการวิจัยพบว่า (1) สาเหตุการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุ คือ ข้อจำกัดทางกายภาพ และข้อผิดพลาดของมนุษย์ เป็นต้น และ (2) ประสิทธิภาพการพยากรณ์อากาศยานอุบัติเหตุ ได้เท่ากับ 0.69 </p> บุญญวัฒน์ อักษรกิตติ์, วรรษมนต์ สันติศิริ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/272391 Thu, 12 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ข้อบกพร่องงานหล่อทรายจากการจำลองสถานการณ์ การถ่ายเทความร้อนด้วยโปรแกรม Cast Designer https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/271583 <p>ในกระบวนการหล่อ ปัญหาหนึ่งที่พบบ่อย คือ การเกิดโพรงหดตัวภายในชิ้นงานหล่อ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการกระจายความร้อนที่ไม่สม่ำเสมอในชิ้นงาน ทำให้เกิดบางบริเวณมีการสะสมความร้อนมากกว่าบริเวณอื่น ๆ เมื่อความร้อนถูกสะสมจนถึงจุดสูงสุด บริเวณดังกล่าวจะหดตัวลงอย่างรวดเร็ว ในงานวิจัยนี้จะวิเคราะห์ชิ้นงานหล่อทรายชิ้นงานกระสวนชิ้นเดียวหน้าผ่าราบมีไส้แบบในตัวไม่มีรูล้น โดยการออกแบบรูล้นเพื่อแก้ไขปัญหาเป็นลักษณะทรงกระบอกกลวงขนาด 8 มิลลิเมตร และ 15 มิลลิเมตร แต่การแก้ไขปัญหานั้นไม่เป็นผลสำเร็จ ทางผู้วิจัยจึงได้นำซอฟท์แวร์ Cast Designer มาใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมการไหลของความร้อนภายในชิ้นงานหล่อทรายชิ้นงานกระสวนชิ้นเดียวหน้าผ่าราบมีไส้แบบในตัวแบบไม่มีรูล้น โดยใช้วัสดุเป็นอลูมิเนียมผสม A110 โดยใช้โปรแกรมจะคำนวณและแสดงผลการกระจายของความร้อนในรูปแบบจำลองสามมิติ เพื่อระบุได้ว่าบริเวณใดของชิ้นงานมีการสะสมความร้อนสูงที่สุด โดยจากการวิจัยพบว่า การออกแบบรูล้นในตำแหน่งที่มีการสะสมของความร้อนสูงที่สุดจะช่วยลดปริมาณการเกิดโพรงหดตัวของชิ้นงานลงได้เหลือเพียง 0.16 เปอร์เซ็นเท่านั้น</p> พงศกร ขวัญทอง, พัตร์พิมล สุวรรณกาญจน์, เพ็ญญารัตน์ สายสิริรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/271583 Thu, 12 Dec 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้ระบบนำวิถีด้วยคอมพิวเตอร์วิทัศน์สำหรับอากาศยานไร้คนขับโจมตีขนาดเล็ก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/271720 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบนำวิถีด้วยภาพสำหรับควบคุมอากาศไร้คนขับโจมตีขนาดเล็กในการโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน โดยการประยุกต์ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ด้านคอมพิวเตอร์วิทัศน์ในการคำนวณหาตำแหน่งของเป้าหมายแล้วควบคุมการเคลื่อนที่ของอากาศยานไร้คนขับแบบมัลติโรเตอร์ให้เคลื่อนที่ไปโจมตีเป้าหมายได้ จากการทดสอบการบิน จำนวน 6 เที่ยวบิน ที่มีทิศทางการเห็นภาพที่แตกต่างกัน และบินที่ความสูง 80 เมตรแล้วลดระดับความสูงเพื่อเข้าโจมตีเป้าหมายเป็นแผ่นสีวงกลมขนาด 3 เมตร x 3 เมตร ที่อยู่นิ่งภาคพื้นดิน การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ YOLO v5 และทำการปรับค่าที่เหมาะสมพบว่า YOLO v5 ที่กำหนดค่าความแม่นยำ Confidence threshold เท่ากับ 0.001 มีประสิทธิภาพดีที่สุด โดยมีค่า Precision Recall F1 score mAP50 และ mAP50-95 ดีกว่าแบบจำลองอื่น ๆ คือ ค่า Precision นั้นมีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 0.794 และค่ามากที่สุดเท่ากับ 0.999 ในขณะที่ค่า Recall มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 0.993 และค่ามากที่สุดเท่ากับ 1 และค่า F1 Score มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 0.877 และมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 0.999 ค่า mAP50 มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 0.948 และมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 0.995 ค่า mAP50-95 มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 0.807 และมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 0.935</p> เสาวคนธ์ ภุมมาลี, ณัทกร พราหมอ้น, ประสาทพร วงษ์คำช้าง, เจนวิทย์ คำพูล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/271720 Thu, 12 Dec 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการกำหนดพื้นที่อพยพจากอุทกภัย: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านโนนกระสัง ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/272961 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ และการวิจัยแบบประยุกต์ โดยใช้ชุมชนบ้านโนนกระสัง ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาเป็นกรณีศึกษาวัตถุประสงค์ของการวิจัยมีดังนี้ (1) เพื่อศึกษาและสำรวจพื้นที่ชุมชนบ้านโนนกระสัง ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ที่สามารถใช้เป็นพื้นที่อพยพได้ และ (2) เพื่อประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของปัญหา Capacitated Facility Location Problem--CFLP ในการกำหนดพื้นที่อพยพให้แก่ชุมชนบ้านโนนกระสัง ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา งานวิจัยได้สำรวจพื้นที่ต่าง ๆ ของชุมชนประกอบด้วยพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรม และลำน้ำในพื้นที่ นอกจากนี้ได้สอบถามสมาชิกชุมชนจำนวน 28 ครัวเรือน ประชากร 125 คน ข้อมูลในงานวิจัยมีทั้งหมด 5 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกในครัวเรือน ข้อมูลความสูงของพื้นที่ชุมชน ข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากของชุมชน ข้อมูลความจุของพื้นที่ของจุดอพยพ และข้อมูลระยะทางระหว่างชุมชนไปยังจุดอพยพ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่สำรวจมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของปัญหา CFLP ในการกำหนดพื้นที่อพยพให้แก่ชุมชน ผลการวิจัยพบว่า จุดอพยพที่ได้จากการสำรวจมีทั้งหมด 6 จุด ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลมะค่า โรงเรียนบ้านโคกตะพาบ วัดตาจั่น วัดเดิม โรงเรียนพิมายวิทยา และวัดสระเพลง ผลการสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์ในการหาจุดอพยพที่ใกล้ที่สุดและสามารถรองรับจำนวนผู้อพยพได้อย่างเพียงพอ ปรากฏว่า ชุมชนบ้านโนนกระสังควรอพยพไปยังวัดตาจั่นและโรงเรียนพิมายวิทยา โดยวัดตาจั่น มีพื้นที่จอดรถ 3,600 ตร.ม.มีพื้นที่ส่วนตัว 1780 ตร.ม. และมีจำนวนห้องน้ำ 6 ห้อง ระยะทาง 12.7 กิโลเมตร ส่วนโรงเรียนพิมายวิทยา มีพื้นที่จอดรถ 11,000 ตร.ม. มีพื้นที่ส่วนตัว 4,450 ตร.ม. และมีจำนวนห้องน้ำ 20 ห้อง ระยะทาง 12.2 กิโลเมตร</p> ธนาคาร ศรีมะเริง, ภาคิน อัตตวิริยะสุวร, พีรพัฒน์ เสโนฤทธิ์, พรศิริ จงกล, รชนีกร พลปัถพี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/272961 Thu, 12 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพยากรณ์สัดส่วนผู้สูงอายุที่มีปัญหาความเครียดในจังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/272438 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยพยากรณ์อนาคตด้วยวิธีอนุกรมเวลา มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อพยากรณ์สัดส่วนผู้สูงอายุที่มีความเครียดในจังหวัดขอนแก่นปีงบประมาณ 2567 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เข้ารับการคัดกรองความเครียดแล้วพบว่า มีปัญหาความเครียดในจังหวัดขอนแก่นปีงบประมาณ 2559 ถึง 2567 (ประมวลผลวันที่ 20 เมษายน 2567) ข้อมูลทุติยภูมิรวบรวมจากระบบรายงานของกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพัฒนาตัวแบบตามวิธีสมการถดถอยพหุนาม และทฤษฎีระบบสีเทา เลือกตัวแบบที่มีความแม่นยำการพยากรณ์ด้วยสัมประสิทธิ์การทำนายและค่าเฉลี่ยร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ ผลการวิจัยพบว่า สัดส่วนผู้สูงอายุที่เข้ารับการคัดกรองความเครียดแล้วพบว่ามีปัญหาความเครียดในช่วงปีงบประมาณที่ศึกษามีความผันผวนไม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลงชัดเจนไม่เหมาะสมที่จะใช้ตัวแบบการถดถอยเชิงเส้นตรง จึงใช้ตัวแบบที่พัฒนาตามวิธีสมการถดถอยพหุนามและทฤษฎีระบบสีเทา ตัวแบบสมการถดถอยพหุนามระดับขั้นที่ 4 และตัวแบบ GM (1,1) Error Periodic Correction (GM (1,1) EPC) มีสัมประสิทธิ์การทำนายร้อยละ 78 และ 80 ตามลำดับ มีความสอดคล้องของค่าพยากรณ์กับค่าจริงสูง ค่าเฉลี่ยร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ 40.65 และ 39.44 ตามลำดับ อยู่ในเกณฑ์ใช้พยากรณ์ได้ ดังนั้นค่าพยากรณ์สัดส่วนผู้สูงอายุที่มีความเครียด ปีงบประมาณ 2567 จึงควรอยู่ระหว่างค่าพยากรณ์ตัวแบบ GM (1,1) EPC กับตัวแบบตามวิธีสมการถดถอยพหุนาม คือ ร้อยละ 4.72 ถึง 10.40 ขณะที่ค่าจริงปีงบประมาณ 2567 (ประมวลผลวันที่ 20 เมษายน 2567) อยู่ที่ร้อยละ 7.45</p> พิมพ์ประภา โตสงคราม, วัฒนา ชยธวัช Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/272438 Thu, 12 Dec 2024 00:00:00 +0700 การออกแบบและพัฒนาเครื่องตัดเศษชิ้นงานสำหรับขั้วหลอดไฟพลาสติก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/272162 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องตัดเศษชิ้นงานสำหรับขั้วหลอดไฟพลาสติก โดยสามารถลดเวลาและข้อผิดพลาดในการตัดส่วนเกินได้ ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการออกแบบหลักการทำงานของเครื่องตัดเศษชิ้นงานสำหรับขั้วหลอดไฟพลาสติก ซึ่งมีขนาดมิติโดยรวมของเครื่องอยู่ที่ 380×585×880 มิลลิเมตร มีส่วนประกอบสำคัญทั้งหมด 5 ส่วน คือ ชุดกำหนดตำแหน่งชิ้นงาน ชุดปรับระยะการตัด ชุดลำเลียงเข้า ชุดการตัดด้วยระบบลม ชุดลำเลียงชิ้นงานออก ผลจากการออกแบบพบว่า เมื่อใช้เครื่องตัดเศษชิ้นงานสำหรับขั้วหลอดไฟพลาสติก ร่วมกับพนักงาน สามารถทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ โดยรุ่นฝาครอบสีขาว แบบ A รุ่น P008060 TTC/W ซึ่งเดิมพนักงานใช้เวลาในการตัดเฉลี่ย 12.1 วินาที/ชิ้น เมื่อพนักงานทำงานร่วมกับเครื่องใช้เวลา 1.83 วินาที/ชิ้น รุ่นฝาครอบสีขาว แบบ B รุ่น P008052 YYC/W ซึ่งเดิมพนักงานใช้เวลาในการตัด 7.9 วินาที/ชิ้น เมื่อพนักงานทำงานร่วมกับเครื่องใช้เวลา 2.33 วินาที/ชิ้น และรุ่นฝาเกลียว แบบ C รุ่นP101003 PT3/5 (PTE-E27) ซึ่งเดิมพนักงานใช้เวลาในการตัด 7.9 วินาที/ชิ้น เมื่อพนักงานทำงานร่วมกับเครื่องใช้เวลา 2.33 วินาที/ชิ้น ซึ่งสามารถตัดส่วนเกินของชิ้นงานขั้วหลอดไฟพลาสติกได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้ผิวสำเร็จชิ้นงานขั้วหลอดไฟพลาสติกได้คุณภาพ สามารถลดของเสียที่เกิดจากการปฎิบัติงาน ลดเวลาในการทำงาน ส่งผลให้เพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น</p> ทศพร อัศวรังษี, กัลยา อุบลทิพย์, นิตยา ศิริวัน, ชินเดช เมธารมณ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/272162 Thu, 12 Dec 2024 00:00:00 +0700 บทบาท ประโยชน์ และความท้าทายของการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/270634 <p>ภัยคุกคามทางไซเบอร์มีแนวโน้มทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการโจมตีด้วยมัลแวร์ การโจมตีแบบปฏิเสธการให้บริการ และภัยคุกคามประเภทใหม่อย่างการเรียกค่าไถ่ ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อองค์กรและบุคคลทั่วโลก ระบบรักษาความปลอดภัยแบบดั้งเดิมมีข้อจำกัดในการรับมือ การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ AI ในการรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ในช่วงปี ค.ศ. 2014-2024 โดยใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ศึกษาเปรียบเทียบผลงานวิจัยทั้งในแง่เทคนิค AI ที่นำมาใช้ ประเภทภัยคุกคามที่ศึกษา และประสิทธิภาพของระบบ ผลการศึกษาพบว่า การประยุกต์ใช้เทคนิค AI หลากหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็น Machine Learning Deep Learning หรือการผสมผสานหลายเทคนิค สามารถเพิ่มความแม่นยำในการตรวจจับภัยคุกคาม ความรวดเร็วในการตอบสนอง และขีดความสามารถในการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ๆ ได้สูงกว่าวิธีการแบบดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะการใช้ Deep Learning ในการวิเคราะห์มัลแวร์ที่มีความแม่นยำสูงถึง 98% และเร็วกว่าการวิเคราะห์ด้วยมนุษย์ถึง 20 เท่า</p> ปาริตา ไพศาลรุ่งพนา, พัฒน์ศรัญย์ เลาหไพบูลย์, อรณิชา คงวุฒิ, วุฒิรงค์ คงวุฒิ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/270634 Thu, 12 Dec 2024 00:00:00 +0700 น้ำตาลฟรุกโตส: ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/272926 <p>ฟรุกโตส (fructose) เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน (C<sub>6</sub>H<sub>12</sub>O<sub>6</sub>) แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) น้ำตาลฟรุกโตสธรรมชาติ (natural fructose) พบได้ในผลไม้และผักบางชนิด (2) น้ำตาลฟรุกโตสจากอ้อย (cane fructose) ผลิตอยู่ในน้ำตาลซูโครส ซึ่งประกอบด้วยฟรุกโตส และกลูโคส (3) น้ำตาลฟรุกโตสแปรรูปจากข้าวโพด (high fructose corn syrup) ผลิตอยู่ในรูปของเหลวเข้มข้นหรือผง การรับประทานอาหาร ผลไม้ ขนม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุกโตสสูงในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานานมีผลเสียต่อสุขภาพเนื่องจากกระบวนการเผาผลาญน้ำตาลฟรุกโตสเกิดขึ้นในตับเท่านั้น โดยตับจะสังเคราะห์เป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ และไลโปโปรตีน ทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง ไขมันสะสมในเซลล์ตับ กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อไขมันในร่างกาย เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคเบาหวานและโรคอื่น ๆ ได้ในประชากรทั่วโลก ในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน ร่วมกับการขาดการออกกำลังกายเป็นประจำก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้มากขึ้น ในบทความนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายเกี่ยวกับน้ำตาลฟรุกโตสซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์เพื่อให้บุคลากรในทีมสุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจและนำไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันการเกิดโรคเบาหวานต่อไป</p> สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ, ขวัญใจ ตีอินทอง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/272926 Thu, 12 Dec 2024 00:00:00 +0700