สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่

ผู้แต่ง

  • ละมิตร์ ปึกขาว โรงพยาบาลปทุมธานี
  • พรทิภา ชาบุตร โรงพยาบาลธัญบุรี
  • สุลี ทองวิเชียร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, พยาบาลวิชาชีพ, โรคติดต่ออุบัติใหม่

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยเชิงพรรณนานี้ เพื่อ (1) ศึกษาระดับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ของพยาบาลวิชาชีพ ศึกษาในประชากรพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ โรงพยาบาลปทุมธานี จำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย (1) ข้อมูลส่วนบุคคล (2) แบบประเมินสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่ปรับจากเครื่องมือของ สมพร สังแก้ว ธีรนุช ห้านิรัตน์ศัย และบุญใจ ศรีสถิตนรากูร 7 สมรรถนะ ได้แก่
(1) การคัดกรอง (2) การป้องกันควบคุมและ เฝ้าระวังการติดเชื้อ (3) การพยาบาลผู้ป่วยและครอบครัว (4) วุฒิภาวะทางอารมณ์ (5) จรรยาบรรณวิชาชีพ (6) การสื่อสาร ประสานงานและบริหารจัดการ และ (7) การเรียนรู้ ด้วยตนเอง ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 0.98 ทดลองใช้ในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ 30 คน วิเคราะห์ความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า สมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับ 4 เมื่อวิเคราะห์แยกรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับ 4 ยกเว้นด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ ที่อยู่ในระดับ 5 (M±SD=4.39±0.65) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 คือ อายุ ระยะเวลาการทำงานที่โรงพยาบาลปทุมธานี และการได้รับการอบรมเกี่ยวกับการป้องกันและการติดเชื้อ (r .293 .283 และ .191) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะ ควรจัดอบรมให้ผู้ปฏิบัติงานอย่างทั่วถึงทุกคน และควรมีการอบรมฟื้นฟูความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงเรื่องอายุและระยะเวลาการปฏิบัติงาน

 

References

Alsahafi, A. J., & Cheng, A. C. (2016). Knowledge, attitudes and behaviors of healthcare workers in the Kingdom of Saudi Arabia to MERS Coronavirus and other emerging infectious diseases. International Journal of Environmental Research and Public Health, 13(12), 1214. https://doi.org/10.3390/ijerph13121214

Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute. (2014). Middle east respiratory syndrome: MERS-CoV: ebola virus disease: EVD (3th ed.). Bangkok: Poomtong. (in Thai)

Benner, P. (1984). Fromnovice to expert:Excellence and power in clinical nursing practice. Menlo Park, California: Addison-Wesley.

Chonsawat, C., Tongvichean, S., & Meenual, K..(2021). Entrustable professional activities of fourth-year nursing students in a private university. Thai Journal of Nursing, 70(4), 11-19. (in Thai)

Centers for disease control and prevention. (2019). CDC guidelines. Retrieved from http://www.cdc./diseasesconditions/.

Department of disease control. (2019). Emerging infectious disease. Retrieved from http://ddc.moph.go.th/beid_2014/Home. (in Thai)

Department of Disease Control. (2019). Statistical data of emerging infectious disease 2019. Retrieved from http://ddc.moph.go.th/th/site/office/view/thaigcd. (in Thai)

Department of Medical Service. (2018). Practice guideline. Retrieved from https://www.dms.go.th/content/select_content_Grid_PDF. (in Thai)

Ellis, S. (2012). Role of emergency nurses in controlling infection. Emergency nurse: The journal of the RCN Accident and Emergency Nursing Association, 20(8), 16–21. https://doi.org/10.7748/en2012.12.20.8.16.c9479

Kim, J. Y., Song, J. Y., Yoon, Y. K., Choi, S. H., Song, Y. G., Kim, S. R., Son, H. J., Jeong, S. Y., Choi, J. H., Kim, K. M., Yoon, H. J., Choi, J. Y., Kim, T. H., Choi, Y. H., Kim, H. B., Yoon, J. H., Lee, J., Eom, J. S., Lee, S. O., Oh, W. S., .. & Cheong, H. J. (2015). Middle East Respiratory Syndrome Infection Control and Prevention Guideline for Healthcare Facilities. Infection & Chemotherapy, 47(4), 278–302. https://doi.org/10.3947/ic.2015.47.4.278.

Kim, Y. (2018). Nurses’ experiences of care for patients with Middle East respiratory syndrome-coronavirus in South Korea. American Journal of Infection Control, 46(7), 781–787. https://doi.org/10.1016/j.ajic.2018.01.012

Niyomwit, K., & Prachusilpa, G. (20150. Competency of infectious control ward nurse. Journal of the Police Nurses, 7(1), 154-65. (in Thai)

Patchaporn, A., & Kunavitikul, W. (2013). One health: How can nurse be involved. Nursing Journal, 40(Suppl), 143-49. (in Thai)

Ramasoota, P. (2008). Need and readiness of the organization on capacity building for disease surveillance, prevention and control. Journal of Public Health and Development, 6(1), 1-10. (in Thai)

Rungdacharat, N., Na Nongkai, S., & Sujirarat, D. (2017). Core competencies of registered nurses at a practitioner level in university hospital. Vajira Nursingournal 18(2), 33-41. (in Thai)

Srisuwan, N., Matchim, Y., & Nilmanat, K. (2014). Nurses’ Competency in Communication with Patients at the End of Life and Their Families and Related Factors. Songklanagarind Journal of Nursing, 34(3), 109-123. (in Thai)

Sungkeaw, S., Harnirattisai, T., & Srisatidnarakul, S. (2020). Registered nurses’ competency in caring for Emerging infectious Diseases. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council, 35(3), 69-86. (in Thai)

Somsiri, V., Kongin, W., & Nilmanat, K. (2007). Nurse’ experiences in caring for patients with Severe Acute Respiratory Syndrome (SARS). Songklanagarind Medical Journal, 25(2), 127-37. (in Thai)

Thai nursing Council. (2021). Thai qualification framework for higher education: Bachelor of nursing. Nonthaburi: Thai nursing Council. (in Thai)

Topprasert, T. (2021). Professional nursing competency in caring for emerging infectious diseases Bamrasnaradura Institute. Bamrasnaradura Institute Journal, 15(1), 143-49. (in Thai)

Treeyada Topprasert. (2021). Competency 0f nurse in Emerging Infectious Diseases Care, Bamrasnaradura Infectios Disease Institute. Bamrasnaradura Institute Journal, 15(1), 25-36. (in Thai)

World Health Organization. (2018). Emerging infectious disease. Retrieved from https://www.who.int/emergencies/diseases/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย