สถานการณ์สุขภาพผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง: ความท้าทายของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

ผู้แต่ง

  • อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • กุศล กีบาง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • สายฝน กันธมาลี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • วนิดา แพร่ภาษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง, ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล, บทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

บทคัดย่อ

สถานการณ์การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย พร้อมกับสถานการณ์สุขภาพความเจ็บป่วยในด้านภาวะสมองขาดเลือด โรคเรื้อรังร่วม ภาวะสมองเสื่อม และภาวะชราภาพ การจัดการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข จึงเป็นความท้าทายของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นถึงความท้าทายของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ในการที่จะขับเคลื่อนกระบวนการในการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง เพื่อการก้าวข้ามสู่การจัดการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลที่จัดการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงมีบทบาทหลัก คือ ผู้วางแผน ผู้ปฏิบัติ ผู้ประสานงาน ผู้นำ ผู้ให้คำปรึกษา และผู้พิทักษ์สิทธิ์ ซึ่งในการจัดการดูแลจะพบปัญหาคือ (1) บุคลากรไม่เพียงพอ (2) ขาดความร่วมมือในการเตรียมความพร้อม (3) ขาดการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่จำเป็น (4) ขาดความพร้อมในเชิงนโยบาย (5) ขาดความเชื่อมโยงระบบข้อมูล (6) ขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงาน (7) งบประมาณที่ไม่เอื้อต่อการดำเนินงาน และ (8) ปัญหาที่ส่งผลต่อตัวผู้ดูแล ซึ่งการที่จะก้าวข้ามปัญหาเหล่านี้ให้ได้ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลจะต้องจัดการดูแลและแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยตัวของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลเอง ผ่านบุคคลและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง และการจัดการผ่านนโยบายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิผลในระยะยาว

References

Artsanthia, J., & Pomthong, R. (2018). The trend of elderly care in 21th century: Challenging in nursing care. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 19(1), 231-240. (in Thai)

Chianwichai, K. (2023). Identity of the nurse care manager of the elderly in long term care. Thai Red Cross Nursing Journal, 13(2), 29-38. (in Thai)

Chirawatkul, A. (2019). Analysis and interpretation of ADL test scores. Journel of Health Science, 28(5), 770-771. (in Thai)

Decharatanachart, Y., & Kochakote, Y. (2022). Long-term care model for the elderly with dependency. Dhammathas Academic Journal, 22(3), 63-80. (in Thai).

Department of Health. (2022). Percentage of dependent elderly people receiving care according to care plan. Retrieved from http://www.dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/agedcareplan/index?year=2022. (in Thai)

Department of Older Persons. (2023). Situation of The Thai Older Persons 2022. Bangkok: Amarin Corporations. (in Thai)

Department of Provincial Administration. (2022). Provincial population statistics. Retrieved from http://stat.bora.go.th/StatMIS/#/ReportStat/3. (in Thai)

Faronbi, J. O., Akinyoola, O. D., Faronbi, G. O., & Ojo, F. T. (2021). Factors contributing to functional dependence among older adults in Ile-Ife, Nigeria. International Journal of Africa Nursing Sciences, 14, 100296. https://doi.org/10.1016/j.ijans.2021.100296

National Health Security Office. (2019). A guide to the public health long-term care system for dependent elderly people in the area. Bangkok: National Health Security Office. (in Thai)

Piriyajaratchai, N., & Sasat, S. (2018). Factors predicting caregiver’s readiness for dependent older persons in transition period on hospital to home. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 19(Speacial suppl), 231-240. (in Thai)

Sawatphon, C., & Srisuraphol, W. (2022). Developing the potential of local communities for the deprnded elderly care in Northeast of Thailand. Journal of Palisueksabuddhaghosa Review, 8(1), 43-56. (in Thai)

Sihapark, S., & Chuengsatiansup, K., Tengrang, K. (2016). Impact and burden of long-term care for the elderly under Thai culture (Research report). Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai)

Songsri, C., Phothithakool, K., Songsri, S., Namburi, A., & Punyathorn, K. (2020). Lessons learned of a long-term care system from operations for dependent older persons through national health security system. Journal of Sakon Nakhon Hospital, 23(3), 77-91. (in Thai)

Timonen, V., & Lolich, L. (2020). Dependency as status: Older adults’ presentations of self as recipients of care. SAGE Open, 2020, 1-11. doi: 10.1177/2158244020963590

Vudhironarit, S., & Pommala, W. (2021). The caring for bedbound old adult: A systematic review. Journal of The Royal Army Nurses, 22(3), 367-375. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-26

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ