Guide for Authors
คำแนะนำสำหรับผู้เขียน |
|
การเตรียมและขั้นตอนในการส่งบทความ |
|
1. การพิมพ์ต้นฉบับจะต้องพิมพ์ตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตาม template ที่กำหนดไว้ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ |
|
|
- แบบฟอร์มการชำระค่าตีพิมพ์บทความในวารสาร EAU Heritage_สหก.ว. 041 - แบบฟอร์มส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ EAU Heritage_สหก.ว. 051 |
2. บทความอาจเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ เนื้อเรื่องมีความยาวประมาณ 10 - 15 หน้าของ template 3. ผู้เขียนบทความทุกคนต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อ - นามสกุล ของผู้เขียน หน่วยงานที่สังกัด และอีเมลล์ ให้ชัดเจน 4. บทคัดย่อ 1 คอลัมภ์มีความยาวประมาณ 15 บรรทัด และมีคำสำคัญ (Keywords) 4-5 คำ โดยบทความภาษาไทยต้องมีบทคัดย่อภาษาอังกฤษด้วย 5. ส่วนประกอบเนื้อเรื่อง แบ่งเป็น 2 คอลัมภ์ 5.1 บทความวิจัยควรประกอบด้วย ความนำ วัตถุประสงค์การวิจัย สมมติฐาน (ถ้ามี) วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ เอกสารอ้างอิง 5.2 บทความวิชาการประกอบด้วย ความนำ สรุปผล ข้อเสนอแนะ เอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษ (เรียงตามลำดับตัวอักษร A-Z) ตามรูปแบบที่กำหนด 6. ต้นฉบับสามารถส่งได้ทางระบบออนไลน์ผ่านหน้าเว็บไซต์ https://www.tci-thaijo.org/ โดยกองบรรณาธิการจะนำเสนอผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความตามสาขาวิชา เพื่อประเมินคุณภาพและความเหมาะสมก่อนการตอบรับ (ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์) 7. เมื่อบทความได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ในกรณีที่ผลการประเมินระบุให้ต้องปรับปรุงหรือแก้ไข ผู้เขียนจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนด (4 สัปดาห์) หมายเหตุ ตารางและภาพประกอบให้แทรกในเนื้อเรื่อง โดยจัดเป็น 1 คอลัมน์ ภาพประกอบต้องมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 จุดต่อนิ้ว (dpi) |
|
การอ้างอิงบทความ |
|
รูปแบบการอ้างอิงเอกสาร การอ้างอิงเอกสารให้เขียนตามแบบ APA 6th ed (American Psychological Association) ดังนี้ |
|
การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ ให้อ้างชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่องในกรณีที่ไม่มีชื่อผู้แต่ง และปีพิมพ์ โดยเขียนชื่อสกุลของผู้แต่งหรือชื่อเรื่อง และปี ค.ศ. ของการพิมพ์เอกสาร ทั้งกรณีที่เป็นเอกสารของชาวไทยและชาวต่างประเทศ |
|
ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงในเนื้อหาบทความ โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติมีเป้าหมายที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยวิจัยที่มี ศักยภาพในระดับโลกจำนวน 7-10 แห่งที่สามารถสนับสนุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพ ประการที่ 2 เพื่อให้เกิดกลุ่มวิจัยที่ผลิตผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติที่สามารถนำผลงานไปใช้ในภาคการผลิต ช่วยสร้างรายได้สู่ชุมชน และส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม ทั้งในด้าน การส่งเสริมการส่งออกและทดแทนการนำเข้าจากเป้าหมายดังกล่าวได้มีการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยของไทยออกเป็น 4 กลุ่มและมีบทบาท ดังนี้ (Pitiyanuwatna, 2006) หรือ Pitiyanuwatna (2006) ได้กล่าวถึงโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและการพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งชาติมีเป้าหมายที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยวิจัยที่มีศักยภาพในระดับโลกจำนวน 7-10 แห่งที่สามารถสนับสนุนเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันของประเทศและช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพ ประการที่ 2 เพื่อให้เกิดกลุ่มวิจัยที่ผลิตผลงานวิจัย ตีพิมพ์ระดับนานาชาติที่สามารถนำผลงานไปใช้ในภาคการผลิต ช่วยสร้างรายได้สู่ชุมชน และส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม ทั้งในด้านการส่งเสริม การส่งออกและทดแทนการนำเข้า จากเป้าหมายดังกล่าวได้มีการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยของไทยออกเป็น 4 กลุ่มและมีบทบาท ดังนี้ |
|
การอ้างอิงท้ายบทความ ให้เขียนรายการเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ แล้วจัดเรียงลำดับรายการเอกสารที่ใช้อ้างอิงไว้ท้ายบทความตามลำดับอักษรชื่อสกุลของ ผู้แต่ง หรือชื่อเรื่องในกรณีที่ไม่มีชื่อผู้แต่ง หากเอกสารที่อ้างอิงไม่ได้เขียนด้วยภาษาอังกฤษ ให้แปลความหมายของชื่อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ และวงเล็บท้ายชื่อเรื่องของเอกสารนั้นว่าต้นฉบับเป็นภาษาใด เช่น ระบุว่า (in Thai) ดังตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง ดังนี้ |
|
1. หนังสือ ชื่อสกุลผู้แต่ง, ชื่อย่อ. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์. Author, A. A. (Year). Title of work. Location: Publisher. Engle, S. (2015). The hungry mind: The origins of curiosity in childhood. Cambridge, MA: Harvard University Press. Lorsuwannarat, T. (2006). Learning organization: From the concepts topractives (3rd ed.). Bangkok: Ratanatri. (in Thai) |
|
2. บทความวารสาร ชื่อสกุลผู้แต่ง, ชื่อย่อ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎบทความในวารสาร. Author, A. A., Author, B. B., & Author, C. C. (Year). Title of article. Title of Journal, vv, pp-pp. https://doi.org/xx.xxxx/xxxxxx Manmart, L. (2000). Current situation of technology management in Schools of Library and Information Science in Thailand. Journal of Library and InformationScience.18(3), 1-24. (in Thai). Zaki, S. R., & Kleinschmidt, D. (2014). Procedural memory effects in categorization: evidence for multiple systems or task complexity? Memory and Cognition, 42, 508-524. https://doi.org/10.3758/s13421-013-0375-9 |
|
|