การลดต้นทุนผลิตและการลดระยะเวลาการผลิต ผลิตภัณฑ์ผัดไทยพร้อมปรุง กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารนิศานาฏ
คำสำคัญ:
การลดต้นทุน, รอบเวลา, การศึกษาเวลา, เทคนิค ECRSบทคัดย่อ
วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารนิศานาฏ จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงหลากหลายประเภท ชฎาไทผัดไทยพร้อมปรุง คือหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนผลิต ที่มีราคาสูงสูงเมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยในท้องตลาด ซ้ำยังมีกระบวนการผลิตที่ต้องใช้เวลาในการผลิตกว่า 2 วันต่อการผลิตหนึ่งครั้งและในแต่ละวันเกิดค่าแรงนอกเวลา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องลดเวลาและต้นทุนในการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพและสามารถแข่งขันในตลาดต่อไป การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงแก้ปัญหามีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อหาแนวทางลดต้นทุนของผลิตภัณฑ์ชฎาไทผัดไทยพร้อมปรุง (2) เพื่อปรับลดเวลากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ชฎาไทผัดไทยพร้อมปรุง และสามารถผลิตได้รวดเร็วขึ้น (3) เพื่อหาเวลามาตรฐานในการผลิตผลิตภัณฑ์ชฎาไท ผัดไทยพร้อมปรุง และ (4) เพื่อหาแนวทางในการเพิ่มกำลังการผลิตและผลกำไรของวิสาหกิจชุมชน โดยการนำหลักทฤษฎี ECRS มาปรับปรุงกระบวนการผลิต ผลศึกษาพบว่า วิสาหกิจชุมชนมีการคิดต้นทุนในการผลิตที่ไม่ถูกต้อง จากเดิม 25.59 บาท/ซอง แท้จริงคือ 33.05 บาท/ซอง ผู้วิจัยจึงจัดทำต้นทุนที่ถูกต้อง และจัดการหาเวลามาตรฐานในการผลิตใหม่ โดยใช้วิธีการจับเวลาในการผลิต ทำให้ทราบถึงเวลามาตรฐานที่ควรใช้ในการผลิต และใช้ทฤษฎี ECRS หรือแนวคิดในการลดความสูญเปล่า ในการปรับปรุงกระบวนการ ได้แก่ การจัดใหม่และการทำให้ง่าย ส่งผลให้ก่อนปรับปรุง การผลิตชฎาไทผัดไทยพร้อมปรุง จำนวน 457 ซอง ใช้เวลารวม 995 นาที หลังจากการปรับปรุง ใช้เวลา 1 วันในการผลิต รวมเวลา 472 นาที สามารถลดเวลาในการผลิตได้ถึง 532 นาที คิดเป็น 52.56% และสามารถลดต้นทุนเฉลี่ย/ซอง จากเดิม 33.05 บาท/ซอง เหลือ 30.05 บาท/ซอง คิดเป็น 9%/ซอง เพิ่มศักยภาพ ในการผลิต 457 ซอง/เดือน เป็น 914 ซอง/เดือน คิดเป็นร้อยละ 100 ของการผลิตเดิม
References
Aonjit, N. (2010). Work improvement in the production line case study: Sewing Department, Nice apparel Co., Ltd. Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)
Chalermwongphat, J. (2017). Enhancing the document management and transit systems case Study: HHH Co., Ltd. (Bachelor’s Independent Study). University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Bangkok. (in Thai)
Cheewaworanontree, W., Rontlaong, P. & Boonrak, N. (2018). Motion and time study: A case study on a short-time hydrostatic failure pressure testing process of rigid PVC plain-end pipes. The Journal of Industrial Technology: Suan Sunandha Rajabhat University, 6(1), 26-38. (in Thai)
Jhongkolnee, W. (2021). Healthy food products from rice bran by Hua Hin Farmer Conservation Group Community Enterprise in Tap Tai District, Hua Hin, Prachuap Khiri Khan. EAU Heritage Journal Science and Technology, 15(3), 175–189. (in Thai)
Kriengkorakot, N., Kriengkorakot, P., Thepsang, P., & Bunlusilp, K. (2006). Calculating the standard time of workers in a Garment Factory Case Study: Sewing Shorts Model A1314. Ubon Rajathanee University Journal, 8(1), 80-88. (in Thai)
Muangngeon, A. (2019). An application of Lean technique (ECRS+IT) to efficient Book Return Process for Library and Information Center, NIDA (Research report). National Institute of Development Administration. Bangkok. (in Thai)
Sripairoj, W. (2016). Improvement of process and operator head count of production line reducing labor cost (Bachelor’s Independent Study). Thammasat University. Pathum Thani. (in Thai)
Suwannarongsri, S., & Puangdownreong, D. (2012). Waste reduction of germinated brown rice production process case study: Ban Champa Agriculturist Group, Sakonnakhon Province. Industrial Challenges in the ASEAN Economic Community 17-19 October 2012, Southeast Asia University (SAU). Bangkok: Southeast Asia University (SAU). (in Thai)
Wattanawongwisut, T., Thongsopa, C., & Jongkol, P. (2021). Productivity Improvement in Rice Packing Operation. EAU Heritage Journal Science and Technology, 15(3), 164–174. (in Thai)
Wongarun, W. (2019). Food Product Processing from Household Waste of Jackfruit Seeds in Nhong Plai Tang Community, Rai Kao District, Sam Roi Yod, Prachuap Khiri Khan. EAU Heritage Journal Science and Technology, 13(2), 132–144. (in Thai)