การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการกำหนดพื้นที่อพยพจากอุทกภัย: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านโนนกระสัง ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
อุทกภัย, พื้นที่อพยพ, แบบจำลองคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ และการวิจัยแบบประยุกต์ โดยใช้ชุมชนบ้านโนนกระสัง ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาเป็นกรณีศึกษาวัตถุประสงค์ของการวิจัยมีดังนี้ (1) เพื่อศึกษาและสำรวจพื้นที่ชุมชนบ้านโนนกระสัง ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ที่สามารถใช้เป็นพื้นที่อพยพได้ และ (2) เพื่อประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของปัญหา Capacitated Facility Location Problem--CFLP ในการกำหนดพื้นที่อพยพให้แก่ชุมชนบ้านโนนกระสัง ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา งานวิจัยได้สำรวจพื้นที่ต่าง ๆ ของชุมชนประกอบด้วยพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรม และลำน้ำในพื้นที่ นอกจากนี้ได้สอบถามสมาชิกชุมชนจำนวน 28 ครัวเรือน ประชากร 125 คน ข้อมูลในงานวิจัยมีทั้งหมด 5 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกในครัวเรือน ข้อมูลความสูงของพื้นที่ชุมชน ข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากของชุมชน ข้อมูลความจุของพื้นที่ของจุดอพยพ และข้อมูลระยะทางระหว่างชุมชนไปยังจุดอพยพ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่สำรวจมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของปัญหา CFLP ในการกำหนดพื้นที่อพยพให้แก่ชุมชน ผลการวิจัยพบว่า จุดอพยพที่ได้จากการสำรวจมีทั้งหมด 6 จุด ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลมะค่า โรงเรียนบ้านโคกตะพาบ วัดตาจั่น วัดเดิม โรงเรียนพิมายวิทยา และวัดสระเพลง ผลการสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์ในการหาจุดอพยพที่ใกล้ที่สุดและสามารถรองรับจำนวนผู้อพยพได้อย่างเพียงพอ ปรากฏว่า ชุมชนบ้านโนนกระสังควรอพยพไปยังวัดตาจั่นและโรงเรียนพิมายวิทยา โดยวัดตาจั่น มีพื้นที่จอดรถ 3,600 ตร.ม.มีพื้นที่ส่วนตัว 1780 ตร.ม. และมีจำนวนห้องน้ำ 6 ห้อง ระยะทาง 12.7 กิโลเมตร ส่วนโรงเรียนพิมายวิทยา มีพื้นที่จอดรถ 11,000 ตร.ม. มีพื้นที่ส่วนตัว 4,450 ตร.ม. และมีจำนวนห้องน้ำ 20 ห้อง ระยะทาง 12.2 กิโลเมตร
References
Anucharn, T. (2020). Analysis of suitable areas for shelters and evacuation routes: A case study of the flood in Khlong Nathawi Subwatershed, Songkhla Province. Journal of Science and Technology Mahasarakham University, 39(2), 225-235. (in Thai)
Chaikijdennapalai, P., & Wiratnipawan, W. (2018). Administration of flood prevention of Samutprakarn Province according to the Royal Initiative of His Majesty the King. EAU Heritage Journal Social Science and Humanities, 8(2), 173-182. (in Thai)
Chonbodeechalermroong, Y., & Chuenchooklin, S. (2010). Flash flood warning system in risky area. Naresuan University Engineering Journal (NUEJ), 5(2), 10-20. (in Thai)
Department of Provincial Administration. (2023). Population statistics data structure. Retrieved from https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php (in Thai)
Department of Agricultural Extension. (2022). Public relations department news agency. Retrieved from https://bit.ly/3Z3eRyE (in Thai)
Division of Communicable Diseases Department of disease control Ministry of Public Health. (2011). Citizen’s guide to preventing diseases brought on by floods. Retrieved from http://www.tro.moph.go.th/flood/file/floodbook27112556.pdf (in Thai)
Jamnothai, M. (2020). Guidelines on small parking space adjustment for 200-car parking building. Academic Journal of Architecture, 71(2), 67-86. (in Thai)
Klongkhun, P., & Wanthong, W. (2017). Manual for inclusive safe site selection and flood shelter management in Thailand. Bangkok: Asian Disaster Preparedness Center (ADPC). (in Thai)
Panitchkul, J. (2018). Cars evacuation plan in the event of flooding: A case study of Urban Hat Yai (Master’s thesis). Prince of Songkla University. Songkla. (in Thai)
Rungrodchatchava, N., Sriswang, I., & Kongkaew, W. (2016). Application of the vehicle routing problem for solid waste collection: A case study of Prince of Songkla University, Hat Yai Campus. Thai Journal of Operations Research, 4(2), 18-31. (in Thai)
Sakphet, N., Nualchawee, K., Karnchanasutham, S., & Pleerux, N. (2016). Flood reporting system for disaster warning support in Hat Yai City, Songkla Province. EAU Heritage Journal Science and Technology, 10(3), 135-146. (in Thai)
Sangthong, K., & Rinthaisong, I. (2014). Factors related to collaboration for flood management between local administrative organization and community: A case study of flood bed in Pak Panang Basin, Nakhon Si Thammarat Province. Journal of Southern Technology, 7(1), 25-29. (in Thai)
Sarawijit, R., Jeentham, S., & Sriphuna, S. (2016). A local wisdom transferring of food plant diversity conservation with environmental education process. EAU Heritage Journal Science and Technology, 10(1), 88-98. (in Thai)
Singhtaun, C. (2011). Facility locations selection using exact algorithms. Kasetsart Engineering Journal (Thailand), 24(78), 107-122. (in Thai)
The National disaster Prevention and Mitigation Committee. (2009). National disaster prevention and mitigation plan 2010-2014. Bangkok: Department of Disaster Prevention and Mitigation, Ministry of Interior. (in Thai)
Wajanawichakon, K., & Srisurin, K. (2018). Solution methods for vehicle routing problems of garbage truck: A case study of Ubon District, Ubon Ratchathani Province. UBU Engineering Journal, 11(2), 48-50. (in Thai)
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.