ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการปัญหาเพื่อลดความเครียดของ ผู้ดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง ช่วงสถานการณ์ COVID–19
คำสำคัญ:
ผู้ดูแล, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ภาวะเครียดการจัดการปัญหา, COVID–19บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการปัญหาเพื่อลดความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง ช่วงสถานการณ์ COVID–19 โดยการเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง ช่วงสถานการณ์ COVID–19 ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการปัญหา และการเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง ช่วงสถานการณ์ COVID–19 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมและกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมฝึกวิธีการจัดการปัญหา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน วิธีการทดลอง กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมจัดการปัญหา กลุ่มควบคุมได้รับข้อมูลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ โปรแกรมจัดการปัญหา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความเครียดในผู้ดูแล และหาค่าความเชื่อมั่นที่เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการจัดการปัญหามีค่าเฉลี่ยความเครียดน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการปัญหามีค่าเฉลี่ยความเครียดน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับข้อมูลการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลของโปรแกรมการจัดการปัญหาเพื่อลดความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง ช่วงสถานการณ์ COVID–19 สามารถลดความเครียดให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้
References
Arunraksombat, S. (2007). Health insurance of Thai elderly. Proceeding of the Thai population 2007. Nakhon Pathom: Health Insurance of Thai. (in Thai)
Bunpot, P. (2021). Factors associated with Covid-19 patients sympotoms in Phuket’s Community Hospital. Retrieved from https://bit.ly/3uqKn9y. (in Thai)
Department of Elderly Affairs. (2021). Ministry of Social Development and Human stability. Retrieved from http://www.dop.go.th/th. (in Thai)
Eayrs, P. (2009). Snapshot: Alzheimer’s Australia pilot of an innovative approach to consumer education and training. International Psychogeriatrics, 21(Suppl 1), S69–S71. https://doi.org/10.1017/S1041610209008710
Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute (MMU). (2020). Situation of Thai Elderly 2019. Nakhon Pathom: Population and Social Research Institute Mahidol University. (in Thai)
Houts, P. S., Nezu, A. M., Nezu, C. M., & Bucher, J. A. (1996). The prepared family caregiver: A problem-solving approach to family caregiver education. Patient Education and Counseling, 27(1), 62-78. https://doi.org/10.1016/0738-3991(95)00790-3
Information on elderly people with dependency care under Care Plan, DoH Dashboard, Department of Health (Bureau of Elderly Health). (2020). Processing date: 20 April 2020. Retrieved from http://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/agedcareplan/. (in Thai)
Jamman, S., Vongsirimas, N., & Thanoi, W. (2020). Effectiveness of a stress management program on the psychological well-being in caregivers of schizophrenic patients in community. The Journal of psychiatric Nursing and Mental Health, 34(3), 62-76. (in Thai)
National Health Security Office, Thailand. (2011). The Nation Health Security 2012. Nonthaburi: Color Block. (in Thai)
Nezu, A. M. (2004). Problem solving and behavior therapy revisited. Behavior Therapy, 35(1), 1–33. https://doi.org/10.1016/S0005-7894(04)80002-9
Pankong, P. (2016). Health status of elderly in Tron District, Uttaradit Province. Journal of The Department of Medical Services, 42(6), 119-123. (in Thai)
Pearlin, L. I., Mullan, J. T., Semple, S. J., & Skaff, M. M. (1990). Caregiving and the stress process: An overview of concepts and their measures. The Gerontologist, 30(5), 583–594. https://doi.org/10.1093/geront/30.5.583
Sritanyarat, W., Aroonsang, P., Charoenchai, A., Limumnoilap, S., Patanasri, K., Lertrat, P., & et al. (2002). A synthesis of knowledge about health services systems and health insurance for elderly. KhonKaen: Klangnanavittaya. (in Thai)
System Reform Committee to Support the Entry into the Elderly Society of Thailand. (2016). Report on system reforms to support an aging society. Retrieved from https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/parcy/057.pdf. (in Thai)
Wanlapa, P. (2010). The effect of a structured information program in combination with meditation practice. Anapanasati on stress among elderly caregivers with dementia (Master’s thesis). Chulalongkorn University. Bangkok. (in Thai)
World Health Organization. (2020). Coronavirus 2019 situation. Retrieved from https://covid19.who.int/