การใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศแบบเคลื่อนที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ผู้แต่ง

  • ธีรพจน์ เวศพันธุ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • นิศากร สมสุข อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • ธีรพงศ์ บริรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • สมบัติ ทีฆทรัพย์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การนำความร้อนเหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่, เครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่, waste heat recovery, portable air conditioning unit

บทคัดย่อ

ในภาวะวิกฤตทางพลังงานในปัจจุบัน การใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นเรื่องจำเป็น โดยปกติแล้ว เครื่องปรับอากาศจะมีความร้อนเหลือทิ้งสู่บรรยากาศ หากนำความร้อนเหลือทิ้งเหล่านี้กลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์ จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลงได้มากและช่วยลดปริมาณการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศได้อีกด้วย งานวิจัยนี้ได้ออกแบบและสร้างเครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่ขนาด 9,000 บีทียู/ชั่วโมง ให้สามารถผลิตน้ำอุ่นจากความร้อน เหลือทิ้งจากเครื่องปรับอากาศกลับมาใช้ใหม่ เพื่อทำให้การใช้พลังงานเกิดประโยชน์สูงสุด จากการทดสอบสมรรถนะ ของเครื่องปรับอากาศพบว่าค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะ (COP) มีค่าระหว่าง 3.1-4.8 ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพประหยัด พลังงานสูงกว่ามาตรฐานเบอร์ 5 ส่วนน้ำอุ่นที่ได้จากเครื่องปรับอากาศมีอุณหภูมิระหว่าง 35-43oC สามารถนำไปใช้ ในครัวเรือน หรือใช้อุ่นน้ำเพื่อช่วยลดระยะเวลาและพลังงานในการต้มน้ำ ซึ่งสามารถช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ในการทำน้ำอุ่นได้สูงสุดถึงปีละ 3,996.7 kWh จากการวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุนพบว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุนและ มีระยะเวลาในการคืนทุนประมาณ 1 ปี

 

Maximizing the Utilization of Air Conditioning Unit’s Energy

Today the energy crisis has made it necessary to optimization use of energy. An air conditioning unit has the waste heat exhaust to the environment and heat recovery from the unit can reduce energy cost and also in addition to using the heat to produce energy. This research aims to design and fabricate a portable water cooled 9,000 BTU/hr. air conditioning unit by using the warmed water from waste heat recovery. The water cooled condenser will utilization the unit’s energy. Cooling system evaluation of this new unit showed that the Coefficient of Performance (COP) is between 3.1-4.8 which meets the minimum energy performance standards (MEPS), Thailand energy label No. 5. Temperature of warm water produced is in the range of 35-43 oC. Heat recovered from the system can reduce energy for heating water by approximately 3,996.70 kWh per year. The unit can payback for itself in approximately 1 year.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย