https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/issue/feed
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)
2024-08-07T09:09:18+07:00
Dr. Kannicha Pokudom
kannicha@eau.ac.th
Open Journal Systems
<p><span lang="TH" style="font-size: 15.0pt; line-height: 120%; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; letter-spacing: -.15pt;"> กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความยินดีรับตีพิมพ์บทความสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ พยาบาลศาสตร์</span><span lang="TH" style="font-size: 15.0pt; line-height: 120%; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;"> <span style="letter-spacing: -.05pt;">เภสัชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ การบิน สิ่งแวดล้อม คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและสาขาวิชา</span>ที่เกี่ยวข้อง เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ดังนี้ </span><span style="font-size: 15.0pt; line-height: 120%; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">(1) <span lang="TH">ผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น</span> (<span style="letter-spacing: .4pt;">2)<span lang="TH"> การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง </span></span><span lang="TH" style="letter-spacing: -.05pt;">กองบรรณาธิการ ฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการรับหรือปฏิเสธบทความเข้าสู่กระบวนการประเมิน</span><span lang="TH">คุ<span style="letter-spacing: -.15pt;">ณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ บทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (</span></span><span style="letter-spacing: -.15pt;">Peer Review<span lang="TH">)</span></span><span lang="TH"> <span style="letter-spacing: -.35pt;">ในสาขาวิชานั้น ๆ จำนวนไม่น้อยกว่า</span></span><span style="letter-spacing: -.35pt;"> 3 <span lang="TH">ท่าน โดยเป็นการประเมินบทความที่ผู้ทรงคุณวุฒิ</span></span><span lang="TH">และ <span style="letter-spacing: -.2pt;">ผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อและสังกัดกันและกัน (</span></span><span style="letter-spacing: -.2pt;">Double<span lang="TH">-</span>blind<span lang="TH">) ทั้งนี้บทความจากบุคลากรภายใน</span></span><span lang="TH" style="letter-spacing: .4pt;">จะได้รับการพิจารณาบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกทั้งหมด และบทความจากบุคลากรภายนอกจะได้รับการพิจารณาบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกกับผู้ทรง</span><span lang="TH" style="letter-spacing: .15pt;">คุณวุฒิภายใน</span> (<span style="letter-spacing: .15pt;">3)<span lang="TH"> ข้อความที่ปรากฏภายในบทความแต่ละเรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารเล่มนี้เป็น</span></span><span lang="TH" style="letter-spacing: -.05pt;">ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ และคณาจารย์</span><span lang="TH">ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหา รูปภาพและการตรวจ<span style="letter-spacing: .15pt;">ร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเอง</span></span> (<span style="letter-spacing: .15pt;">4)<span lang="TH"> ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร</span></span></span></p>
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/267123
การติดตั้งและการต่อระบบ Hybrid Off Grid Inverter เพื่อพัฒนาโรงเรือนปิดสำหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบอัตโนมัติ
2023-12-06T12:03:05+07:00
รังสรรค์ พงษ์พัฒนอำไพ
emailit62@gmail.com
ณมน วรธนานุวงศ์
emailit62@gmail.com
<p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและพัฒนาสร้างโรงเรือนปิดด้วยวัสดุแผ่นโพลีคาร์บอเนตสีใส โดยมี<br />การประยุกต์ใช้พลังงานสีเขียวให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คณะผู้วิจัยได้มีการพัฒนาโรงเรือนปิดรูปร่างหลังคาทรงจั่ว มีขนาดความกว้าง 4 เมตร ความยาว 8 เมตร และความสูง 3.40 เมตร โดยมีโครงสร้างหลังคาทำมุมข้างละ 15 องศา เพื่อนำแผงโซลาร์เซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Solar Cells) ขนาด 340 วัตต์ ข้างละ6 แผง รวมทั้งสิ้น 12 แผง โดยแต่ละข้างต่อระบบแบบอนุกรม และนำแต่ละข้างนำมาต่อระบบแบบขนาน โดยผ่านเครื่องอินเวอร์เตอร์ขนาด 5,500 วัตต์ ให้มีการทำงานแบบออฟกริด (Off Grid) โดยไม่ใช้แบตเตอรี่ เพื่อลดปริมาณการใช้งานไฟฟ้า ในช่วงเวลากลางวัน (08.00 น.-17.00 น.) เพื่อจ่ายกำลังไฟฟ้าให้แก่ พัดลมดูดระบายความร้อน ปั๊มพ่นหมอก และปั๊มดูดสารละลายปุ๋ยชนิดเอและปุ๋ยชนิดบี โดยได้ทดลองผลิตผักกรีนโอ๊คไฮโดรโปนิกส์ในแนวตั้ง ระบบกึ่งน้ำลึก (DRFT) และทำการทดสอบหาประสิทธิภาพของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งต้นกำลัง ผลการทดลองใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทดสอบกับพัดลมดูดระบายความร้อนสามารถหมุนทำงานได้ พบว่า ผลิตแรงดันเฉลี่ยอยู่ที่ 226.7 โวลท์ และกระแสไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.19 แอมป์ และผลการทดสอบกับปั๊มสูบสารละลายของน้ำปุ๋ยทำงาน พบว่า ผลิตแรงดันเฉลี่ยอยู่ที่ 226.7 โวลท์ และกระแสไฟฟ้าเฉลี่ย อยู่ที่ 1.13 แอมป์ โดยผลการทดลองทั้งสองชนิดนี้ สามารถนำไปควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นภายในโรงเรือนปิดผ่านระบบสมาร์ทโฟนให้ทำงานอัตโนมัติได้ ผลการทดลองผลิตผักกรีนโอ๊ค 2 ครั้ง ในโรงเรือนปิดที่พัฒนาสร้างขึ้นพบว่า จำนวนหลุมปลูกในแนวตั้งที่เหมาะสมคือ 720 หลุมต่อการปลูก1 ครั้ง สามารถผลิตผักกรีนโอ๊คไฮโดรโปนิกส์ในโรงเรือนปิดได้เป็นอย่างดี</p>
2024-08-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/267342
การออกแบบและสร้างต้นแบบชุดฝึกซ้อมการขับขี่สำหรับรถประหยัดเชื้อเพลิง
2023-11-29T10:43:22+07:00
วสวัตติ์ เสาวดี
wasawat.saowadee@gmail.com
ชวิน จันทรเสนาวงศ์
wasawat.saowadee@gmail.com
<p style="font-weight: 400;">การออกแบบและสร้างต้นแบบชุดฝึกซ้อมการขับขี่สำหรับรถประหยัดเชื้อเพลิงนั้น เป็นการจำลองการขับขี่เพื่อเปรียบเทียบอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ขับขี่บนเครื่องทดสอบกับการขับขี่บนสนามจริง โดยการชั่งน้ำหนักเชื้อเพลิงที่ใช้ก่อน-หลังการทดสอบ เพื่อให้ทราบถึงอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของรถประหยัดเชื้อเพลิงก่อนไปแข่งขันจริง โดยการทดสอบแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอน 1 ทดสอบขับขี่โดยทำการปรับเพิ่ม-ลด แรงกดของชุดสร้างแรงต้านที่ล้อช่วยแรงที่ 0 5 10 15 และ 20 นิวตัน และนำผลการทดสอบมาเปรียบเทียบกับผลการแข่งขันครั้งก่อน เพื่อหาค่าแรงต้านจำลองบนเครื่องทดสอบขั้นตอนที่ 2 ทำการขับขี่รถประหยัดที่ความเร็วสูงสุดต่าง ๆ ดังนี้ 50 55 และ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อหาความเร็วสูงสุดที่เหมาะสมที่สุดในการขับขี่ ขั้นตอนที่ 3 ทดสอบการขับขี่โดยใช้ข้อมูลการทดสอบในข้างต้น เพื่อเปรียบเทียบดูแนวโน้มอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเฉลี่ยที่ระยะทาง 18 กิโลเมตร ตามกฎกติกาการแข่งขัน จากผลการทดสอบได้ค่าแรงกดที่ชุดสร้างแรงต้านเท่ากับ 6.84 นิวตัน และความเร็วสูงสุดที่ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ช่วยให้รถมีอัตราประหยัดเชื้อเพลิงมากที่สุด จากผลการทดสอบในระยาทาง 18 กิโลเมตรพบว่าอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 51.48 กรัม (265.80 กิโลเมตรต่อลิตร) ดังนั้นในส่วนของการปรับปรุงพัฒนาส่วนต่าง ๆ ในอนาคตนั้น ผู้วิจัยสามารถใช้ชุดฝึกซ้อมการขับขี่สำหรับรถประหยัดเชื้อเพลิงเพื่อคาดคะเนอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ก่อนจะทำการเข้าแข่งขันจริงเพื่อหาจุดที่ดีที่สุดของการปรับปรุงเพื่อการแข่งขันในครั้งถัดไป</p>
2024-08-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/267368
การพัฒนาแอปพลิเคชันการถ่ายทอดความรู้ท่ารำมวยโบราณจังหวัดสกลนคร
2023-12-07T13:14:24+07:00
สิทธิพร วงศ์บาตร
nipaporn@snru.ac.th
สุรสิทธิ์ อุ้ยปัดฌาวงศ์
nipaporn@snru.ac.th
นิภาพร ชนะมาร
nipaporn@snru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแอปพลิเคชันการถ่ายทอดความรู้ท่ารำมวยโบราณจังหวัดสกลนคร (2) ประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชันการถ่ายทอดความรู้ท่ารำมวยโบราณจังหวัดสกลนคร และ (3) ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชันการถ่ายทอดความรู้ท่ารำมวยโบราณจังหวัดสกลนคร พัฒนาตามกระบวนการวงจรการพัฒนา (SDLC) โดยใช้โปรแกรม Android Studio Visual Studio Code และภาษา Dart เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และแบบประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า แอปพลิเคชันการถ่ายทอดความรู้ท่ารำมวยโบราณจังหวัดสกลนคร ที่พัฒนาขึ้นมีทั้งหมด 23 ท่ารำ สามารถทำงานได้ 2 ส่วน คือ (1) ผู้ใช้งานเรียนรู้ท่ารำมวยโบราณจังหวัดสกลนคร โดยการเลือกในเนื้อหา ซึ่งสามารถใช้เป็นสื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ท่ารำมวยโบราณจังหวัดสกลนครได้จริง และผู้สนใจทั่วไปที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา และ (2) ผู้ดูแลระบบจัดการข้อมูลท่ารำมวยโบราณได้ พิจารณาจากผลการประเมินประสิทธิภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x=4.43 SD=.60) และผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในระดับมาก (x=4.37 SD=.74) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าแอปพลิเคชันนี้สามารถใช้เป็นสื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ท่ารำมวยโบราณจังหวัดสกลนครได้จริง อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นสื่อในการส่งเสริมด้านสุขภาพ ด้านศิลปะวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ในจังหวัดสกลนครได้</p>
2024-08-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/267493
การพยากรณ์การเกิดพายุฝนฟ้าคะนองระยะปัจจุบัน ด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง กรณีศึกษาสนามบินภาคเหนือของประเทศไทย
2024-02-05T15:49:43+07:00
ชญานิษฐ์ เมืองสง
chayanit_mua@hotmail.com
ขจิตพรรณ กฤตพลวิมาน
Khajitpan.mak@stou.ac.th
รัชกฤช ธนพัฒนดล
Ratchakrit.Tan@stou.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบจำลองในการพยากรณ์การเกิดพายุฝนฟ้าคะนองระยะปัจจุบัน และ (2) ประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลองในการพยากรณ์การเกิดพายุฝนฟ้าคะนองระยะปัจจุบัน ที่มีระยะเวลาพยากรณ์ 1 และ 2 ชั่วโมงข้างหน้า สำหรับสนามบินภาคเหนือของประเทศไทยด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง โดยชุดข้อมูลนำเข้า คือ ข่าวอากาศการบินของสนามบินในพื้นที่ภาคเหนือจำนวน 9 สนามบินที่มีการรายงานข่าวอากาศการบินรายชั่วโมงโดยกรมอุตุนิยมวิทยา ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 รวมทั้งสิ้น 364,382 ชุดข้อมูล และทำการแบ่งข้อมูลทั้งหมดออกเป็น 5 กลุ่มข้อมูล คือ กลุ่มข้อมูลรวมสนามบินภาคเหนือ กลุ่มข้อมูลสนามบินภาคเหนือตอนบน กลุ่มข้อมูลสนามบินภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มข้อมูลสนามบินที่มีภูเขาล้อมรอบ 1-2 ด้าน และกลุ่มข้อมูลสนามบินที่มีภูเขาล้อมรอบ 3-4 ด้าน โดยพยากรณ์การเกิดพายุฝนฟ้าคะนองระยะปัจจุบันด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง และสร้างแบบจำลองการจำแนกด้วยอัลกอริทึมมาตรฐาน 3 อัลกอริทึม ได้แก่ Naive Bayes Decision Tree และ Neural Networks และอัลกอริทึมมาตรฐานร่วมกับอัลกอริทึมการเรียนรู้แบบกลุ่ม ซึ่งได้แก่ Bagging AdaBoost และ Random Forest และทำการปรับความสมดุลของข้อมูลด้วยเทคนิคการสุ่มตัวอย่างเกิน SMOTE และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแบบจำลองด้วยวิธี 10-Fold Cross Validation ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองที่ดีที่สุดสำหรับกลุ่มข้อมูลรวมสนามบินภาคเหนือ ระยะเวลาการพยากรณ์ 1 ชั่วโมงข้างหน้า คือ Random Forest โดยมีค่า F-measure เท่ากับร้อยละ 76.45 และค่าพื้นที่ใต้กราฟเท่ากับ 0.888 และสำหรับระยะเวลาการพยากรณ์ 2 ชั่วโมงข้างหน้า คือ Neural Networks ร่วมกับ Bagging โดยมีค่า F-measure เท่ากับร้อยละ 30.62 และค่า AUC เท่ากับ 0.746</p> <p> </p>
2024-08-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/267550
การพัฒนาระบบการวิเคราะห์อาการเสียของตัวกล้องถ่ายภาพโดยใช้ การแสดงการไหลของการวิเคราะห์ทางไฟฟ้า
2024-01-17T16:12:17+07:00
ภัทราวดี พรมเกตุ
Patarawadee.2849@gmail.com
ชัยยงค์ เสริมผล
chaiyong.sp@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการวิเคราะห์อาการเสียทางไฟฟ้าและทางเครื่องกลของตัวกล้องถ่ายภาพ โดยใช้วิธีการจัดทำแบบผังงานของระบบการวิเคราะห์อาการเสียของตัวกล้องถ่ายภาพ และสร้างเว็บไซต์เพื่อจัดการระบบฐานข้อมูล เพื่อแก้ปัญหาการขาดขั้นตอนการวิเคราะห์หรือตรวจสอบอาการเสียของกล้องอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้เกิดปัญหาความล่าช้าในการวิเคราะห์อาการเสียของกล้องถ่ายภาพ โดยการออกแบบผังงานของระบบการวิเคราะห์อาการเสียของตัวกล้องถ่ายภาพเป็นอาการเสีย 2 ประเภท ได้แก่ อาการเสียทางไฟฟ้า และอาการเสียทางเครื่องกล และมีการเก็บข้อมูลของจำนวนตัวกล้องถ่ายภาพที่เกิดอาการเสียทั้งหมด นำมาเปรียบเทียบกับจำนวนตัวกล้องและเวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์กล้องถ่ายภาพ หลังจากการใช้ผังงานระบบที่พัฒนาขึ้น จากผลการศึกษาพบว่า หลังจากใช้ระบบที่นำเสนอ จำนวนกล้องถ่ายภาพที่สามารถวิเคราะห์อาการเสียของตัวกล้องถ่ายภาพทางไฟฟ้า เพิ่มขึ้น 25.15 เปอร์เซ็นต์ และเวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์ ลดลงได้ 36 นาที ต่อการวิเคราะห์อาการเสียของตัวกล้องถ่ายภาพ 1 ตัว และจำนวนกล้องถ่ายภาพที่สามารถวิเคราะห์อาการเสียของตัวกล้องถ่ายภาพทางกล เพิ่มขึ้น 26.52 เปอร์เซ็นต์ และเวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์ ลดลงได้ 20 นาที ต่อการวิเคราะห์อาการเสียของตัวกล้องถ่ายภาพ 1 ตัว ซึ่งผลของจำนวนที่ได้มีการตรวจข้อมูลอีกครั้งจากการบันทึกข้อมูลของจำนวนตัวกล้องที่ส่งต่อไปยังแผนกอื่น และจะเห็นได้ว่าการใช้ผังงานในการวิเคราะห์อาการเสียของตัวกล้องถ่ายภาพที่นำเสนอ สามารถเพิ่มจำนวนของตัวกล้องถ่ายภาพที่ทำวิเคราะห์อาการเสียได้มากขึ้น และยังสามารถลดเวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์อาการของตัวกล้องถ่ายภาพได้อีกด้วย</p>
2024-08-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/267552
การปรับปรุงพลังงานของกรอบอาคารในอาคารสำนักงานภาครัฐโดยใช้ แบบจำลองพลังงาน: กรณีศึกษาสำนักงานเทศบาลเมืองบางแม่นาง
2024-02-28T10:27:34+07:00
ทินกร เชื้อวงศ์
lek_twin88@hotmail.com
ศุภรัชชัย วรรัตน์
lek_twin88@hotmail.com
ประยุทธ์ ฤทธิเดช
lek_twin88@hotmail.com
<p>การวางแผนการจัดการพลังงานเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับอาคารสำนักงาน โดยสัดส่วนการใช้พลังงานในอาคารสำนักงานส่วนใหญ่เกิดจากการปรับอากาศ ดังนั้นกรอบอาคารมีส่วนสำคัญอย่างมากในการลดภาระระบบปรับอากาศวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อทำการประเมินมาตรการการปรับปรุงพลังงานของกรอบอาคารในอาคารสำนักงาน โดยใช้อาคารสำนักงานเทศบาลเมืองบางแม่นาง จังหวัดนนทบุรี เป็นอาคารกรณีศึกษา งานวิจัยนี้ได้ใช้เทคนิคทางด้านการจำลองพลังงานโปรแกรม OpenStudio และEnergyPlus ทำการจำลองการปรับปรุงกรอบอาคาร 20 มาตรการ และวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุนและความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ จากการศึกษาพบว่ามาตรการเปลี่ยนกระจกใส หนา 6 mm เป็นกระจก Low-E หนา 6 mm ติดฟิล์ม B4100 และเพิ่ม Stay Cool หนา 150 mm (M18) มีศักยภาพการประหยัดพลังงานสูงสุด โดยมีค่าดัชนีการใช้พลังงาน 158.66 kWh/(m<sup>2</sup>Year) ตามด้วยมาตรการเปลี่ยนกระจกใส หนา 6 mm เป็นกระจก Double Glazing หนา 6 mm ติดฟิล์ม B4100 และเพิ่ม Stay Cool หนา 150 mm (M19) และมาตรการเปลี่ยนกระจกใส หนา 6 mm เป็นกระจก Solar Tag หนา 6 mm ติดฟิล์ม B4100 และเพิ่ม Stay Cool หนา 150 mm (M20) โดยมีค่าดัชนีการใช้พลังงาน 159.00 kWh/(m<sup>2</sup>Year) และ159.35 kWh/(m<sup>2</sup>Year) ตามลำดับ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์พบว่า มาตรการที่เป็นไปได้ในการลงทุน และเมื่อสิ้นสุดโครงการมีค่า (NPV) สูงที่สุด คือมาตรการติดฉนวนที่ผนังอาคาร หนา 65 mm และติดฟิล์ม B4100 (M9) เท่ากับ 282,957.79 บาท โดยมีระยะเวลาคืนทุนที่ 19.59 ปี และมาตรการเปลี่ยนกระจกใส หนา 6 mm เป็นกระจก Low-E หนา 6 mm ติดฟิล์ม B4100 และเพิ่ม Stay Cool หนา 150 mm (M18) ยังสามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงสุดเท่ากับ 7,855.95 kgCO<sub>2</sub>e/year และหากพิจารณาผลด้านพลังงานและผลตอบแทนการลงทุน พบว่ามาตรการติดฉนวนที่ผนังอาคาร หนา 65 mm และติดฟิล์ม B4100 (M9) ดีที่สุดเมื่อเทียบกับทุกมาตรการ โดยผลการศึกษาและวิธีวิจัยในงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพลังงานของกรอบอาคารสำหรับอาคารสำนักงานอื่น ๆ ได้</p>
2024-08-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/267606
การศึกษาการวางยารักษาไข้พิษไข้กาฬตามพระคัมภีร์ตักกะศิลา
2024-01-03T21:29:16+07:00
มัชฌิมา ตุตะพะ
matchima@scphpl.ac.th
ศุภะลักษณ์ ฟักคำ
matchima@scphpl.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ยา และเพื่ออธิบายผลของการใช้ยารักษาไข้พิษไข้กาฬตามทฤษฎีทางการแพทย์แผนไทย เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มศึกษาผู้เชี่ยวชาญ 3 กลุ่ม รวม 7 คน ได้แก่แพทย์แผนไทย หมอพื้นบ้าน และบุคลากรทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ผลการวิจัย พบว่า ตำรับยาที่ใช้รักษาไข้พิษไข้กาฬตามตำราหลักทางการแพทย์แผนไทย มีจำนวน 7 ขนาน ได้แก่ กลุ่มยากระทุ้งพิษไข้ มี 1 ขนาน คือ ยากระทุ้งแก้วห้าดวง หรือยาห้าราก กลุ่มยาแปรไข้ มี 5 ขนาน คือ ยาแปรไข้ ยาประสะกระทุ้งผิวภายนอก 2 ขนาน ยาพ่นแปรผิวภายนอก และยาทั้งกินทั้งพ่น กลุ่มยาครอบไข้ มี 1 ขนาน คือ ยาครอบไข้ตักกะศิลา ในส่วนผู้เชี่ยวชาญ 7 คน มีประสบการณ์ในการใช้ยารักษาผู้ป่วยอาการไข้พิษไข้กาฬ จำนวน 25 ขนาน ได้แก่กลุ่มยากระทุ้งพิษไข้ มีจำนวน 5 ขนาน คือ ฟ้าทะลายโจร ยาห้าราก ยาเขียวหอม ยาฝนตัดไข้ และยาทั่งพิษ กลุ่มยาแปรไข้ มี 11 ขนาน คือ ยาจันทลีลา ยาประสะจันทร์แดง ยาประสะเปราะใหญ่ ยาทา ยาถ่าย ยาพ่น ยาผิว ยาอัมฤควาที ยาประสะมะแว้ง มะนาวน้ำผึ้งเกลือ และน้ำขิง กลุ่มยาครอบไข้ มีจำนวน 9 ขนาน เป็นกลุ่มยารสสุขุมเย็น และสุขุมร้อน คือ ยาจันทฤทัย ยากล่อมนางนอน ยาปรับธาตุ ยาหอมนวโกฐ ยาหอมทิพโอสถ ยาหอมอินทจักร์ ยาธาตุบรรจบ ยาหอมเทพจิตร และยาตรีผลา ซึ่งระยะเวลาในการรักษานั้นขึ้นอยู่กับระยะการดำเนินโรค หากอยู่ในช่วงแรกที่แสดงอาการไม่เกิน 3-7 วัน อาจจะใช้เวลารักษา 7-14 วัน แต่หากอาการลุกลามหรือดำเนินไปนานกว่า 7-14 วัน อาจจะต้องใช้เวลารักษาไม่น้อยกว่า 30 วัน และจากหลักการ”กระทุ้งพิษให้สิ้น” ทำให้เกิดความชัดเจนของรูปแบบการรักษาไข้พิษไข้กาฬ 4 ระดับ คือ (1) กระทุ้งพิษสิ้นในช่วงปิตตะสมุฏฐาน (2) กระทุ้งพิษสิ้นในช่วงวาตะสมุฏฐาน หรือเสมหะสมุฏฐาน (3) กระทุ้งพิษสิ้นในช่วงปฐวีสมุฏฐาน และ (4) กระทุ้งพิษไม่สิ้นในช่วงปฐวีสมุฏฐาน การศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อความเข้าใจ การถ่ายทอดความรู้ และการประยุกต์ใช้ในการวางแผนรักษาผู้ป่วยที่มีอาการไข้พิษไข้กาฬต่อไป </p>
2024-08-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/267706
การประยุกต์ใช้ผังแสดงความสัมพันธ์ตามหลักการวิศวกรรมอุตสาหการ ในการจัดผังสนามเด็กเล่น
2024-01-03T21:34:45+07:00
พรศิริ จงกล
pornsiri@sut.ac.th
ธนาคาร ศรีมะเริง
Rachaneekorn.p@g.sut.ac.th
ภาคิน อัตตวิริยะสุวร
Rachaneekorn.p@g.sut.ac.th
มนัญชยา ถาวรสวัสดิ์
Rachaneekorn.p@g.sut.ac.th
รชนีกร พลปัถพี
Rachaneekorn.p@g.sut.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาลักษณะการจัดวางเครื่องเล่นในพื้นที่สนามเด็กเล่นในปัจจุบัน (2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเครื่องเล่น และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงการจัดวางเครื่องเล่นในพื้นที่สนามเด็กเล่น งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งที่เป็นกรณีศึกษา ข้อมูลเบื้องต้นของสนามเด็กเล่น ได้แก่ ขนาดพื้นที่ของสนามเด็กเล่นในปัจจุบัน จำนวนเครื่องเล่นแต่ละชนิด ระยะห่างระหว่างเครื่องเล่นแต่ละชนิด รวมถึง บันทึกภาพของสนามเด็กเล่น จากนั้นใช้ผังแสดงความสัมพันธ์ตามหลักของวิศวกรรมอุตสาหการในการวิเคราะห์ตำแหน่งการจัดวางพื้นที่ของเครื่องเล่นและองค์ประกอบอื่น ๆ จากนั้นคำนวณพื้นที่สำหรับเครื่องเล่นแต่ละชนิดตามหลักความปลอดภัยในสนามเด็กเล่น แล้วเสนอแนวทางการปรับปรุงการจัดวางเครื่องเล่น ผลการศึกษาพบว่า สนามเด็กเล่นมีพื้นที่รูปตัวแอล 234.09 ตารางเมตร มีเครื่องเล่นดังนี้ ชิงช้า 5 ชุด กระดานลื่น 4 ชุด กระดานหก 2 ชุด ชุดปีนป่ายรูปรถไฟ 3 ชุด ชุดปีนป่ายรูปโค้ง 1 ชุด และพื้นที่โล่ง ผลการใช้ผังแสดงความสัมพันธ์พบว่า เครื่องเล่นที่ส่วนประกอบเคลื่อนไหวได้เช่น ชิงช้าและกระดานหกจะมีความสัมพันธ์ในระดับ X กับเครื่องเล่นอื่นๆมากที่สุด หมายความว่าชิงช้าและกระดานหกไม่ควรอยู่ใกล้กับเครื่องเล่นอื่น แนวทางในการปรับปรุง คือ จัดวางชิงช้าและกระดานหกให้ห่างจากเครื่องเล่นอื่น 1.8 เมตร นอกจากนี้ไม่ควรมีต้นไม้ในบริเวณสนามเด็กเล่นเพื่อป้องกันการสะดุดรากไม้หรือกระแทกกับต้นไม้</p>
2024-08-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/268166
การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนบกและลอยน้ำสำหรับระบบให้น้ำพืชไร่: กรณีศึกษาไร่กระท่อม ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
2024-03-25T10:35:12+07:00
กันยารัตน์ เอกเอี่ยม
kanyarat@vru.ac.th
องอาจ ทับบุรี
ongart.tub@vru.ac.th
ประภาวรรณ แพงศรี
prapawan@vru.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถนะของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนบกและลอยน้ำสำหรับระบบให้น้ำพืชไร่ โดยใช้พืชกระท่อมที่มีการปลูกกันเป็นจำนวนมากในไร่ของเกษตรกรตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานีเป็นกรณีศึกษา วิธีการที่นำเสนอเริ่มจากการกำหนดขนาดมอเตอร์เครื่องสูบน้ำให้เหมาะสมกับการสูบน้ำส่งไปให้ต้นกระท่อมจำนวน 80 ต้น จากนั้นจึงคำนวณหาขนาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับผลิตไฟฟ้าให้มอเตอร์เครื่องสูบน้ำ จนได้มาซึ่งการติดตั้งใช้งานแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 340 วัตต์สูงสุด จำนวน 4 แผง ที่ติดตั้งบนสันร่องจำนวน 2 แผง และลอยในร่องน้ำอีกจำนวน 2 แผง ร่วมกันจ่ายไฟฟ้าให้มอเตอร์เครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง ขนาด 910 วัตต์ ผลการทดสอบใช้งานจริงแสดงให้เห็นว่ากำลังไฟฟ้าเฉลี่ยที่ได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งลอยในร่องน้ำมีค่าสูงกว่ากำลังไฟฟ้าเฉลี่ยที่ได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนสันร่องคิดเป็นร้อยละ 5.17 และจากการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าตามหลักเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม พบว่าการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนสันร่องเพียงอย่างเดียวจะมีมูลค่าในปัจจุบันของผลตอบแทนที่หักลบต้นทุนแล้ว และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนที่ปรับให้เป็นมูลค่าในปัจจุบันสูงกว่าการติดตั้งลอยในร่องน้ำเพียงอย่างเดียวเท่ากับ 4,709.13 บาท และ 0.33 เท่า ตามลำดับ อีกทั้งยังมีระยะเวลาคืนทุนที่เร็วกว่า 1 ปี 7 เดือน </p>
2024-08-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/268196
การคัดเลือกผู้รับเหมาโดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ สำหรับงานติดตั้งระบบดับเพลิงในอาคารสูง
2024-02-09T10:07:03+07:00
เชษฐ์ ตั้งทรงจิตรากุล
lakkana@mathstat.sci.tu.ac.th
ศุภลักษณ์ ใจเรือง
lakkana@mathstat.sci.tu.ac.th
อนุชา หิรัญวัฒน์
lakkana@mathstat.sci.tu.ac.th
ลักขณา ฤกษ์เกษม
lakkana@mathstat.sci.tu.ac.th
<p>วิธีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพช่วยในการตัดสินใจแบบหลายวัตถุประสงค์ โดยสามารถที่จะใช้ช่วยในการกำหนดระดับความสำคัญของปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจ และการประเมินทางเลือกต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ในงานวิจัยนี้ได้มีการประยุกต์นำเอาวิธีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์มาใช้ในการแก้ปัญหาการตัดสินใจเลือกผู้รับเหมางานติดตั้งระบบดับเพลิงในอาคารสูง และนำเสนอการประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาการตัดสินใจในการเลือกผู้รับเหมางานติดตั้งระบบดับเพลิงในอาคารสูง โดยพิจารณาจากปัจจัยหลัก 5 ประการ ได้แก่ มาตรฐานการปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อมและสังคม ความน่าเชื่อถือของบริษัท คุณภาพของสินค้า และด้านการเงิน ด้วยการใช้แบบสอบถามกับผู้ที่มีส่วนในการจัดซื้อ ซึ่งปัจจัยด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการคัดเลือกผู้รับเหมามีค่าน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 33.00 การคัดเลือกผู้รับเหมาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมมีค่าน้ำหนักความสำคัญอยู่ที่ร้อยละ 12.00 การวิเคราะห์ด้านความน่าเชื่อถือของบริษัทมีค่าน้ำหนักความสำคัญอยู่ที่ร้อยละ 16.00 ด้านคุณภาพของสินค้ามีค่าน้ำหนักความสำคัญอยู่ที่ร้อยละ 31.00 ส่วนด้านการการเงินมีค่าน้ำหนักความสำคัญอยู่ที่ร้อยละ 8.00 จากนั้นจึงนำมาทำการคัดเลือกผู้รับเหมางานติดตั้งระบบดับเพลิงในอาคารสูงที่เหมาะสมที่สุด ผลที่ได้จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน ด้านคุณภาพสินค้า มีความสำคัญสูงเป็น 2 ลำดับแรกสำหรับการพิจารณาคัดเลือกผู้รับเหมา โดยผู้รับเหมารายที่ 1 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้รับเหมาที่เหมาะสมที่สุด คะแนนรวมเท่ากับ 4.40 เนื่องจากมีค่าน้ำหนักความสำคัญด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน และด้านคุณภาพของสินค้ามากที่สุด </p>
2024-08-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/268559
การเพิ่มความมั่นคงในการบริหารจัดการกุญแจลับ สำหรับการกู้คืนกุญแจ แบบหลายเอเจนต์ที่อาศัยศูนย์กลางในการกู้คืนกุญแจ
2024-04-18T11:43:21+07:00
กนกวรรณ กันยะมี
kanokwan@uru.ac.th
จำรูญ จันทร์กุญชร
jumroon@uru.ac.th
<p>ระบบการกู้คืนกุญแจลับ เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญในยุคการสื่อสารดิจิทัล ที่มีการนำวิทยาการเข้ารหัสลับมาใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูล และรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกุญแจลับ (Secret Key--<em>Ks</em>) รูปแบบใหม่ที่มีความมั่นคงปลอดภัย สำหรับการกู้คืนกุญแจแบบหลายเอเจนต์ (M-KRA) ที่อาศัยศูนย์กลางการกู้คืนกุญแจ (Key Recovery Center--KRC) ทำงานร่วมกับเอเจนต์ (Key Recovery Agent--KRA) โดยเรียกรูปแบบนี้ว่า E-SHAM-KRS เป้าหมายการวิจัยคือ การนำเสนอกระบวนการจัดการกุญแจลับ <em>Ks</em> ให้เป็นความลับระหว่างผู้รับกับผู้ส่ง หรือ หน่วยงานที่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ทำให้การกู้คืนกุญแจ <em>Ks</em> มีความมั่นคงปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือ ตลอดจนผู้ใช้งานมีความเป็นส่วนตัว และรองรับการกู้คืนกุญแจได้ แม้ในกรณีที่มี KRA ในกลุ่มการกู้คืนล่ม โดยทำงานบนโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ จากการประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการกุญแจลับ <em>Ks</em> ของ E-SHAM-KRS โดยได้ทำการเปรียบเทียบกับระบบเดิม พบว่า (1) มีความสามารถในการรักษาความลับของกุญแจ <em>Ks</em> ทำให้กุญแจมีความปลอดภัยสูง ไม่มีโอกาสเกิดการรั่วไหลของกุญแจ <em>Ks</em> ไปยังบุคคลที่สาม (2) ฟิลด์ในการกู้คืนกุญแจ มีขนาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่มีความมั่นคงและมีความเป็นส่วนตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และ (3) ใช้เวลาในการสร้างฟิลด์ในการกู้คืนกุญแจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เพื่อรองรับการจัดการกุญแจ <em>Ks</em> ให้มีความมั่นคงปลอดภัยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ E-SHAM-KRS ได้แก้ไขจุดอ่อนด้านการรั่วไหลของรหัสกุญแจลับได้ ส่งผลให้กระบวนการกู้คืนกุญแจมีความน่าเชื่อถือ และทำงานได้เต็มประสิทธิภาพในด้านความมั่นคงปลอดภัย</p>
2024-08-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/269351
การพัฒนานวัตกรรมหุ่นอวัยวะเพศเพื่อฝึกทักษะการทำความสะอาด
2024-03-28T15:17:46+07:00
ดนัย ดุสรักษ์
danai@ckr.ac.th
บรรณฑวรรณ หิรัญเคราะห์
Buntawan@ckr.ac.th
สุพัตรา ไตรอุดมศรี
Supattra@ckr.ac.th
ศิรเมศร์ โภโค
danai@ckr.ac.th
<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนานวัตกรรมหุ่นอวัยวะเพศเพื่อฝึกทักษะการทำความสะอาด (2) ศึกษาประสิทธิภาพหุ่นอวัยวะเพศเพื่อฝึกทักษะการทำความสะอาด (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อการใช้หุ่นอวัยวะเพศเพื่อฝึกทักษะการทำความสะอาด กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการพยาบาลขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2566 จำนวน 114 คนเครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินประสิทธิภาพของหุ่นอวัยวะเพศเพื่อฝึกทักษะการทำความสะอาด และแบบประเมินความพึงพอใจ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเท่ากับ 0.90 และ 0.88 และหาความเชื่อมั่นของแบบประเมินโดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นด้วยสูตร Cronbach’ s alpha coefficient ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 และ 0.85 ผลการวิจัย พบว่า (1) ได้นวัตกรรมหุ่นอวัยวะเพศเพื่อฝึกทักษะการทำความสะอาดที่ทำจากซิลิโคน ที่สามารถใช้อธิบายโครงสร้างและลักษณะทางกายวิภาคของอวัยวะเพศชายและหญิง (2) ประสิทธิภาพของหุ่นอวัยวะเพศเพื่อฝึกทักษะการทำความสะอาดโดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=.78) และ (3) ระดับความพึงพอใจโดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.38 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=.56) สรุปคือ นวัตกรรมหุ่นอวัยวะเพศเหมาะสำหรับนักศึกษาพยาบาลในการฝึกทักษะการทำความสะอาดได้ด้วยตนเอง จึงเป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อการเรียนการสอน คุ้มค่าคุ้มทุน ประหยัด ใช้ได้จริง ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ</p> <p> </p>
2024-08-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/269358
การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการทรงตัวของหุ่นยนต์จักรยานสองล้อ โดยใช้ระบบการควบคุมพีไอดี
2024-03-20T10:42:23+07:00
เรวัฒน์ บุญจันทร์
athasit.w@cit.kmutnb.ac.th
ศิวพงษ์ กิ่งแก้ว
athasit.w@cit.kmutnb.ac.th
อรรถสิทธิ์ วงศ์เจริญ
athasit.w@cit.kmutnb.ac.th
<p>การศึกษานี้นำเสนอการพัฒนา และปรับแต่งหุ่นยนต์จักรยานสองล้อที่ทรงตัวได้เอง โดยใช้ระบบควบคุมแบบ Proportional-Integral-Derivative--PID โดยมีเป้าหมายในการรักษาความสมดุลและความเสถียรของหุ่นยนต์ ในขณะที่แสดงความยืดหยุ่นต่อสิ่งรบกวน ส่วนสำคัญของงานนี้คือการใช้ตัวกรองคาลมาน (Kalman filter) เพื่อลดสัญญาณรบกวนในสัญญาณเซนเซอร์ที่ได้รับ ซึ่งช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและความแม่นยำของหุ่นยนต์ได้อย่างมาก งานนี้ได้ใช้ทฤษฎีของหุ่นยนต์และระบบควบคุม พร้อมการใช้งานจริงและการทดสอบ แนวทางการออกแบบตามแบบจำลองใช้สำหรับจำลองพฤติกรรมของหุ่นยนต์จักรยาน ระบบควบคุม PID จะปรับการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์แบบพลวัต โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาสมดุลแบบเรียลไทม์ นอกจากนี้เมื่อพิจารณาถึงสัญญาณรบกวนที่แท้จริงในการอ่านเซนเซอร์ ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพของระบบลดลง ตัวกรองคาลมานจึงถูกรวมเข้าไว้ด้วยกัน เทคนิคการกรองขั้นสูงนี้ประเมินสถานะของระบบอย่างเหมาะสมที่สุดเพื่อกรองสัญญาณรบกวนจากสัญญาณที่ได้รับ ดังนั้นจึงปรับแต่งข้อมูลที่ใช้สำหรับการตัดสินใจควบคุม พารามิเตอร์ของตัวควบคุม PID และตัวกรองคาลมานได้รับการปรับแต่งอย่างมีประสิทธิภาพของระบบที่เหมาะสมที่สุด ผลลัพธ์ที่ได้คือความสำเร็จของหุ่นยนต์จักรยาน การรักษาสมดุลและการนำทางที่มีประสิทธิภาพในพื้นผิวและสภาวะต่าง ๆ การศึกษานี้มีการหาคำตอบที่ครอบคลุมสำหรับความสมดุลในการออกแบบหุ่นยนต์จักรยานสองล้อและลดสัญญาณรบกวนในสัญญาณควบคุม</p> <p> </p>
2024-08-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/267203
การเปลี่ยนแปลงการรับบริจาคเลือดหลังช่วงระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย
2023-11-27T13:43:52+07:00
วีรศักดิ์ จรภักดี
weerasak.jo@western.ac.th
รุ่งกาญจน์ สังฆรักษ์
rungkarn.sa@western.ac.th
ถิรวัฒน์ วรรณตุง
tirawat.wa@western.ac.th
<p>โรคโควิด-19 (Coronavirus disease 2019 (COVID-19)) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2--SARS-CoV-2 ในช่วงระบาดของโรคโควิด-19 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยรายงานการขาดแคลนเลือดบริจาคทั่วประเทศซึ่งเป็นปัญหาหนักมากในช่วงปี พ.ศ. 2564 ความกังวลใจของผู้บริจาคเลือดต่อการติดโรคโควิด-19 ทำให้หน่วยรับบริจาคเลือดทุกแห่งต้องวางมาตรการและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการรับบริจาคเลือดที่ชัดเจนเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนให้มาบริจาคเลือดมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติในการรับบริจาคเลือดโดยศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนประกอบด้วยผู้ปฏิบัติงานธนาคารเลือด ผู้บริจาคและผู้รับเลือดมีความปลอดภัยต่อการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 จึงกำหนดเกณฑ์เพื่อคัดกรองโรคโควิด-19 โดยปัจจุบันผู้ติดเชื้อไวรัสนี้ ให้งดบริจาค 14 วันหลังจากหายป่วย ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการให้งดบริจาค 7 วัน หลังจากตรวจพบเชื้อ ผู้บริจาคที่ได้รับวัคซีนโรคโควิด-19 ในประกาศแรกเริ่มให้งดบริจาค 7 วัน ภายหลังจึงลดเหลือ 2 วัน หลังได้รับวัคซีน การตรวจเลือดผู้บริจาคทางห้องปฏิบัติการไม่ได้ตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อและตัวเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งอาจพบได้ในผู้บริจาคเลือดที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ เนื่องจากมีข้อมูลสนับสนุนแน่ชัดว่าเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สามารถพบในเลือดได้แต่ไม่ติดต่อผ่านทางเลือดและส่วนประกอบของเลือด ดังนั้นผู้รับเลือดจึงไม่ได้มีความเสี่ยงมากไปกว่าเดิมในการรับเลือดจากผู้บริจาคที่เคยติดโรคโควิด-19 หรือได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เทียบกับเลือดผู้บริจาคทั่วไปก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19</p>
2024-08-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)