ผลของการฝึกด้วยกีฬายูโดแบบเฉพาะเจาะจงที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อ ของนักกีฬายูโดระดับเยาวชนหญิง

ผู้แต่ง

  • นิลาวัลย์ บุญประถัมภ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี
  • ธัญญาวัฒน์ หอมสมบัติ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

แบบฝึกการออกกำลังกายด้วยกีฬายูโดแบบเฉพาะเจาะจง, กีฬายูโด, พลังกล้ามเนื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยกีฬายูโดแบบเฉพาะเจาะจงที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อ ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ของนักกีฬายูโดเยาวชนหญิง อายุ 15-19 ปี ขึ้นทะเบียนนักกีฬาในจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการคำนวณขนาดตัวอย่างประมาณการค่าเฉลี่ยขนาดประชากรค่าเฉลี่ยกรณีทราบขนาดประชากร จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบฝึกด้วยกีฬายูโดแบบเฉพาะเจาะจง ทำการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ ทั้งหมด 8 สัปดาห์ โดยในการฝึกสัปดาห์ที่ 1-2 อัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย ร้อยละ 60-70 ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด และค่าคะแนนการรับรู้การออกแรงของร่างกาย (Rating of Perceived Exertion--RPE) เท่ากับ 6-11 สัปดาห์ที่ 3-4 อัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายเพิ่มเป็น ร้อยละ 70-80 ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด และค่าคะแนนการรับรู้การออกแรงของร่างกาย เท่ากับ 12-16 และสัปดาห์ที่ 5-8 อัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายเพิ่มเป็น ร้อยละ 80-90 ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด และค่าคะแนนการรับรู้การออกแรงของร่างกาย เท่ากับ 12-16 โดยผ่านการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC=1.00) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบการทุ่มบอลเหนือศีรษะและแบบทดสอบความสามารถในการกระโดด สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดช้ำทางเดียว (One-way analysis of variance with repeated measures) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีของ Tukey กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 72.60 ครั้งต่อนาที และขณะออกกำลังกาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 169.95 ครั้งต่อนาที คะแนนการรับรู้การออกแรงของร่างกายขณะการออกกำลังกาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.60 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำทางเดียวของพลังกล้ามเนื้อ ระหว่างก่อนฝึก หลังฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

Burns, A., & Mike, C. (2017). Strength and conditioning for Judo. October 4, 2017. Paperback the Crowood. Retrieved from https://www.amazon.co.uk/Strength-Conditioning-Judo-Andy.

Chaopanich, K. (2008). Effects of Judo training in conjunction with medicine ball training and Judo training in conjunction with Resistance training on the throwing ability of judo athletes (Master’s thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University.

Franchini, E., Sterkowicz, S., Meira, C. M., Gomes, F. R., & Tani, G. (2018). Technical variation in a sample of high level judo players. Percept. Mot. Skills, 106(3), 859–869.https://doi.org/10.2466/pms.106.3.859-869

Hirunrat, S. (1996). Physical and athletic performance. Bangkok: School of Medicine Capture Orescent Celebrations and Physical Therapy Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University.(in Thai)

Jansuprom, C. (2013). Effects of resistance training and specific movement on muscular power and agility in badminton athletes (Master’s thesis). Bangkok: Kasetsart university. (in Thai)

Jirawatkul, A. (2017). Biostatistics for health science research (2nd ed.). Khon Kean: Department of Statistics and Demographics. (in Thai)

Khemthong, A. (2022). Psychological characteristics of football players pre-match period: The coping skills. EAU Heritage Journal Science and Technology, 16(3), 15–27. (in Thai)

Kostikiadis, I. N., Methenitis, S., Tsoukos, A., Veligekas, P., Terzis, G., & Bogdanis, G. C. (2018). The effect of short-term sport-specific strength and conditioning training on physical fitness of well-trained mixed martial arts athletes. Journal of Sports Science & Medicine, 17(3), 348–358. https://www.jssm.org/volume17/iss3/cap/jssm-17-348.pdf.

Krabuanrat, J. (2001). Muscle training by lifting weights. Bangkok: Department of Physical Education Faculty of Education Kasetsart University.(in Thai)

Leethira, B. (1999). Effects of plyometric training on throwing ability of athletes Judo (Master’s thesis). Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)

Phidet, J. (2018). Effects of plymometric training on muscles power and strength of upper extremitries in male youth volleyball players (Master’s thesis). Chaingmai: Chiang Mai Rajabhat University. (in Thai)

Samnuan, P. (2021). The effect of a sand bag training program on muscle power in judo athletes. Journal of Health Education, Physical Education and Recreation, 47(1), 102. https://doi.org/10.3390/ijerph1922215009

Sanan, P. (2021). The effect of a sand bag training program on muscle power. in judo athletes. Journal of Health Education, Physical Education and Recreation, 47(1), 102. (in Thai)

Sports Authority of Thailand. (2022). Sports authority. Retrieved from http://reg.sat.or.th/search/?fbclid=IwAR2qNZl0B5x5uuCmqp7OkwSk_EsBOmRR4qWZoK0SXWwaNTU4ATbq3RJeVkM. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-10